จากเหตุการณ์ที่นายเนติวิทย์จงใจเข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อพระรูป 2 รัชกาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะแกล้งเดินออกจากพิธีกลางคัน โดยจงใจเดินไปด้านหน้าสุดแล้วค่อยเลี้ยวออก เพื่อให้ทุกคนในที่นั้นได้เห็นเค้ารวมถึงการให้เพื่อนถ่ายคลิปเพื่อนำมาสร้างกระแส
– ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมากมาย บางคนอ้างว่าเค้าทำไปเพราะต้องการตั้งคำถามว่าทำไมต้องมีการกราบไหว้ และอีกอย่าง ร.5 ท่านก็ทรงยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลานในการเข้าเฝ้าแล้ว ทำไมนิสิตจุฬาลงกรณ์ถึงยังทำพิธีถวายบังคมกันอยู่
– ผมจึงเขียนอะไรบางอย่าง เพื่อชี้แจงให้สังคมไทยได้เข้าใจตื้นลึกหนาบางให้ถูกต้อง ไม่ใช่ด่าอย่างเดียว โดยไม่ได้โต้แย้งอะไรกับคนเหล่านั้นและปล่อยให้เค้าเที่ยวสร้างวาทกรรมเชิดชูตัวเองเป็นคนหัวก้าวหน้า และเที่ยวดูถุกคนอื่นว่าล้าหลังงมงายอย่างเลื่อนลอย
———————————
1. ร.5 ท่านทรงยกเลิกการหมอบกราบมาจากการที่บริบทสมัยนั้นต้องต่อสู้กับพวกฝรั่งที่มาล่าอาณานิคม โดยอ้างว่านำความเจริญมาให้
การยกเลิกดังกล่าว มีนัยยะถึง #พิธีการทางราชการ แต่ไม่ได้หมายความถึงว่า ท่านมาบังคับผู้อื่นให้เลิก
#การหมอบกราบในเชิงวัฒนธรรมประเพณี แต่อย่างใด ลูกจะกราบพ่อแม่ ฆราวาสจะกราบพระ ศิษย์จะกราบครู ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมเต็มที่ตามวัฒนธรรมประเพณี… (ส่วนในปัจจุบันนั้นการเข้าเฝ้าจะยืนหรือกราบก็สุดแล้วแต่ความเหมาะสมและความสมัครใจของผู้จัดเตรียมการรับเสด็จ หาใช่กฎเกณฑ์ดังเช่นสมัยก่อนการยกเลิกการหมอบกราบไม่ อีกทั้งบริบทก็เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมาก)
– หลายคนไม่เข้าใจตรงนี้แล้วก็ไปตีความมั่วๆโดยทึกทักเข้าข้างตนว่า ร.5 ท่านไม่อยากให้กราบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพิธีทางวัฒนธรรมนั้นใครใคร่ปฏิบัติก็ทำไป ส่วนพิธีการทางราชการที่เป็นระเบียบบังคับนั้นท่านให้เลิก เพื่อจะได้ไม่ต้องมาบังคับให้คนอื่นทำ และจะเป็นข้อครหาว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงบังคับให้ผู้อื่นหมอบกราบกับพื้น
*** ดังนั้นใครที่ยังอ้างพระประสงค์ของ ร.5 แล้วมาโจมตีการกราบในพิธีการต่างๆ โดยไม่ดูบริบท ขอให้เลิกเถอะครับเพราะมันไม่ได้ทำให้ตัวท่านดูดีเลย แต่มันสะท้อนความตื้นเขินในการเข้าใจเนื้อหาและบริบท
———————-
2. การหมอบกราบเพื่อแสดงความเคารพนั้น มีอยู่ในหลายวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือประเทศญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมศิลปะป้องกันตัวประจำชาติญี่ปุ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็น ยูโด เคนโด คาราเต้ ฯลฯ ล้วนแต่ต้อง การหมอบกราบทุกครั้งก่อนเริ่มและหลังจบการต่อสู้ การเรียนแต่ละครั้งก็มีการกราบเคารพอาจารย์ผู้สอน
– รวมถึงในพิธีชงชาก็มีการกราบแสดงความเคาพต่อ เครื่องชงชา พิธีชงชา และผู้ดำเนินพิธีชงชาเสมอ (ท่านไม่ได้อ่านผิดหรอกครับ “เคารพเครื่องชงชา”) วัฒนธรรมเหล่านี้ แม้แต่ชาวตะวันตกที่มาศึกษา และเข้าร่วมพิธีการ ก็ไม่มีใครแสดงท่าทีต่อต้าน ยียวนกวนประสาท แล้วอ้างว่า “เป็นการตั้งคำถาม”
– เพราะเค้ารู้ว่า “สิ่งที่ทำไปนั้น” เป็นไปเพราะอะไร? ผู้เข้าร่วมพิธีก็ทราบว่านั้นคือการแสดงความเคารพ ต่อผู้อื่น ทั้งครู และศิษย์ร่วมสำนัก รวมถึงผู้ร่วมพิธี และพวกเค้าก็สมัครใจที่จะเข้าร่วมพิธีการเหล่านั้น หรือแม้เค้าจะไม่ได้รู้สึกอินกับพิธีการเหล่านั้นมาก แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นการเคารพต่อพิธีและผู้อื่น
———————-
*** สิ่งนี้ที่ชาวโลกเค้าเรียกกันว่า #มารยาทสังคม หรือ #Social_Etiquette แม้แต่พวกฝรั่งเองก็มีพิธีการ ที่พวกเค้าให้ความเคารพหลายอย่าง ตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ ทุกครั้งที่เพลง Messiah ของ George Frideric Handel ถูกเล่นในพิธีการหรือโรงละคร เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอที่ตั้งแต่กษัตริย์ พระราชินี ประธานาธิบดี จนถึงคนทั่วไปจะ #ยืนแสดงความเคารพต่อบทเพลงนี้ ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติมาเป็นเวลาเกือบ 300 ปีแล้ว และทุกวันนี้ก็ยังคงทำอยู่…
– แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่แสดงความเคารพด้วยใจ แต่พวกเค้าก็รู้ว่ามันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมเค้า และตามมารยาททางสังคมเค้าก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ ไม่มีใครมานั่งแสดงท่าทีต่อต้าน ยียวน แล้วก็ดูถูกคนอื่น หาว่าคนที่เข้าร่วมพิธีเป็นคนโง่ ทำตามกัน ไร้สมอง ฯลฯ
– พฤติกรรมเช่นนั้นไม่ใช่การ “ตั้งคำถาม” แต่ประการใด แต่เป็นเพียงแค่การแสดงออกซึ่ง #อัตตาตัวตน เท่านั้น อัตตาที่อยากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้สูงส่ง หัวก้าวหน้า ทรงภูมิ ในขณะเดียวกันก็ดูถูกว่าคนอื่นที่เค้าทำตามวัฒนธรรม เป็นพวกล้าหลัง ด้อยพัฒนา งมงาย ฯลฯ เพื่อให้ตัวเองดูดีกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมก็เท่านั้นเอง…..
———————-
*** หมายเหตุ: ชาวญี่ปุ่นขัดเกลาระเบียบวินัย ความเคารพต่อผู้อื่นของผู้คนในสังคมของเค้า โดยผ่านกระบวนการทำให้มี #ความสุภาพถ่อมตน ส่วนคนไทยบางคนที่ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางก็ไปมองที่ #เปลือกความเจริญของวัตถุและเงินทองในสังคมเค้า แล้วก็ใช้อคติของตนที่อยากดูถุกคนอื่นแล้วยกหางตนพากันมโนไปว่าสังคมอื่นไม่มีวัฒนธรรม (ที่พวกเค้าคิดว่า) ล้าหลัง ด้อยพัฒนา จึงทำให้สังคมเค้าเจริญก้าวหน้าได้…
*** กลับกันเลยครับเพราะสังคมมีวัฒนธรรม มารยาท และสำนึกสาธารณะที่เกิดจากศีลธรรมที่ผู้คนยึดถือร่วมกัน ที่เป็นตัวช่วยขับดันให้เค้าร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาบ้านเมือง และไม่ยอมรับคนทำผิด คนขี้โกง คนกักขฬะ ฯลฯ ต่างหาก ที่ทำให้บ้านเมืองของเค้ามีระเบียบ มีวินัย และไม่เห็นแก่ตัว
———————-
– เช่นเดียวกันครับ พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เป็นพิธีการ เพื่อให้นิสิตทุกคนตั้งมั่นว่า การได้เข้ามาเรียนรู้นั้น ก็เพื่อทำตามปณิธานที่ ร.5 – ร.6 ท่านได้ทรงริเริ่มไว้ว่าอยากจะผลิตบัณฑิตที่มีทั้ง #ความรู้และคุณธรรมออกไปเพื่อ #รับใช้ และพัฒนาสังคมไทยในอนาคต
#การรับใช้สังคมต้องเกิดจากความเสียสละถ่อมตน
#ไม่ใช่ความอหังการและยิ่งยะโสที่เที่ยวดูถูกผู้อื่นสิ่งอื่น
– และพิธีการนี้ก็ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องเข้าร่วม ผู้ที่ไม่สมัครใจเข้าร่วมก็ไม่ต้องเข้าร่วมตั้งแต่แรก แต่การกระทำของบุคคลบางคนที่เข้าไปร่วมพิธี แล้วเดินออกกลางคันโดยตั้งใจเดินไปแถวหน้าสุด เพื่อให้คนอื่นเห็นว่า “ตัวข้านี่เจ๋งนะ” ก่อนเดินออกไป โดยให้เพื่อนถ่ายคลิปไว้ เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ตัวเอง ได้เด่นดังและเป็นไอดอลให้หมู่คนที่เรียกตัวเองว่า “ปัญญาชนหัวก้าวหน้า” นั้น แท้ที่จริงมันไม่ได้เป็นการตั้งคำถามแต่ประการใด แต่มันคือจงใจสร้างเรื่อง
*** พฤติกรรมนี้ไม่ใช่ “ปัญญาชน” แต่เป็น “อันธพาล”#อันธพาลทางความคิดและมารยาท เพราะปัญญาชน ถ้าเค้าไม่เห็นด้วยกับพิธีการหรือการปกฺบัติใดๆ ก็ตามนั้นเค้าไม่จำเป็นต้องไป #เหยียบย่ำ หรือ #ดูถูก ผู้อื่นว่าโง่
– เหมือนทีท่านไม่เชื่อในศาสนา ก็ไม่จำเป็นที่ท่านต้องหยาบคายและกักขฬะใส่คำสอนหรือศาสนิกชนเหล่านั้น #ผู้มีใจเสรีที่แท้จริง คือผู้ที่เคารพผู้อื่นในสิ่งที่เค้าเป็นกันไม่ว่าท่านจะชอบหรือไม่ ท่านก็สามารถให้ความเคารพต่อผู้อื่น ต่อความคิด ความเชื่อ ต่อพิธีการ ธรรมเนียมได้โดยไม่ต้องแสดงความกักขฬะออกมาเพื่อให้คนอื่นได้เห็น
– เยาวชนบางคนในยุคนี้เป็นคนมักง่ายและอัตตาสูง (ซึ่งเกิดจากผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เรื่อง แต่เรื่องนี้ยาว ขอละไว้ก่อน)ที่เที่ยวหยิบเอาวาทกรรมหรือคำสวยๆ ทางปรัชญาการเมือง มายกหางตัวเองให้ดูสูงส่งและทรงภูมิ แล้วกดคนอื่นให้ด้อย โดยที่เค้าหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เค้าอ้างผิดๆ ประกอบกับพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เค้าอ้างเองนั้น ไม่ได้ช่วยทำให้คนอื่นดูว่าเค้าสูงส่งทางปัญญาขึ้นมาเลย ตรงกันข้ามเสียอีก ผู้คนกลับมองว่าเค้าเป็นคนเห็นแก่ตัวและไม่เคารพผู้อื่น
———————-
ป.ล. คนสมัยก่อนก็ผ่าน #วัยต่อต้านสังคม มาก่อนครับ เพียงแต่คนยุคก่อน สมัยเค้าเป็นวัยรุ่นที่ต่อต้านสังคมนั้น เค้าก็ออกไปทำตามแนวทางของเค้า ตามเส้นทางของเค้า เค้าไม่มานั่ง “หมกหมุ่นงมงาย” กับวาทกรรมสวยหรูในตำรา แล้วก็เหยียดหยาม ดูถูกคนอื่นในสังคมว่าล้าหลังหรอกครับ และเมื่อประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิแล้ว เค้าก็เข้าใจได้ว่า โครงสร้างมีไว้เพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์ แต่เค้าก็ไม่ได้ยึดติดและพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างได้แต่ทั้งนี้ต้องยืนบนพื้นฐานของหลักการเหตุผลและประโยชน์
มิใช่บนวาทกรรมลอยๆ ที่เอามาพูดเท่ๆ เพื่อใช้กดคนอื่นลง…
ที่มาจากเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/kittitouch.chaiprasith/posts/1152485184815639