ครูของหมอ – Kornkit Disthan
พ.ค. 16, 2020Article , History
หลู่ซวิ่น นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของจีนเ คยคิดอยากจะเป็นหมอรักษาคน เขาดั้นด้นไปเรียนแพทย์ถึงญ ี่ปุ่น แต่เพราะประเทศจีนถูกเหยียด หยามจากต่างชาติ ทำให้เขาคิดว่าบางทีการรักษ าคนอาจยังไม่พอ เขาจึงหันมาจับปากกาแล้วใช้ งานเขียนเยียวยาจิตวิญญาณขอ งมนุษย์แทน ดร. ซุนยัดเซนก็เป็นหมอแต่เปลี่ ยนใจจากการรักษาคนมารักษาบ้ านเมืองแทน ว่ากันว่าพี่ชายที่ชื่อซุนเ หมยถามเขาถึงสาเหตุที่จะต้อ งเสี่ยงชีวิตมาทำงานปฏิวัติ ดร. ซุนบอกว่า “หากผมเป็นหมอ ผมคงรักษาคนไข้ได้ทีละคน แต่หากผมช่วยประเทศจีนให้เป ็นอิสระ ผมจะช่วยคนได้ถึง 400 ล้านคน” ทั้งหลู่ซวิ่นและซุนยัดเซนเ ริ่มจากวิชาหมอแต่จบลงด้วยก ารช่วยบ้านเมือง ที่ประเทศสยาม เจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งเริ่มจา กวิชาทหารมาจบลงด้วยวิชาแพท ย์ คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เริ่มกันคนละอย่างแต่จบลงที ่การช่วยบ้านเมืองและมนุษยช าติเหมือนกัน ตอนที่กำลังศึกษาวิชาแพทย์ หลู่ซวิ่นเห็นภาพถ่ายทหารญี ่ปุ่นกำลังตัดศีรษะคนจีนแล้ วเกิดความสะเทือนใจ ตระหนักถึงความตกต่ำของบ้าน เมืองเขาจึงตัดสินใจทิ้งมีด หมอมาจับปากกา ส่วนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร “กรมหลวงสงขลานครินทร์” ทรงสงสารราษฎรเมื่อได้เห็นภ าพความทุกข์ยากของพวกเขาที่ ต้องมารอรับการรักษาที่ศิริ ราชพยาบาลอีกทั้งเครื่องมือ แพทย์ก็ไม่เพียงพอ จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะช่ว ยปรับปรุงการแพทย์ของประเทศ กรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงกรา บทูลกับกรมขุนชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุขว่า “หม่อมฉันรู้สึกเสมอว่า การสาธารณสุขนั้นเปนการสำคั ญอย่างยิ่ง ทั้งเปนเครื่องบำรุงกำลังขอ งชาติไทย แลเปนสาธารณประโยชน์แก่มนุษ ยชาติทัวไป” ดังนั้นจึงทรงอาสาที่จะช่วย เหลือในเรื่องนี้ เจ้าฟ้านายทหารที่ศึกษาวิชา ทหารมาแล้วจากเยอรมนี (ด้วยคะแนนสูงสุด) จึงต้องกลับไปต่างประเทศอีก ครั้งเพื่อเรียนวิชาหมอมาช่ วยบ้านเมือง คราวนี้เสด็จไปเรียนที่ “สหปาลีรัฐอเมริกา” ในปี 2460 ทรงโดยสารเรือจากสยามต่อไปย ังเมืองจีนจากนั้นข้ามแปซิฟ ิกมายังสหรัฐ ระหว่างทางแวะที่เกาะฮาวาย ดินแดนของสหรัฐ ที่ฮาวายนี่เองที่เกิดเรื่อ งขึ้น ในคลังคลิปข่าวของหอสมุดสภา คองเกรสมีรายงานชิ้นหนึ่งระ บุว่า “เมื่อถึงโฮโนลูลู พรินซ์มหิดล สงขลา กำลังจะเสด็จลงเรือไปทอดพระ เนตรทิวทัศน์ของเมืองหลวง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง มาห้ามพระองค์ไว้บอกว่า คนญี่ปุ่นจะขึ้นท่าไม่ได้ถ้ าไม่ได้ตรวจเอกสารก่อน … ในตอนนั้นพวกญี่ปุ่นกับจีนไ ปเป็นกุลีที่ฮาวายกันมาก ซุนยัดเซนก็ไปอยู่กับพี่ชาย ซึ่งทำกินที่ฮาวาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่อเมริกัน จึงเหยียดหยามคนเหล่านี้ … พรินซ์มหิดล สงขลาทรงตอบว่าพระองค์ไม่ใช ่คนญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเม ืองกลับโต้เถียงด้วยวิธีการ อันเป็นอเมริกันยิ่งด้วยการ “ต่อยเข้าไปที่ปลายจมูก” แต่มหิดล สงขลาคงจะไม่ทรงคุ้นกับการโ ต้ตอบอย่างฉับพลันแบบนี้ จึงทรงมิได้ทรงโต้ตอบ … เจ้าฟ้าเสด็จมาถึงซานฟรานซิ สโกแล้ว ทรงพบกับราชทูตสยามผู้เกรี้ ยวกราดอย่างมากกับรายงานการ กระทำอันหยามพระเกียรตินี้. .. แต่มหิดล สงขลาทรงเป็นสุภาพบุรุษชาวส ยามทุกกระเบียดนิ้ว ทรงพยายามบอกว่าผู้กระทำต่อ พระองค์นั้นไม่ได้ผิดและทรง หวังว่าเขาจะไม่ถูกไล่ออกจา กงาน… ผู้รานงานข่าวทิ้งท้ายว่า “การที่เจ้าฟ้าทรงหวังด้วยพ ระเมตตาอย่างนี้ ไม่อาจยับยั้งการลงโทษผู้ก่ อเหตุได้แน่นอน” และ “เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือ งอเมริกันจะต้องหมดอนาคตในง านราชการอย่างแน่นอน” ข่าวนี้บอกกับเรา “พรินซ์ ออฟ สงขลา” ทรงมีขันติธรรมมากเพียงใด แม้จะทรงถูกปฏิบัติอย่างเลว ร้ายแต่ก็ยังอุตส่าห์ห่วงผู ้ที่กระทำต่อพระองค์ ทรงทำให้ชาวอเมริกันได้ประจ ักษ์ในความเป็น “สุภาพบุรุษชาวสยาม” เมื่อทรงเดินทางถึงสหรัฐแล้ วเริ่มศึกษาวิชาการแพทย์ก็ท รงไม่ถือยศถืออย่าง ทรงสละคำว่าพรินซ์และดยุคอั นรุงรังออกไปเสีย เหลือเพียงคำว่า “มิสเตอร์มหิดล สงขลา” ตามธรรมเนียมเข้าเมืองตาหลิ ่วต้องหลิ่วตาตาม เพราะสังคมอเมริกันนั้นไม่ม ีชนชั้น ทรงให้สัมภาษณ์กับ Boston Globe ในปี 2460 (ซึ่งผู้เขียนจะขอแปลอย่างง ่ายๆ เพื่อรักษาความเป็นกันเอง ดังนี้) “ผมไม่อยากให้คนรู้ว่าผมเป็ น พรินซ์ ตอนที่อยู่ที่นี่ เรียกง่ายๆ ว่านายสงขลาเหมาะกับผมมากกว ่า คุณดูสิยศของผมคือดยุคแห่งส งขลา ตอนที่ผมอยู่ที่นี่ผมอยากจะ ใช้คำนำหน้าชื่อแบบอเมริกัน ว่า มิสเตอร์มากกว่า … ผมเชื่อว่าเมื่อเราไปประเทศ หนึ่งเพื่อทำงานหรืออยู่อาศ ัยควรจะทำตามธรรมเนียมของปร ะเทศนั้นทุกอย่าง” และทรงบอกถึงเจตนารมณ์เอาไว ้ว่า “ที่ผมมาที่นี่ไม่ใช่มาทำธุ รกิจหรือมาเสพสุข แต่มาเพราะหน้าที่ พระเจ้ากรุงสยามพระเชษฐาธิร าชของผมทรงได้รับค่าเหนื่อย ในการบริหารประเทศอย่างมาก และผมเชื่ออย่างหนักแน่นว่า พระบรมวงศ์ของพระองค์ควรจะอ ุทิศตนเพื่อรับใช้บ้านเมือง ของตนเป็นการตอบแทน หากผมอยากจะอยู่สบายๆ ก็ทำได้ไม่ยาก แต่ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่อ งถูกต้อง เพราะผมรู้สึกอย่างแรงกล้าถ ึงพันธกิจต่อพสกนิกรของพระเ ชษฐาธิราช” ต่อมาทรงให้สัมภาษณ์กับ New York Times ว่า “ผมคงไม่ได้ครองราชย์หรอก แต่ผมไม่ได้กังวลใจเรื่องนี ้ … ความปรารถนาอันแรงกล้าของผม คือการทำตนให้เป็นประโยชน์ ผมจะอยู่สบายๆ ด้วยยศศักดิ์ก็ย่อมได้ในฐาน ะพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ผมคิดว่าผมควรได้รับการย กย่องในสิ่งที่ผมเป็นจริงๆ มากกว่า หากคนจะยกย่อง ผมก็อยากให้เขายกย่องเพราะผ มมีผลงานควรแก่การยกย่อง” และก็เช่นนั้นจริงๆ เพราะโลกจดจำพระองค์ที่ความ ดี ไม่ใช่เพราะทรงเป็นเจ้าฟ้า แม้จะเป็นเจ้าฟ้าแต่ครอบครั วมหิดลใช้ชีวิตอยู่ในต่างแด นอย่างประหยัดยิ่ง ทั้งยังทรงเจียดเงินช่วยเหล ือนักศึกษาไทยและนักศึกษาแพ ทย์ช่วยเม็กซิกันที่อัตคัดข ัดสน เพื่อที่เขาจะได้กลับไปเป็น หมอรักษาพี่น้องร่วมชาติเหม ือนพระองค์หลังทรงจากทรงทรา บความตั้งใจของเขา ทรงช่วยเขาเป็นเงินถึง 100 ดอลลาร์ต่อเดือน ส่วนพระองค์นั้นตอนแรกที่ไป ถึงสหรัฐทรงใช้เงินกับอาหาร วันละ 6 – 7 ดอลลาร์เท่านั้น เมื่อทรงกลับมาประเทศสยามแล ้วทำคุณประโยชน์ด้านการแพทย ์มากมาย ทั้งวางระบอบการแพทย์แผนใหม ่ให้สยาม สอนวิชาแพทย์ให้กุลบุตรสยาม และรักษาราษฎรชาวสยามจนผู้ค นเรียกขานด้วยความรักใคร่ว่ า “หมอเจ้าฟ้า” ราษฎรบางคนรู้สึกเป็นมงคลแก ่ชีวิตที่พระองค์รักษาให้ เมื่อกลับไปบ้านแล้วไม่ยอมอ าบน้ำก็มี บอกว่า “หมอเจ้าฟ้าล้างหูให้” ราษฎรรักพระองค์มากกกว่าหมอ ธรรมดา และพระองค์ก็รักคนไทยมากเช่ นกัน ในจดหมายที่มีไปถึงหม่อมคัท ริน จักรพงษ์ทรงเอ่ยความในใจว่า “เมื่อฉันเพิ่งออกไปเรียนหน ังสือที่ยุโรป ฉันไม่เคยรู้แน่เลยว่าชาติข องฉัน บ้านของฉันนั้นสำคัญแก่ฉันเ พียงไร จนกระทั่งฉันได้มีโอกาสติดต ่อกับคนไทย จึงได้รู้ตัวว่ารักคนไทยเพี ยงใด และได้รู้จักคุณสมบัติของคน ไทยอันน่ารักมีคุณค่า … จึงได้รู้สึกตัวว่าถิ่นฐานข องฉันในโลกนี้ ก็คือจะต้องอยู่ท่ามกลางคนไ ทยด้วยกัน” แม้ว่าจะทรงไม่อยากให้คนจดจ ำพระองค์เพราะฐานันดรแต่กำเ นิด แต่ชาวไทยไม่อาจลืมได้ว่าทร งไม่ได้เป็นแค่หมอและครูของ หมอ เพราะในสมัยรัชกาลที่ 7 ยังทรงอยู่ในลำดับที่ได้สืบ ราชบัลลังก์ต่อไปด้วย ในปี 1928 ขณะที่ทรงศึกษาวิชาแพทย์ที่ สหรัฐนั้นทรงประชวรหนักรู้ส ึกพระองค์ว่าคงจะไม่รอดแล้ว จึงเรียกหา “ฟรานซิส บี. แซร์” หรือ พระยากัลยาณไมตรีชาวอเมริกั นผู้เป็นที่ปรึกษาด้านการต่ างประเทศของรัฐบาลสยามและผู ้ที่สนิทสนมกับพระองค์เป็นอ ันมาก ฟรานซิส บี. แซร์ บันทึกไว้ว่า “เดือนเมษายน 1928 พรินซ์มหิดลประชวรหนักและถู กส่งไปยังโรงพยาบาลบอสตัน ด้วยเกรงว่าอาการอาจถึงแก่ช ีวิต จึงทรงเรียกหาผมให้ผมช่วยจด พินัยกรรมเกี่ยวกับพระโอรส โดยหากมีความเป็นไปได้ที่พร ะโอรสทั้งสองจะได้ครองราชบั ลลังก์สยาม จะทรงขอพระเจ้าแผ่นดินสยามอ ย่าได้เลือกพระโอรสองค์ใดอง ค์หนึ่งเป็นรัชทายาท” เหตุครั้งนั้นทรงหายประชวรไ ด้แต่ในอีก 2 ปีต่อมาก็สิ้นพระชนม์ไปอย่า งน่าเสียดาย ทรงไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่าค วามปรารถนาของพระองค์ไม่อาจ กลายเป็นจริง ไม่ใช่แค่พระโอรสองค์เดียวเ ท่านั้นที่ได้เป็นพระเจ้าแผ ่นดิน แต่ได้เป็นทั้งสองพระองค์ ข้อมูลจาก • Celebrating The Legacy of His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla: A Century of Progress in Public Health and Medicine in Thailand • World War history : daily records and comments as appeared in American and foreign newspapers, 1914-1926 ([New York]), August 20, 1916, (1916 August 20-27) • จดหมายเหตุพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก • มรดกไทยในฉลองพระองค์เจ้าฟ้ าทหารเรือ (ป.ล. ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมอยากจะข อบคุณทีมแพทย์และเจ้าหน้าที ่ผู้เสียสละในแนวหน้าสงคราม การระบาดแต่ไม่รู้ว่าจะสื่อ ความในใจอย่างไร ทำได้ก็แค่เขียนหนังสือ จึงขอแสดงความซาบซึ้งในความ เสียสละของทุกท่านด้วยงานเข ียนชิ้นนี้ … และที่ผมเลือกใช้หมอเจ้าฟ้า เป็นตัวแทนแสดงความขอบคุณที มแพทย์ ไม่ว่าจะยอพระเกียรติ แต่อยากจะเลือกสักท่านหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์แทนความเสียสล ะของทีมสาธารณสุข) ภาพจาก Bibliothèque nationale de France https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10156959043506954&set=a.430946001953&type=3&theater