วันพุธ 15 มกราคม 2025
  • :
  • :
Latest Update

ความจริงอีกด้าน การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในอดีต ไม่ใช่เพราะทักษิณ

Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra looks on as he speaks to Reuters during an interview in Singapore February 23, 2016. To match Interview THAILAND-POLITICS/THAKSIN REUTERS/Edgar Su

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

โดย สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์


พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ ประเทศไทยเคยเข้าโครงการไอเอ็มเอฟมาแล้วครั้งหนึ่ง ในช่วงปี 2524, 2525 และ 2528 ทั้ง 3 สัญญาในช่วงนั้น เรากู้เงินมา 982 ล้านเหรียญสหรัฐ และเราใช้คืนหมดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เรากู้ตั้งแต่ปี 2524, 2525 และ 2528 เพียงแค่ไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ครั้งนี้เรากู้ถึง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ และเราใช้คืนในวันนี้ ครั้งที่แล้วใช้คืนเมื่อเดือน
“วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก้อนสุดท้าย เมื่อกลางวันนี้ได้ชำระคืนให้กับธนาคารของประเทศญี่ปุ่น และเย็นนี้ซึ่งเป็นเวลากลางวันของซีกประเทศตะวันตกก็ได้ชำระเงินก้อนสุดท้ายคืนให้กับไอเอ็มเอฟ ทั้งหมดที่ชำระคืนในวันนี้ก็ประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท เป็นก้อนสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ได้เจอวิกฤตเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้เราต้องลดค่าเงินบาท ประเทศขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เงินไหลออก เราต้องเข้าโปรแกรมไอเอ็มเอฟ ซึ่งขณะนั้นทางไอเอ็มเอฟร่วมกับธนาคารกลางและกระทรวงการคลังของ 8 ประเทศ และประเทศญี่ปุ่นได้อนุมัติวงเงินให้เรากู้เป็นเงินถึง 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เราได้มีการเบิกใช้จริง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 510,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ใช้หนี้ส่วน 510,000 ล้านบาทนี้ไป 10,000(2 เปอร์เซ็นต์) ล้านบาท เหลือหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านบาท (98 เปอร์เซ็นต์) รัฐบาลนี้ได้เข้ามาทำงาน 2 ปีครึ่ง ได้ชำระหนี้ทั้ง 500,000 ล้านบาทหมดในวันนี้ ทำให้เราถือว่าหมดพันธะต่อการที่ต้องพึงปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีไว้ต่อไอเอ็มเอฟ

กุมภาพันธ์ 2533 แต่หลังจากนั้นเพียง 7 ปีกับ 4 เดือนครับ เราเกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ทำไมถึงมีวิกฤตห่างกันเพียงแค่ 7 ปี”

(ที่มา : การประกาศชำระคืนหนี้งวดสุดท้ายไอเอ็มเอฟโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าว ทำเนียบรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2546 เวลา 20.30 น.)

ย้อนหลังไปพิจารณาเรื่องราวในอดีต วิกฤตเศรษฐกิจจนต้องลอยค่าเงินบาท สภาพคล่องของประเทศเสียหาย และต้องกู้เงิน IMF ในปี 2540 เกิดขึ้นในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบ ได้ลาออก เพื่อแลกกับเงินกู้ IMF 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

คนทั่วไปบอกว่า รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีถูก IMF ปลดกลางอากาศ

รัฐบาลชวน 2 ถูกสรรหามาแทนรัฐบาลชวลิตที่มีทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ลาออก

รัฐบาลชวน 2 ออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ที่คนทั่วไปเรียกว่ากฎหมายขายชาติ11 ฉบับ มาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี 2540

รัฐบาลทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาแทนรัฐบาลชวน 2 ในปี 2001 (2544)

การที่ประเทศไทยใช้หนี้ IMF ได้หมดในกลางปี 2003 (2546) เป็นความสามารถส่วนตัวของนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจริงหรือ

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

ภาพที่ 1 ตลาดหุ้น NASDAQ พังทลายในปี 2000-2002 (2543-2545) ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายตามมา ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกจากประเทศสหรัฐฯ ออกมายังยุโรป จีน อาเซียน ฯลฯ รวมทั้งไทยทำให้เงินประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้น ไม่ว่าเงินยูโร เงินอาเซียน ฯลฯ รวมทั้งเงินบาท

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

ภาพที่ 2 มุมมองด้านเงินเหรียญสหรัฐ (ต่อเงินยูโร)

ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ตามการพังทลายของตลาดแนสแด็ก เห็นได้ระหว่างปี 2001-2008 (2544-2550) ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลง 48 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

ภาพที่ 3 มุมมองด้านเงินยูโร (ต่อเงินเหรียญสหรัฐ) แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 1 โลก ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย เงินทุนไหลเข้ายุโรป เห็นได้จากเงินยูโรแข็งค่าขึ้นระหว่างปี 2001-2008 (2544-2551) แข็งค่าขึ้น 89.05%

ภาพที่ 2 กับภาพที่ 3 เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เพียงแต่มองคนละด้าน

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

ภาพที่ 4 ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย ทำให้เงินทุนไหลเข้าอาเซียน เห็นได้จากเงินอาเซียนแข็งค่าขึ้นระหว่างปี 2001-2008 (2544-2551) เงินอาเซียนแข็งค่าขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์

การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดในปี 2546 ไม่ใช่ความสามารถอะไรทักษิณ

ภาพที่ 5 ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย เงินทุนไหลเข้าประเทศไทย เห็นได้จากเงินบาทแข็งค่าขึ้นระหว่างปี 2001-2007 (2544-2550) เงินบาทแข็งค่าขึ้น 51.32 เปอร์เซ็นต์ แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

ผลจากการพังทลายของตลาด NASDAQ และค่าเงินเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2001-2008 ทำให้ให้เงินไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ไหลเข้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลก ส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 89.05 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของโลก ค่าเงินอาเซียนค่าขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 51.32 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับที่ 2 ของโลกเป็นแบบเดียวกันกับทุกสกุลเงินทั่วโลก ยกเว้นเฉพาะสกุลเงินที่ผูกค่าเงินเหรียญสหรัฐที่เห็นว่าค่าเงินไม่เปลี่ยนแปลง แต่มันก็ทำให้สกุลเงินนั้นอ่อนกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ สุดท้ายก็ไม่สามารถยืนค่าอยู่ได้ ถูกไล่ซื้อจนไม่สามารถยืนค่าอยู่ได้ ต้องลอยค่าเงินในที่สุด (ลอยขึ้น) เช่นสกุลเงินหยวนของจีนและเงินริงกิตของมาเลเซียจนต้องยอมให้ค่าเงินลอยค่าขึ้นในกลางปี 2005 (2548)

รัฐบาลทักษิณมาระหว่างปี 2001-2006 (2544-2549) ซึ่งอยู่ในช่วงเงินทุนเริ่มไหลเข้า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่า สภาพคล่องของประเทศเริ่มสูงขึ้นทำให้ประเทศไทยสามารถมีเงินใช้หนี้ IMF ได้หมดในปี 2003 (2546)

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2546 เป็นวันที่ประเทศไทยใช้หนี้ IMF หมดเป็นงวดสุดท้าย

แท้ที่จริงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในช่วงรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นรองนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้กับ IMF จำนวน 510,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ยังเกิดหนี้สาธารณะจากการล้มลงของสถาบันการเงินในประเทศ โดยหนี้กองนี้กองไว้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท หนี้กองนี้เกิดขึ้นในปี 2541(1998) จนถึงปัจจุบัน (บทความนี้นำเสนอในปี 2013(2556)) หนี้กองนี้ก็ยังคงเหลืออยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท

รัฐบาลทักษิณมีอายุอยู่ระหว่างปี 2001-2006 (2544-2549) มีเวลาอยู่กับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเวลา 6 ปี หรือมีเวลากับหนี้กองนี้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ก็ไม่เห็นว่าจะจัดการกับหนี้กองนี้ให้น้อยลงแต่อย่างใดไม่ได้มีการจัดการให้หนี้หมดไปหรือน้อยลงเหมือนหนี้ IMF แต่อย่างใด

ประเทศไทยเบี่ยงเบนอย่างหนัก ไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรีตัวจริงในการบริหารประเทศ การบริหารประเทศเป็นไปตามนายกรัฐมนตรีนอกรัฐธรรมนูญแต่อย่างเดียว น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย

หลังจากมีการบริหารจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูผ่านไป 12 ปีมาถึงรัฐบาลตัวแทน 2011 (2554) รัฐบาลหัวโขนยิ่งลักษณ์ ชินวัตรหนี้กองทุนยังคงเหลืออยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่แทนที่จะตั้งใจชำระหนี้กองนี้ กลับโอนหนี้กองนี้ไปไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เพื่อที่จะทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง เพื่อที่ได้กู้เงินได้มากขึ้น จึงเป็นที่มาโครงการกู้เงินกองโต 0.35+2.2 ล้านล้านบาท แล้วออกโฆษณาชวนเชื่อว่าจะใช้หนี้หมดภายในเวลา 50 ปี เป็นเรื่องที่มุสามากกว่า เห็นได้จากหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูยังไม่มีความตั้งใจที่จะชำระ แล้วหนี้กองโตที่คิดกู้ในรัฐบาลตัวแทนยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะมีความตั้งใจที่ชำระหนี้ได้อย่างไร

เมื่อมีการกู้เงินกองโต ก็อ้างถึงการกระตุ้นการเจริญเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ผู้เขียนไม่รู้สึกว่ารัฐบาลทักษิณและรัฐบาลตัวแทนทักษิณจะบริหารให้ประเทศชาติเจริญแต่อย่างใด มีแต่บริหารความเจริญให้เศรษฐกิจส่วนตัวและพวกพ้องแต่อย่างเดียว

ในทางตรงกันข้าม การกู้เงินกองโต อาจจะเป็นการกู้แบบเกินความพอเพียง อาจจะทำให้ขาดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จะทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย จะทำให้เงินทุนไหลออก จะทำสภาพคล่องของระบบเสียหาย และระบบเศรษฐกิจล้มลงอีก

ประกาศนียบัตรความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจประเทศ ไม่ใช่ว่าไม่เคยมี แต่มีไว้ให้เห็นชัดเจนในปี 2540 ในขณะที่มีตำแหน่งสูงถึงรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง จนต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 2 ที่ทำความเสียหายย่อยยับให้ประเทศแบบไม่เคยเป็นมาก่อน

การมาของรัฐบาลตัวแทนยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แทนที่จะหาทางป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นแบบในปี 2540 กลับมาฉวยโอกาสหาประโยชน์ส่วนตน ซ้ำเติมให้ประเทศชาติประชาชนเดือดร้อนและเสียหายมากขึ้นไปอีก มีการปล้นสินทรัพย์ของชาติและขายสมบัติชาติเอาไปเป็นของส่วนตน และขายให้ต่างชาติมากขึ้น เช่น การแปรรูปบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กแห่งประเทศสิงค์โปร รวมทั้งการแปรรูปบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

คำว่า โลกาภิวัตน์ เป็นศัพท์ของความเสื่อม แต่เอามาอ้างถึงความเจริญที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ อย่างอเมริกายุโรปที่อ้างว่าเป็นโลกาภิวัตน์เจริญตรงไหน เห็นแต่คนในประเทศเหล่านั้นเดือดร้อนกันเต็มประเทศ

จากวันเริ่มต้นของรัฐบาลทักษิณในปี 2544 (2001) ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับประมาณ 46 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถึงวันใช้หนี้ IMF ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 42 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นประมาณ 4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ วันสุดท้ายของรัฐบาลทักษิณ ที่ถูกรัฐประหารในเดือนกันยายน 2006 (2549) ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นอีกหลังการใช้หนี้ IMF ประมาณ 5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

ทักษิณบอกใช้หนี้ IMF ก่อนกำหนด 2 ปี ทำให้ประเทศประหยัดดอกเบี้ยจ่าย 5,000 ล้านบาท แต่ผู้เขียนว่าหากชำระหนี้ตามกำหนด หรือยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก จะประหยัดเงินทุนในการชำระหนี้อย่างน้อยประมาณ 30,000-50,000 ล้านบาท เนื่องจากบาทยังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเองhttp://library.uru.ac.th/webdb/images/sp31jul46.htm

ถอดเทปการประกาศชำระคืนหนี้งวดสุดท้ายของ IMF ณ ศูนย์แถลงข่าว ทำเนียบรัฐบาลวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2546 เวลา 20.30 น.

ไม่ใช่ฝีมืออะไรของทักษิณที่ใช้หนี้ IMF หมด แต่เอามาโฆษณาชวนเชื่อ โอ้อวดว่าเกิดจากฝีมือตนคนฟังที่มีข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องพอจะเอาตัวรอดได้ แต่คนส่วนใหญ่ยากที่จะเอาตัวเองรอดจากมิจฉาวาทกรรมที่หยดย้อยนี้ได้ หลงใหลในทักษิณมากขึ้น

มีอันตรายต่อประเทศชาติอย่างมากหนึ่ง มีการสวมรอยหาประโยชน์อย่างมากหนึ่ง จากการที่ต้องเข้าโครงการ IMF และจากที่การออกจากโครงการ IMFประเทศชาติเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่ก็มีคนได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่องเช่นเดียวกัน

ที่ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ IMF หมดก่อนกำหนด 2 ปี ไม่ใช่ความสามารถส่วนตัวอะไรของทักษิณ แต่เป็นเพราะค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย แล้วไหลออกมายังภูมิภาคต่างๆ ของโลก รวมทั้งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น จนสามารถใช้หนี้ IMF ได้อย่างรวดเร็ว และใช้หนี้หมดก่อนกำหนดถึง 2 ปี

http://twitter.com/indexthai2

indexthai2@gmail.com