วันอังคาร 14 มกราคม 2025
  • :
  • :
Latest Update

จุดกำเนิดกฏหมายสยามนั้นล้าหลังจริงหรือ?

 

จุดกำเนิดกฏหมายสยามนั้นล้าหลังจริงหรือ? – ปราชญ์ สามสี  ๘ เมษายน ๒๕๖๐

อ้างอิง จาก เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ปราชญ์ สามสี 

ว่ากันว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป ค่านิยม-ความเชื่อต่างๆก็ดูเหมือนจะเปลี่ยนเช่นกัน  ในยุคปัจจุบันเองก็มีความเชื่อเล่ากันสนุกปากอย่างผิดๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยหลงผิดคิดว่า บ้านนี้เมืองนี้ล้าหลังไปเสียหมด โดยเฉพาะกฏหมายบ้านเมือง  จนมีนักวิชาการไทยบางคนหัว”ชังชาติ”ที่หลบหนีไปอยู่ฝรั่งเศส เสียแล้วก็เคยผลิตวาทะกรรม หลอกลวงไปว่า กฏหมายประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นที่ล้าหลัง เพราะเขียนแบบไทยๆ เขียนโดยคนไทย ไม่ได้มีอารยะอย่างประเทศฝรั่งเศส -สหรัฐอเมริกา

การเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี ก็ไม่แปลกใจว่า คนในยุคปัจจุบันอาจจะหลงลืมรากเหง้าของบรรพบุรุษกันไปบ้างก็ไม่แปลกอะไร  แต่ ข้าพเจ้าคงต้องขอบอกครับว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดเลย …และนับว่าเป็นการใส่ความ บูรพกษัตริย์ไทยและบรรพบุรุษอีกเสียด้วย อันนี้ ข้าพเจ้าจึงต้องออกมาชี้แจงแถลงไขครับ

ขั้นแรก เราคงต้องกลับมาทำความรู้จัก บุคคลสำคัญ คนหนึ่งสมัย แผ่นดินของ รัชกาลที่ ๕  นั้นก็ คือ เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ซึ่งเป็นถึง รัฐมนตรีมหาดไทยของประเทศเบลเยี่ยม และ เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ อีกด้วยนะครับ

เดิมที เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ หรือชื่อจริงว่า กุสตาฟว์ อ็องรี อ็องฌ์ อีปอลิต รอแล็ง-ฌักแม็ง (Gustave Henri Ange Hippolyte Rolin-Jacquemyns) หรือนิยมเรียกว่า โรลังยัคมินส์ นั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ประเทศเบลเยี่ยม  และได้เข้ารับราชการในประเทศสยาม ตามคำแนะนำของ”ลอร์ดเร” และ”มิสเตอร์เฟรเดอริค วิลเลี่ยมเวอนี ผู้เป็นที่ปรึกษาในสถานทูต” สหาย ของ  กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งเรื่องราวการเข้ารับราชการของ เจ้าพระยาอภัยราชาฯ ในตอนแรกนั้น นับว่ามีความน่าสนใจมาก จนถึงกับปรากฏใน หนังสือเรื่อง นิทานโบราณคดี /นิทานที่ ๘ ผู้เขียน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  โดยถูกระบุ โดยสรุปใจความได้ว่า กว่าจะนำเชิญ นาย โรลังยัคมินส์ มาร่วมงานในสยามนั้น  ต้องไปดูตัวกันถึง กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เลยทีเดียว  ซึงเวลานั้น สยามไม่ได้เป็นเพียงคนแรกที่เทียบเชิญ โรลังยัคมินส์ มารับราชการ แต่ ยังมี “พระเจ้าอับบัส” ผู้เป็น”เคดิฟ”ครองประเทศอียิปต์ต่อ”พระเจ้าติวฟิก” นั้นก็ต้องการ นาย โรลังยัคมินส์ มารับราชการตำแหน่งสำคัญในกระทรวงยุติธรรมของประเทศอียิปต์ อีกด้วย แต่สุดท้าย “มองสิเออโรลังยัคมินส” ก็ตัดสินใจเข้ารับราขการกับฝั่งสยาม เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่๕ที่ให้ความไว้วางพระราชหฤทัยในการให้โอกาส ทำให้สามารถแก้ปัญหาทุกยากในใจของ “มองสิเออโรลังยัคมินส”เกี่ยวน้องชายที่ล้มละลายจากการค้าขาย

จากการเยือนทวีปยุโรปของรัชกาลที่๕ในครั้งนั้น ประเทศสยามจึงได้ นักกฏหมายที่มีความสามารถกลับมาช่วยพัฒนาชาติสยามได้อย่างดี
“มองสิเออโรลังยัคมินส” เมื่อมารับราชการสยามแล้วนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่ง “ที่ปรึกษาราชการทั่วไป” มิใช่เป็นที่ปรึกษาราชการแต่ในกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงเดียว เนื่องจากฝีมือด้านกฏหมายที่มีความชำนาญสูง และ วีรกรรม เยี่ยงวีรบุรุษ ของ”มองสิเออโรลังยัคมินส”นั้นทำให้ประเทศสยามนั้นรอดพ้นอำนาจฝรั่งเศสได้

เนื่องจากขณะนั้นประเทศสยามในเวลานั้น กำลังมีข้อพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนเมืองขึ้น  “มองสิเออโรลังยัคมินส” ซึ่งได้รับการไหว้วาน ให้เข้ามาช่วยราชการแก้ปัญหาสำคัญ ที่รัฐบาลสยามจะต้องปรับปรุงแก้ไข หลายประการ คือ

  • ได้ก่อตั้ง โรงเรียนกฎหมายขึ้นในสยาม เพื่อผลิตเนติบัณฑิตไทยขึ้นมาครั้งแรก ให้มีความรู้เท่าทันตะวันตก โดยมีเจตนารม อันเป็นผลสืบเนื่องจากการ ที่สยามกำลังต้องการที่จะยกเลิกศาลกงสุลที่มีปัญหา เนื่องจาก เดิมที ฝรั่งเศสได้อ้างแต่เพียงฝ่ายเดียวว่า กฎหมายสยามมีความป่าเถื่อน…จึงบังคับให้สยามสร้างศาลกงสุลเพื่อรองรับนักโทษชาวต่างชาติเท่านั้น จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับโทษตามระบบศาลของสยาม  เพราะเช่นนี้ ศาลกงสุลจึงทำให้ชาวต่างประเทศเทศที่กระทำผิดมีความรู้สึก”ได้ใจ”และได้รับโทษอย่างไม่เท่าเทียม เมื่อเปรียบเทียบกับ นักโทษชาวสยาม อีกทั้งศาลกงสุลแบบฝรั่งเศส ยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองซึ่งฝรั่งเศสนิยม ตั้งศาลกงสุลในประเทศที่ตนเองปกครองอยู่
  • ปรับปรุงระบบศาลยุติธรรมของสยามให้เป็นที่เชื่อถือของฝรั่งเศส เพราะขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศส เริ่มเข้ามาตั้งศาลกงสุลในประเทศไทย และไม่ยอมรับรองการอยู่ใต้กฎหมายไทย เพราะอ้างว่ากฎหมายสยามยังไม่มีระเบียบแบบแผนรัดกุมที่ดีพอ และ ประเทศสยามยังเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน

  • ปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ มีการร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งแยกกระทรวง ทบวง กรม มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) นักเรียนไทย คนแรกที่กลับจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี มีตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ แปลเอกสารภาษาอังกฤษ เพื่อจะใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง โดยมีกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นผู้แปลและได้ร่างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เรียกรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นนี้ว่า “พระราชประเพณี” ได้มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี และได้ประกาศตั้งเสนาบดี ๑๒ กระทรวงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕
  • ปรับปรุงปัญหาด้านการต่างประเทศ หลังจากที่ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๔ ประเทศยุโรปก็ได้ส่งกงสุลใหญ่เข้ามาดูแลด้านการค้า การปกครองคนของตนอย่างเป็นเอกเทศไม่ยอมให้คนในบังคับ ของตนมาขึ้นศาลไทย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีกงสุลใหญ่หรือทูตไทยไปประจำในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่พอใจระหว่างรัฐบาลไทยกับกงสุลของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นบ่อย ๆ เกิดข้อพิพาทบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องส่งทูตพิเศษออกไปติดต่อกับรัฐบาลในทวีปยุโรปเสมอ ๆ จึงจำเป็นต้องจ้างโรลังยัคมินส์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นงานหนักในฐานะที่เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มประจำ กระทรวงการต่างประเทศ  บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของท่าน คือการที่ช่วยรัฐบาลไทยเจรจาและทำความเข้าใจกับรัฐบาลฝรั่งเศส ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ฝีมือของ เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ว่ากันว่า  ฝรั่งเศส เกรงกลัวมาก และ ไม่ยอมให้ เข้าร่วมเจรจาในกรณี พิพากกับฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.๑๑๒  ซึ่งประเทศไทยถูกฝรั่งเศสยึดดินแดน แม้ว่าจะถูกขัดขว้างอยู่บ้าง แต่ ผลของ วีรกรรมเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ก็ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติน้อยที่สุด และช่วยรักษาเอกราชของประเทศไทยไว้ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการดำเนินรัฐประศาสโนบายในทางที่ควรจนรอดพ้นจากการสูญเสีย ประเทศมาได้
  • ต่อมาทรงพระราชดำริว่ามองสิเออโรลังยัคมินสทำราชการเป็นประโยชน์มาก ด้วยความภักดีต่อประเทศไทย และมีอัชฌาสัยเข้ากับไทยได้ดีทุกกระทรวง ทั้งเป็นผู้ใหญ่สูงอายุและเคยมีบรรดาศักดิ์สูง ถึงเป็นเสนาบดีในบ้านเมืองของตนมาแต่ก่อน คุณความดีและความสามารถหลายด้านของโรลังยัคมินส์ที่มีต่อประเทศไทย วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้โรลังยัคมินส์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวาภักดิ์ ปรมัคราชมนตรี อภัยพิริยปรากรมพาหุ เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ถือศักดินา ๑๐๐๐๐
    ได้รับราชการสำคัญต่างๆ จนถึงอยู่ในคณะที่ปรึกษาของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งฝรั่งเป็นเจ้าพระยาเทียบชั้นเสนาบดี

 

 

 

ภาพ ผังความเชื่อมโยง อันเป็นมิตรภาพระหว่าง ประเทศสยามและประเทศเบลเยี่ยม ในสมัย รัชกาลที่๕