วันพฤหัสบดี 23 มกราคม 2025
  • :
  • :
Latest Update

นายแพทย์ผู้ภักดี กับปรีดี ผู้ปล้นคลังหลวง …

นายแพทย์ผู้ภักดี กับปรีดี ผู้ปล้นคลังหลวง …

“นายปรีดี พนมยงค์” นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เคยนำเงินจากคลังหลวงออกมาจำนวนมาก เพื่อหวังล้มคดี กับนายแพทย์”สปัสซั่ม” ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร แต่ไม่สำเร็จ …

เมื่อครั้งการสวรรคตของรัชกาลที่๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับคดีการสวรรคตของพระองค์ท่าน คือการที่นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นบีบให้คณะกรรมการชันสูตรศพ เปลี่ยนคำให้การในการชันสูตรศพ ที่มีกรรมการทั้งหมด ๒๓ ท่าน แต่ต่อมาได้มีการร้องขอจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขอเพิ่มอีกหนึ่งท่านที่มาจากต่างประเทศ คือ พันเอกไดร์เบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ เพิ่มอีกหนึ่งคน

จดหมายเชิญจากในหลวงของเรา (ตามปรากฎดังภาพ) เป็นจดหมายที่เจ้าคุณลัดพลีฯ สนองพระราชกระแส โดยเจ้าคุณลัดพลีฯ ในฐานะประธานกรรมการสอบสวนฯ ถึงพันเอกไดร์เบิร์ก มีข้อความว่า

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ให้คณะกรรมการสอบสวนฯ เชิญท่านเป็นกรรมการผู้หนึ่ง ร่วมกับกรรมการที่จะชันสูตรพระเชษฐา โดยมีเจ้าคุณดำรงแพทยาคุณเป็นประธาน ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๖ ในเวลา ๑๐.๐๐ น. ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะมีเจ้าหน้าที่คอยพบท่านอยู่ที่ประตูวิมานไชยศรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์อยากจะให้มีผู้ชำนาญทางชันสูตร Expert Armourer อาจเป็นชาวอังกฤษ หรืออเมริกันก็ได้ เพื่อตรวจพระวรกายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จะทรงพอพระราชหฤทัยมาก ถ้าหากท่านจะสามารถนำผู้เชี่ยวชาญในการชันสูตรร่วมมากับท่านด้วย กรรมการสอบสวนฯหวังในความร่วมมือของท่านและขอบคุณมาล่วงหน้าด้วย”

คำวินิจฉัยของคณะแพทย์ 

 

“คณะกรรมการมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบรมโกศเสด็จสวรรคต โดยถูกลูกปืนเข้าทางพระนลาตและออกทางด้านหลังช่องพระกะโหลก

และมีความเห็นเป็นเอกฉันท์จากผลของการทดลองยิงศพว่า ปากของกระบอกลูกปืนจะอยู่ไม่เกิน ๕ ซม. ห่างจากพระนลาต

ส่วนใหญ่ของกรรมการมีความรู้สึกว่าสาเหตุ ๓ ประการของการสวรรคตนั้น การถูกลอบปลงพระชนม์อาจเป็นสาเหตุได้มากที่สุด และอาจมากกว่าอีก ๒ กรณีคือปลงพระชนม์เองและอุบัติเหตุ และอุบัติเหตุเป็นไปได้น้อยที่สุด

ผลของการโหวตของคณะกรรมการมี ๑๖ คะแนนว่าการถูกลอบปลงพระชนม์อาจเป็นสาเหตุ ๔ คะแนนให้การปลงพระชนม์เอง ๒ คะแนนเป็นอุบัติเหตุ การที่มีคะแนนมากกว่าจำนวนกรรมการก็เนื่องจากกรรมการบางคนให้สาเหตุในการสวรรคตเป็น ๒ ประการมีน้ำหนักเท่าเทียมกัน

พันเอกไดร์เบิร์ก พันโทรีส ร้อยเอกคุปต้า ไม่แสดงความเห็นอย่างไรเลย ว่าสาเหตุของการเสด็จสวรรคตมีประการใดใน ๓ ประการนี้ คือถูกลอบปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เองและอุบัติเหตุ

ทั้งนี้เป็นไปตามจดหมายที่แพทย์ชาวอังกฤษได้รับเชิญมา กล่าวคือมาทำหน้าที่แต่เพียงกรรมการช่วยชันสูตรพระบรมศพ

ทั้ง ๓ คนมีความรู้สึกว่า เขาอาจให้ความเห็นในทางการแพทย์ได้ แต่เห็นว่าไม่เป็นการฉลาดอย่างยิ่งที่จะออกความเห็น”

อ้างอิงจาก : “เมื่อข้าพเจ้าไปเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคต, ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร”  ท่านบอกว่าเก็บข้อมูลไว้ในเซฟอย่างดี ท่านไม่ต้องการเผยแพร่ในขณะที่ปรีดีฯ ยังมีชีวิตอยู่ เพราะเหตุผลด้านกฎหมาย ดังนั้น หลังจากที่ปรีดีฯ ตายในปี ๒๕๒๖ ท่านเลยได้ทำการพิมพ์บันทึกนี้ของท่านออกมา

แต่มีนายแพทย์ท่านหนึ่งที่ได้ร่วมชันสูตรศพในครั้งนั้น คือศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ที่ถูกนายปรีดี พนมยงค์ เรียกเข้าพบเพื่อคุยเป็นการส่วนตัว เหมือนกับคนอื่นๆในคณะ … ในการพูดคุยระหว่างนายแพทย์ชุบ โชติกเสถียร และนายปรีดี พนมยงค์ ก็เหมือนกับการพูดคุยกับคณะแพทย์ชันสูตรศพท่านอื่นๆ เพื่อเป็นการร้องขอให้เปลี่ยนผลการชันสูตร จากลอบปลงพระชนม์ เป็นอุบัติเหตุปืนลั่นหรือปลงพระชนม์เอง … ซึ่งก่อนหน้านั้น ทางกรมตำรวจและรัฐบาล ได้ร่วมกันออกแถลงต่อประชาชน การสวรรคตของรัชกาลที่๘ “เป็นอุบัติเหตุปืนลั่น” ซึ่งขัดแย้งกับผลพิสูจน์ ที่ได้ทดลองที่โรงพยาบาลศิริราช ถึง ๓ รอบ … ดังนั้น การออกแถลงการของรัฐบาล ที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้แถลง จึงมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนเป็นวงกว้าง …

นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้ยื่นข้อเสนอให้ ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร จะตอบแทนด้วยรางวัลก้อนใหญ่เหมือนคนอื่นๆที่เรียกมาพบ ด้วยเงินก้อนโตที่วางอยู่ตรงหน้า เมื่อครั้งเห็นท่าทีลังเล ดังนั้นนายปรีดี พนมยงค์ จึงได้ยื่นข้อเสนอให้ใหม่ โดยได้บอกกับนายแพทย์ชุบ ว่า

“หากไม่พอใจกับเงินที่วางอยู่ตรงหน้า พรุ่งนี้ ให้นำเอากระเป๋าใบโตมาสองใบ จะเปิดคลังหลวงให้เข้าไปเอาออกมาอย่างเต็มที่จนเป็นที่พอใจ แต่ขอให้เปลี่ยนคำให้การในศาลให้เป็นอุบัติเหตุเท่านั้น”

… แม้จะเสนอรางวัลก้อนโตอย่างงาม แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร แต่ประการใด …

ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ท่านเคยได้ทุนเจ้าฟ้าฯเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี มีพี่น้องคือ
๑. หลวงประเสริฐไมตรี โชติกเสถียร
๒. พลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร สมุหราชองครักษ์-องคมนตรี
๓. ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร
๔. ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน เป็นบุตรของ ทูตพระสัมผกิจปรีชา โชติกเสถียร และคุณหญิงฉลวย โชติกเสถียร ซึ่งพลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร คือ สมุหราชองครักษ์ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็น “องคมนตรี”โดยได้รับใช้ดูแลในหลวงรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ พระพี่นางฯ สมเด็จย่า มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กในประเทศไทยตอนยังไม่ได้ครองราชบัลลังก์ ก่อนเสด็จฯไปประเทศสวิส ทำให้ ตระกูล “โชติกเสถียร” มีความใกล้ชิดและจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีเป็นอย่างมาก…

ดังนั้น… การขึ้นให้ปากต่อศาล จึงไม่ได้เป็นไปตามความประสงค์่ของนายปรีดี พนมยงค์ในขณะนั้นไม่ ตลอดเวลาก่อนให้ปากคำ ท่านได้ถูกคุกคามจากภัยมืด ได้มี”เก๋งดำ” ติดตามและจอดหน้าบ้านของท่านในกลางคืน จนท่านเองต้องหาทหารพร้อมอาวุธ มาเฝ้าที่บ้านเพื่อความปลอดภัยตลอดเวลา …

สื่อมวลชนในสมัยนั้น ได้ให้ฉายาท่าน ว่า “หมอสปัสซั่ม” กับ ศ.น.พ.ชุบ เพราะคำให้การที่อธิบายถึงคนที่จะยิงตัวตายได้ จะต้องมีอาการเกร็ง หรือ “สปัสซั่ม(Spasm)” แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ไม่มีพระอาการดังกล่าว นั่นยิ่งแน่ชัดว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ … คำให้การของท่านจึงมีน้ำหนัก จนศาลเชื่อได้ว่า “เป็นการถูกลอบปลงประชนม์” …

ในขณะที่ขึ้นให้ปากคำต่อศาล นายปรีดี พนมยงค์ ได้อยู่ในศาลตลอดเวลา แต่ไม่ได้อยู่ในห้องพิจารณาคดี แต่ได้หลบอยู่ข้างหลัง ซึ่งในครั้งนั้น ก็ได้มีภรรยาของ “ร.อ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช” อยู่บนศาลด้วย จึงเป็นที่มาของการข่มขู่ผู้ที่ทุกคนคาดว่า”น่าจะเป็นมือปืนผู้ลั่นไก” ลอบปลงพระชนม์ … ซึ่ง ร.อ.วัชรชัย คือคนสนิทของนายปรีดี พนมยงค์นั่นเอง แล้วต่อมา ก็ได้เดินทางหลบหนีออกนอกประเทศกับนายปรีดี พนมยงค์ไปยังประเทศจีน และยังได้ร่วมกันก่อการกบฎในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง แต่ไม่เคยสำเร็จ ล้มเหลวทุกครั้ง …

นี่จึงเป็นบทพิสูจน์บทหนึ่งว่า… นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้มีส่วนรู้เห็นในการที่ ร.๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ถูกลอบปลงพระชนม์ … แล้วจัดฉากโยนบาปให้กับผู้ใกล้ชิดของพระองค์จนมัวหมอง บ้างก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต … จึงเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ทั้งสองพระองค์ถูกนายปรีดี กระทำย่ำยีในขณะนั้น …

 
ในหลวงภูมิพลฯ  พระราชทานสัมภาษณ์ BBC เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ของร.๘
ถึงความพยายามบิดเบือนรูปคดีของผู้มีอำนาจในสมัยนั้น