วันพุธ 15 มกราคม 2025
  • :
  • :
Latest Update

อินโดนีเซียประณามสหรัฐรับรองสถานะกรุงเยรูซาเลม


อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดของโลกประณามการที่สหรัฐรับรองสถานะกรุงเยรูซาเลมเป็น “เมืองหลวง” ของอิสราเอล ด้านตุรกีกล่าวว่ารัฐบาลวอชิงตันฉีกสนธิสัญญาสันติภาพฉบับปี 2536 และละเมิดมติยูเอ็นฉบับปี 2523

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ว่าประธานาธิบดีโจโก วิโดโด กล่าวว่าอินโดนีเซียของประณามอย่างหนัก ต่อการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศรับรองให้กรุงเยรูซาเลมมีสถานะเป็น “เมืองหลวงอย่างเป็นทางการ” ของอิสราเอล และเตรียมย้ายสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐจากกรุงเทลอาวีฟไปยังกรุงเยรูซาเลม ว่าจะสร้างแรงกระเพื่อมครั้งเลวร้ายต่อเสถียรภาพและความมั่นคงบนโลกในภาพรวม รัฐบาลจาการ์ตาขอเรียกร้องให้รัฐบาลทรัมป์ทบทวนการตัดสินใจดังกล่าว
ด้านนางเรตโน มาร์ซูดี รมว.กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่ารัฐบาลจาการ์ตามีจุดยืนเคียงข้างปาเลสไตน์ และสหรัฐในฐานะประเทศผู้นำแห่งโลกเสรีควรตระหนักถึง “ความหมายแท้จริงของคำว่าประชาธิปไตย” โดยท่าทีของอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดของโลก มีขึ้นในเวลาเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ผู้นำมาเลเซีย กล่าวถึงสถานการณ์นี้เช่นกัน ว่าเป็นเรื่องที่ไม่อาจรับได้ และเรียกร้องให้ประชาคมอาหรับรวมพลังกันต่อต้านสหรัฐและอิสราเอลในเรื่องนี้ อีกทั้งมีรายงานด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศในกรุงจาการ์ตาเชิญเอกอัครราชทูตสหรัฐเข้าพบเพื่อ “แสดงความวิตกกังวล” ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะที่กระแสต่อต้านจากประชาคมโลกโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศมุสลิมหรือโลกอาหรับยังคงมีออกมาอย่างไม่ขาดสาย โดยประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ผู้นำตุรกี กล่าวว่าการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาลวอชิงตันละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) หมายเลข 465 ลงวันที่ 1 มี.ค. 2523 เกี่ยวกับอาณาเขตของ “รัฐอาหรับที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี 2510” ที่หมายถึงเขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา ฝั่งตะวันออกของกรุงเยรูซาเลมที่เป็นเขตเมืองเก่า และที่ราบสูงโกลัน โดยสาระสำคัญของมติคือการประณามโครงการขยายอาณาเขตนิคมยิวในเมืองเฮบรอนของเขตเวสต์แบงก์ และเรียกร้องไม่ให้รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) มอบความสนับสนุนแก่อิสราเอล ในการขยายอาณาเขตรุกล้ำพื้นที่  “รัฐอาหรับ”

 

นอกจากนี้ ผู้นำตุรกีกล่าวด้วยว่า ท่าทีของสหรัฐยังขัดต่อข้อตกลงสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ฉบับปี 2536 ที่ระบุให้สถานะของกรุงเยรูซาเลมต้องมาจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เท่านั้นด้วย….