วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” “อรุณเทพบุตร” และ “เทพีรัฐธรรมนูญ” เทพองค์ใหม่ใน “ศิลปะคณะราษฎร”

ภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ “ประชาธิปไตย” แต่ก่อนที่ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญ ฉบับแรก หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่า ประเทศไทยเคยอยู่ระบบ เผด็จการเบ็ดเสร็จโดยคณะราษฎร ในระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)  อยู่ช่วงเวลาหนึ่งสั้นๆ ก่อนที่จะ ประกาศ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 โดย  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7)ทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว” สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น

แม้ว่า “การปฎิวัติ”พุทธศักราช 2475 โดยเนื้อในบางส่วนแล้วเป็นการดึงอำนาจออกมาจากพระมหากษัตริย์ให้ มาอยู่ในมือของกลุ่ม”คณะราษฎร” โดยสัญญาว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่ให้ความเสมอภาคกับทุกฝ่าย แต่ในทางปฎิบัติแล้วทิศทางของ”คณะราษฎร” เป็นมากกว่า การเรียกร้อง”ประชาธิปไตย” แต่เป็น”การปฎิวัติวัฒนธรรม”สุดโต่งที่ขุดทำลายประวัติศาสตร์ในอดีตเสีย แล้วสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมา ซ้อนทับ จารีตเดิมให้ผู้คนได้กราบไหว้ สิ่งใหม่ในนามสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ตลอดหลายปีในการปกครองของคณะราษฎร มีการทำลายสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมหลายอย่างที่ยึดโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์และเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ-พราหมณ์ แล้วทดแทนด้วยอาคารตาม”สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” หรือที่เรียก “สถาปัตยกรรมเครื่องคอนกรีต” ที่ประกอบด้วย ลักษณะเรียบลดทอนลวดลายไทย มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมไม่มีหลังคาสะท้อนให้เห็นความ ไม่มีฐานานุศักดิ์  สื่อความหมายในเรื่องความเสมอภาค และความเป็นสามัญชน เช่น

– การรื้อถอนพระราชวังวินเซอร์ (วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ) มาสร้าง สนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย โดยใช้ชื่อของ หลวงศุภชลาศัย หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

– การรื้อถอน ศาลสนามสถิตยุติธรรม ริมสนามหลวง อันเป็น สัญลักษณ์การเฉลิมฉลอง 100 ปี ราชวงศ์จักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5)ได้เสด็จพระราชดําเนิน มาทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตยุติธรรม ซึ่ง ถือ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบราชการศาลยุติธรรม และเป็น อาคารที่มีหอนาฬิกาแห่งแรกๆ ของสยาม (หอนาฬิกาอีกสองแห่ง คือหอนาฬิกาคองโคเดีย ณ บริเวณวังหน้า และ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย ภายในพระบรมหาราชวัง ) แต่ภายหลัง พ.ศ.2475ก็ถูกทุบและสร้างใหม่ เป็น อาคาร ศาลฎีกา ตาม”สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” (ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว)

– ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร ที่ยังเหลืออยู่ : เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การทำงานด้านการบริหารส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็น อาคาร ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งแรกถูกสร้างขึ้นในยุค คณะราษฎรจึงถือเป็นตัวอย่างสำคัญของ สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน

– ที่ทำการคณะราษฎร: ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน แต่สวนสราญรมย์ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่หนึ่งของคณะราษฎร สวนสราญรมย์เดิมเป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของ สมาคมคณะราษฎร์สราญรมย์ มีการจัดงานรื่นเริงตามแบบอย่างตะวันตก  เช่น การจัดประกวดเทพีรัฐธรรมนูญ(นางสาวสยาม) รวมทั้งงานฉลองรัฐธรรมนูญ สร้างความนิยมวัฒนธรรมใหม่

เพิ่มเติม* สัญลักษณ์ สมาคมคณะราษฎร์ : สมาคมที่ถูกจัดตั้งทั่วประเทศเพื่อรองรับการประชาสังคมเกี่ยวกับธรรมนูญของประเทศและประชาธิปไตย แต่ในภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475ไปไม่นาน สมาคมคณะราษฎร์ ก็ต้อง จบสิ้น เนื่อง นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้นำ คณะราษฎรได้ เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง)ขึ้น ซึ่งถูก คณะราษฎรด้วยกันต่อต้าน จึงส่งผลให้สมาคมคณะราษฎร์ถูกมองว่าเป็นสมาคมที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นพรรคการเมืองเดี่ยวหลังมีรัฐธรรมนูญ จึงถูกเข้าใจว่า สมาคมคณะราษฎร์เป็นรากฐานของระบบคอมมูนนิสพรรคเดียว
(หากโลกใบนี้มีคอมมิวนิสฆ้อนเคียวและรวงข้าว ของประเทศไทยก็คงจะมี สมอ-คันไถ- และรวงข้าว เช่นกัน)
 ในภายหลัง สมาคมคณะราษฎร์ จึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรคณะราษฎร์ ซึ่งทำหน้าที่ สนับสนุนให้ราษฎรมีความเข้าใจในระบอบการเมืองใหม่โดยทำกิจกรรมของสมาคมเอง นอกจากนี้ยังมีการจัดงานมหรสพ งานฤดูหนาว งานแสดงละคร รวมไปถึงการจัดร้านขายของในวันฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่คณะราษฏรได้ก่อนสร้างด้วย “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” ซึ่งยังมีสถานที่อีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ เช่น
* – อนุสาวรีย์เทอดรัฐธรรมนูญ จังหวัดมหาสารคาม (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบุรีรัมย์ ในพื้นที่ของศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ (ยังอยู่)
* – อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด สุรินทร์ (ยังอยู่)
* – วงเวียนรัฐธรรมนูญ จังหวัด สุรินทร์ (ถูกรื้อ)
* – วงเวียนรัฐธรรมนูญ ที่จังหวัดขอนแก่น (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญที่จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณบึงพลาญชัย (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ จังหวัดภูเขียวมา (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ) (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบริเวณ ราชดำเนิน (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์พิทักษ์ประชาธิปไตย (ปราบกบฎบวรเดช)บริเวณ หลักสี่ (ยังอยู่)
* – หมุดคณะราษฎร บริเวณพระลานด้านหน้าพระราชวังดุสิต (สาบสูญ)
* – สถาบันปรีดี พนมยงค์ บริเวณ   สุขุมวิท 55 (ยังอยู่)
* – วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน (ยังอยู่)

นอกเหนือจาก งาน “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร”ที่ถูกแสดงออกมาผ่าน สิ่งปลูกสร้างที่ถูกเนรมิตในช่วงปี พ.ศ. 2475 – 2488 แล้ว การปฎิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎร ยังถูกแสดงออกมาผ่าน สิ่งของที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่และการบังคับใช้ เช่น

รูปภาพ 1 จากภาพยนตร์ โหมโรงที่สะท้อนการบังคับใช้กฏหมายของคณะราษฎร

* – เรื่องคณะราษฎร ปฎิเสธ ดนตรีไทย: สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นก็คือการปฎิวัติวัฒนธรรม ซึ่งคณะราษฎรมองว่า วัฒนธรรมของไทยนั้น มีความล้าสมัยไม่ได้ใช้กฏเกณมาตรฐานเดียวกับประเทศตะวันตก
โดยเฉพาะ “ดนตรีไทย” จึงออก “พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับการบรรเลงดนตรี การขับร้อง และการพากย์ พุทธศักราช 2486 “เพื่อควบคุมคุณภาพของดนตรี ให้เป็นที่ยอมรับของตะวันตก เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการอ่านโน้ตดนตรีไทยเป็นแบบตะวันตก ซึ่งต่อมาก็มีการออกระเบียบการว่าด้วยการขออนุญาตและควบคุมการรรเลงดนตรีโดยเอกเทศการขับร้องและการพากย์ ซึ่งข้อกำหนดหลายข้อส่งผลกระทบต่อการบรรเลงดนตรีไทย เนื่องจากไม่สามารถเล่นได้อย่างเสรี และยังไม่สามารถเล่นดนตรีไทยแบบ”improvise”(เล่นแบบดวลสด) และ ต้องขออนุญาตล่วงหน้าเพื่อให้ตรวจสอบโน้ตก่อนเล่น ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว การแสดงออกของ คณะราษฎรที่ขึงขังต่อกฏหมาย ถูกมองว่าเป็นการทำให้ดนตรีไทยนั้นตายลงด้วยการทำให้ วัฒนธรรมไทยเดิมสะดุดและหยุดนิ่งลง ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกถูกนำมาใช้ทดแทนในสังคมตามกฏหมาย

“ศิลปะของคณะราษฎร” ยังถูกประดิษฐ์และแสดงออกมาเพิ่มตามรสนิยมของผู้นำในสมัยนั้น เช่น

* – การรำโทนสมัย จอมพลป. พิบูสงครามที่ได้รับอิทธิพลจากเครื่องดนตรีตะวันตก , อาหารจานเส้นอย่างผัดไทยที่ถูประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่น และมีการบังคับใช้กฏหมายให้ประชาชนแต่งกายที่มีลักษณะแบบอย่างคล้ายตะวันตก ตามนโยบาย “มาลานำไทย” เป็นต้น

ยังมีการปฎิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎรอีกอย่างที่หลายคนอาจไม่ทราบ คือประดิษฐ์อักษร “พิมพ์ตัวเหลี่ยม” เข้า “รับราชการ”

* – ท่านทราบหรือไม่? ว่า ราชการไทยในปัจจุบันนั้นมีการบังคับใช้อักษร(ฟอนต์)มาตรฐานในการจัดการเอกสารทางราชการบนความพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีฟอนต์ที่ให้ใช้หลายแบบ เช่น ตระกูล ฟอนต์ไทยสารบรรณ “TH Sarabun IT๙” และ  ฟอนต์: TH Niramit AS เป็นต้น แต่ในสมัย พ.ศ.2475 นั้น มีการประดิษฐ์อักษรสำหรับกิจการการพิมพ์ของรัฐ ขึ้นมาทนแทนของเดิม นั้นก็คือ “ตัวเหลี่ยม” โดยมีลักษณะ มีเหลี่ยมมุมอ้างอิงตาม “ศิลปะแบบคณะราษฎร” และมีการ ตัดพยัญชนะออก 13 ตัว ในการสะกดคำใหม่อีกทั้ง ตัดคำที่ได้อิทธิพลจากภาษาบาลี-สันสกฤตซึ่งเท่ากับเป็นการปฎิเสธคำราชาศัพท์ไปโดยปริยายอีกด้วยนะครับ

หากจะว่าสิ่งที่กล่าวไปในชั้นต้นนั้น เป็นแก่นแท้ของ “ศิลปะคณะราษฎร”ก็จะสรุปได้เร็วเกินไป เพราะในปัจจุบัน มีนักศึกษาประวัติศาสตร์รุ่นเยาวมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ “ศิลปะแบบคณะราษฎร” โดยมองว่า เป็น ศิลปะที่ต่อต้าน “เทวนิยม” ซึ่งนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปพอสมควร เพียงแต่ทว่า “เทวนิยมในศิลปะคณะราษฎร” นั้นไม่ยึดโยงกับ “สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย” นั้นเอง เช่น

“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา”

รูปภาพ 2 “เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์พระยาพหลพลพยุหเสนา ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน ต.เขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี

“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” นี้ เดิมทีมีชื่อเรียกว่า “อิศวรปางปราบอสุรตรีปูรำ เทิดรัฐธรรมนูญสยามรัฐ” โดยมีลักษณะ คล้ายพระอิศวร(เทพเจ้าสูงสุดตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ) มือขวาถือพานรัฐธรรมนูญ มือซ้ายถือคันธนู บนบ่าด้านซ้ายมีรูปปั้นคนขนาดเล็กเกาะอยู่ ใบหน้าของเทวรูปใช้ใบหน้าของพระยาพหลฯ เป็นต้นแบบในการแกะสลัก สูง 60 เซนติเมตร ทำจากหินทราย

นายซุ่นฮะ ตวลพรรณ์ ผู้แกะสลัก ที่มีความศรัทธาต่อการ “ปฏิวัติ 2475” จึงแกะสลักเพื่อเป็นของที่ระลึกมอบให้แก่พระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2476

รูปแบบการสร้างเทวรูปนี้เปรียบได้กับการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้กลายเป็นเทพ (apotheosis) ผู้สร้างได้ใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเชื่อที่ว่าผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือผู้นำของประเทศนั้นคือผู้ที่มีอำนาจมากราวเทพเจ้าสูงสุด

แม่ว่า“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” จะไมได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางการเมืองใน”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” สมัยคณะราษฎร แต่ก็สามารถบอกตัวตนของคณะราษฎรในความเข้าใจของประชาชนในสมัยนั้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการ “บูชารัฐธรรมนูญ”ที่ผูกไว้กับผู้นำคณะราษฎร

“อรุณเทพบุตร” สัญลักษณ์ใหม่ใน “ศิลปะคณะราษฎร”

อย่างที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของบทความนี้ “ศิลปกรรม -สถาปัตยกรรม ของคณะราษฎร ”นั้นมี ความพยายาม อย่างมากในการกำหนดรูปแบบให้สะท้อนความหมายเชิงสัญลักษณ์  โดยหันมาสร้างอาคารคอนกรีตแบบเรียบ ไม่มีลายไทย หรือน้อยมาก และมีลักษณะเหลียมมุมซึ่งสะท้อนความหมายในเรื่องความเสมอภาค และความเป็นสามัญชน

และแน่นอนว่าเมื่อ คณะราษฎร ต้องการสร้างวัฒนธรรมชาติใหม่ จึงต้องนำเอา “ศิลปะคณะราษฎร” เข้าไป ผนวกในงาน สถาปัตยกรรมในศาสนสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น วัด และ อนุสาวรีย์ เป็นต้น

ในกรณีของวัด โดยปรกติแล้ว หน้าบันของวัดในสยามประเทศนั้น จะปรากฏรูป พระนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นต้น ซึ่งเทพเหล่านี้ มีลักษระ ยึดโยงกับ พระมหากษัตริย์อันเป็นองค์สมมุติเทพตามจารีตประเพณีโบราณ “ศิลปะคณะราษฎร”จึงนำเอา ลวดลายแบบใหม่มาแสดงบนหน้าบันของวัด  เช่น  “ลายอรุณเทพบุตร” เป็นต้น

รูปภาพ: ลาย “อรุณเทพบุตร” บนหน้าบันโบสถ์มาตรฐาน “แบบ ก.” ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483 โดยพระพรหมพิจิตร ผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร

อรุณเทพบุตรคืออะไร? อรุณเทพบุตร คือเทพในตำนานฮินดู เป็นสารถี(ผู้ขับรถ)ให้กับพระอาทิตย์ โดยได้รับการออกแบบให้ถือแพนหางนกยูง มีร่างกายเพียงครึ่ง อันเป็นสัญลักษณ์ของสารถี อยู่ในมือทั้งสองข้าง

มีการตั้งสมมุติฐานจากนักวิชาการได้ว่า อรุณเทพบุตรมีความหมายที่สื่อถึง  “แสงสว่างแรกขึ้นของไทยในยุคใหม่” หรือ “รุ่งอรุณใหม่ของชาติในระบอบประชาธิปไตย”ตามความหมายของคำว่าอรุณ ซึ่งแปลว่า “แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น”

รูปภาพ: ปัจจุบัน สามารถหา สถานที่ สำคัญที่มี “อรุณเทพบุตร” ปรากฏอยู่ คือที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน อันเป็นสถานที่สำคัญของ คณะราษฎรรูปภาพ: ปัจจุบัน สามารถหา สถานที่ สำคัญที่มี “อรุณเทพบุตร” ปรากฏอยู่ คือที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน อันเป็นสถานที่สำคัญของ คณะราษฎร

รูปภาพ: “อรุณเทพบุตร” ปรากฏเหนือประตูของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

“เทพีรัฐธรรมนูญ”

หากจะพูดว่านี่คือสัญลักษณ์ ใน”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” ก็ไม่ผิดแปลกนัก เพราะ คณะราษฎรภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นาน กำลังต้องการสร้างอัตลักษณ์ที่นำอำนาจผู้โยงกับตนเองให้ได้มาก การ สร้าง “ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”จึงจำเป็นต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อ เสริมความชอบธรรมให้กับคณะปฎิวัติ 2475 ในทางอัตลักษณ์

“ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเทวนิยม เพื่อให้รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรที่ร่างไว้แต่งเพียงฝ่ายเดียวนั้น ดูเป็นสิ่งที่มาจากสวรรต์และทรงพลังเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์

มีการจัด มีขบวนแห่ พานรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน(วันปฎิวัติ) เพื่อยกยอให้ รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งวิเศษน่ากราบไหว้

มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น การสร้าง เทพีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเทพที่ มีลักษณ์เป็น ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว ซึ่งผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศีลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
ซึ่งหาก สังเกตให้ดีแนวทางการสื่อสารของ เทพีรัฐธรรมนูญ จะมีความละม้ายคล้าย เทพีแห่งเสรีภาพ ของสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เช่นกัน

ต่อมาสมาคมคณะราษฎร ได้นำเอา เทพีรัฐธรรมนูญ มาใช้ในการสื่อสารกิจกรรม ของ คณะราษฎร เช่นการประกวด เทพีรัฐธรรมนูญ – นางงามรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน ที่ พระราชวังสราญรมย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สมาคมคณะราษฎรในเวลานั้น เพื่อยกย่อง “ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”เป็นสิ่งสูงสุด

เรื่องของ “สถาปัตยกรรม – ศิลปกรรมแบบคณะราษฎร” ยังไมได้หมดเพียงแค่นี้ เพราะ การที่ทำให้”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” เป็นสิ่งสูงสุดนั้น ของ “สถาปัตยกรรม – ศิลปกรรมแบบคณะราษฎร” นั้จะต้องไปปรากฏ อยู่ในศาสนสถานทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เคารพบูชา อีกด้วย เช่น

“วัดทาคก” อุโบสถแบบฝรั่งเศส และมีภาพรัฐธรรมนูญบนเพดานอุโบสถ อ.เชียงคาน จ.เลย (ยังอยู่)

เทพีรัฐธรรมนูญ หน้าบัน วัดเชิงท่า อำเภอเมืองจังหวัด ลพบุรี

พานแว่นฟ้า รัฐธรรมนูญ หน้าบัน วัดสะเทียนทอง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ซุ้มประตู รัฐธรรมนูญวัดศรีชมชื่น ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

รัฐธรรมนูญและดาวเพดานวิหารหลวง วัดนากว้าว(ป่าตัน) อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

หน้าบัน วัดปงหอศาล ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

หน้าบัน วัดอุโมงค์อารยมณฑล ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่

ภาพเขียนพานรัฐธรรมนูญ ปี 82 บริเวณคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง

หน้าบัน วิหารหลวง วัดล้อมแรด อ.เถินจ.ลำปาง

ส่วน  “วัดแคนอก” แม้ไม่ได้มี “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร”ปรากฎให้เห็น แต่ก็เป็น “สถานที่วางแผนของคณะราษฎรในอดีต”,”ที่วางอัฐิของผู้ก่อการ” และที่ตั้งโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง แห่งแรก