ช่วงต้นปี 2561 มีการถกเถียงอย่างมาก เกี่ยวกับ บทบาทของ”บอท” โปรแกรมอัตโนมัติแบบหนึ่งที่ซึ่งปรากฏอยู่ในปัญหาทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา กรณี ที่ โปรแกรมอัตโนมัติ ดังกล่าวนี้ปรากฏเป็นตัวการสำคัญในการกระจายข่าวเท็จเกี่ยวกับ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ผู้นำสหรัฐอเมริกา ตลอดช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งการปล่อยข่าวปลอมใน อินเตอร์เน็ต ถูกพัฒนาเริ่มต้นจากการปล่อยในโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง facebook จนทำให้ทางรัฐบาลสหรัฐฯจำเป็นต้องตั้งข้อสงสัย ต่อ นาย มารค์ ซักเกอร์เบิร์ค ประธานผู้บริหาร โซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ว่ามีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการปล่อยข่าวเท็จ หรือไม่? ทั้งนี้มีการกล่าวอ้างว่าข่าวปลอมหลายส่วนที่ปรากฏใน facebook ช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นมาจาก “บอท” โปรแกรมอัตโนมัติที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน
แต่ในกระแสการเมืองในสหรัฐอเมริกานั้น กลับมี”เสียงแตก”ออกเป็นสองฝ่าย คือ เชื่อว่า “บอท” โปรแกรมอัตโนมัติ อาจมาจาก ฝ่ายรัฐบาลรัสเซีย เพราะเชื่อว่ามีเจตนาเข้าแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา … แต่ อีกฝ่ายกลับมองว่า เป็น พรรคฝ่ายค้าน หรือ นายทุนยิว อย่าง จอร์จ โซรอส เป็นต้น
ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี โปรแกรมอัตโนมัติ อย่าง “บอท”ที่ถูกใช้ในการปล่อยข่าวลือนั้นเริ่มมีการปรับตัว โดย หันไปใช้ ระบบ Twitter ในการกระจายข่าวลือที่กระทบรัฐบาลสหรัฐและ รัฐบาลทั่วโลกสูงขึ้น เนื่องจาก นาย มารค์ ซักเกอร์เบิร์ค ประธานผู้บริหาร โซเชียลมีเดีย อย่างFacebook มีความต้องการที่จะแก้ไขกระแสข่าวลือในระบบFacebook ของตนเองด้วยหลากหลายวิธีเช่นการ เปิดเผยแหล่งเงินทุนของผู้ให้โฆษณาข่าวการเมืองใน Facebook หรือ การเปิดรายชื่อไอดีปลอมบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ปัจจุบันการเคลื่อนไหวของข่าวลือข่าวเท็จ ถูกพัฒนาต่อเนื่องทำให้ ระบบ Twitter กลายเป็นระบบที่มีการนำ”บอท” โปรแกรมอัตโนมัติมาใช้ทดแทนในการปล่อยข่าวลือมากขึ้น เพราะมีโอกาสเสี่ยงในการถูกจับกุมน้อยกว่า และ ข้อจำกัดของ ระบบ Twitter เช่น การไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้ไอดีที่ชัดเจนนั้นเอื้อให้นายทุนบางกลุ่มใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดดังกล่าวในการกระจายข้อมูลเท็จได้ ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกใช้ไปมากกว่าแค่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ถูกใช้ในอีกหลากหลายประเทศ รวบถึงประเทศไทยอีกด้วย
ส่วนจุดประสงค์ในการเคลื่อนไหวของข่าวปลอมนั้น ในปัจจุบันนอกเหนือจากการดิสเครดิตผู้นำประเทศ แล้วยังรวมไปถึงการสร้างกระแสความขัดแย้งด้านความเชื่อทางศาสนา ความเกลียดชังในสังคม การเหยียดเชื้อชาติ รวมไปถึงก่อเหตุประท้วง เพื่อเรื่องร้องสิทธิบางอย่าง เป็นต้น
ทั้งนี้ บอท (อังกฤษ: bot) หรือ อินเทอร์เน็ตบอท (อังกฤษ: Internet bot) คือโปรแกรมอัตโนมัติสำหรับทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งบอทย่อมาจากคำว่าโรบอท (robot) แปลว่าหุ่นยนต์
บอทที่นิยมใช้ในอินเทอร์เน็ต สำหรับการเก็บข้อมูลจากเว็บเพจ เรียก เว็บครอว์เลอร์ (web crawler) หรือ สไปเดอร์ (spider) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของเว็บนั้นมาทำการวิเคราะห์ เช่น กูเกิลบอท(GoogleBot) เก็บข้อมูลจากเว็บต่างๆ แล้วมาทำดัชนีของเว็บเพื่อใช้ในเสิร์ชเอนจิน เป็นต้น
ปัจจุบันมีการใช้ บอทในหน้าที่ในความหลากหลายหน้าที่เพิ่มขึ้น เช่นการช่วยกระจายข้อมูลข่าวสาร หรือแม้แต่คอมเม้นต์ตอบโต้กับมนุษย์ อินเตอร์เน็ต
ในกรณีนี้ นายแอนโทนี คาตาลัคซี นักค้นคว้าวิจัยทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวสหรัฐฯได้เปิดเผยถึงการใช้ “บอท ” จำนวนหนึ่งในการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย ผ่านเครือข่าย twitter โดยมีการสรุปไว้ดังนี้
- มีการตรวจพบ บอท จำนวนหลายร้อยแอคเคานท์ ผ่านเครือข่าย twitter ซึ่งส่วนใหญ่ถูกสร้างในปี2017 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนอเมริกา,โกลเบิลลิส,ฝ่ายนิยมทักษิณ เป็นต้น
- ทั้งนี้ ในจำนวนหลายร้อยแอคเคานท์ ส่วนใหญ่จะโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับK-Popซึ่งเป็นการอำพราง ทำให้ดูเหมือน เยาวชนไทยที่กำลังนิยมดาราเกาหลี
- ตลอดทั้งเดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะรีทวีตเรื่องก็ตาม ก็จะลงท้ายแฮ๊ชแท็กว่า #freedomofspeechTH#THwantElection#กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง
- แอคเคานท์ใช้ชื่อแบบRandomรหัส (automated screen names) หมายความว่าแอ๊คเคานท์พวกนี้คือBOT
- ส่วนแอคเคานท์ที่เหลือน่าจะเป็นแอคเคานท์ที่ตั้งใจสร้างขึ้น โดยคนหนึ่งควบคุมหลายแอคเคานท์
- แอคเคานท์ส่วนใหญ่จะไม่โต้ตอบกลับด้วยคำพูดเหมือนมนุษย์ แต่จะรีทวีตกลับแบบอัติโนมัติ (automated or semi-automated behavior) และน่าจะเป็นการรีทวีตด้วยแฮ๊ชแท็กตามแบบข้อ5.
- เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สื่อตะวันตก (The Western media; BBC, Reuters, CNN, AFP, AP, FCCT) เขียนข่าวในทำนองว่า กองทัพBOTในอินเตอร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพวกสื่อตะวันตกคิดว่าจีนน่าจะเกี่ยวข้องกับBOTพวกนี้
- แต่ตอนนี้มันก็ชัดเจนแล้วว่า BOTพวกนี้มีวัตถุประสงค์ในการปั่นกระแสการเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับว่าบอทพวกนี้สนับสนุนฝ่ายตะวันตก จึงเป็นเหตุให้สื่อตะวันตกไม่พูดถึงบอท พวกนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับทวีตเตอร์แอคเคานท์ปลอมของฝ่าย”Pro-Democracy”
- แอคเคานท์ปลอมพวกนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม ปี2018
- แอคเคานท์ปลอมทั้งหมดนี้ จะติดตาม(Follow)ทวีตเตอร์ของTanawat Wongchai หรือก็คือประธานสภานิสิตจุฬาฯคนปัจจุบัน(เป็นจุดสังเกตที่ ‘แอนโทนี คาตาลัคซี’ ระบุไว้)
- เวลาแอคเคานท์ปลอมพวกนี้จะรีทวีตอะไรก็ตาม จะปิดท้ายด้วยแฮ๊ชแท็ก #THwantElection
- แอคเคานท์ปลอมพวกนี้มักจะใส่คำว่า “Want Thai Election” ในรูปภาพหรือในสโลแกน
- เป็นที่ชัดเจนว่า ชื่อIDของแอคเคานท์พวกนี้ได้มาจากการสุ่มรหัสโค้ด (automated Twitter IDs) เช่น “LsDDOAOg82deW3y” และ “B5JBjaLyFSGUKmo”
“แล้วแบบนี้ใครจะเชื่อกลุ่มนักเคลื่อนไหวพวกนี้? ในเมื่อคนพวกนี้ใช้วิธีการความเท็จด้วยวิธีการสร้างทวีตเตอร์ปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
ทำไมไทยต้องเชื่อเรื่องการเลือกตั้งจากพวกเสแสร้งย้อนแย้งและพวกโกหกหลอกลวง? ทำไมไทยต้องจัดการเลือกตั้ง? ในเมื่อการเลือกตั้งไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แต่กลับทำให้พวกอาชญากรและพวกฉ้อโกงเข้ามามีอำนาจอีกรอบ และเข้ามาทุจริตโกงกินอีกรอบ” – ‘แอนโทนี คาตาลัคซี’ กล่าว
——————
ส่วนในทางกลับกัน ในเว็บไซต์ The Matter หนึ่งในสื่อสารมวลชน ที่ยืนอยู่ข้างพรรค อนาคตใหม่ และอยู่ในเครือข่าย ของสื่อการเมืองที่มีท่าทีเป็นปรปักษ์กับความเป็นชาตินิยมของประชาชนไทย ก็ยังมีการเขียนบทความ ดันประเด็น ข้อความ twitter ที่ติดแฮชแท็ก #THwantElection ซึ่งมียอดพุ่งขึ้นทะลุไปถึง 1 ล้านครั้ง โดยมีการอ้างว่า โพสทั้งหมดดังกล่าวนี้เป็นพลังของคนรุ่นใหม่ และการใช้สื่อออนไลน์ในการแสดงจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง
โดยในสื่อ ของ the matter โดยการนำของ นาย แชม ธีปกร ได้ระบุถึงกระแสการเคลื่อนไหว บน twitter ในการต่อต้ายรัฐบาลไทย ไว้น่าสนใจ (ขอตัดออกมาให้ชมบางส่วน ) ดังนี้
นี่คือบางตัวอย่างที่ผ่านแฮชแท็ก #THwantElection #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง และ #กลุ่มคนรุ่นใหม่อยากเลือกตั้ง ในโลกทวิตเตอร์ ทั้งจากกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นแฟนคลับ K-Pop และจากผู้ใช้งานทั่วไป-กลุ่มอื่นๆ
“ณ ตอนนี้ประชาชนกำลังมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และแน่นอนว่าติ่งอย่างเราๆ ทุกด้อมก็เช่นกัลล ก่อนนี้เคยแข่งกันปั่นแท็กคนล่ะแท็ก ตอนนี้มันมีแท็กเดียวล่ะค่ะ รวมพลังทุกด้อมดันขึ้นเทรนด์โลกไปเลยยย”
“รวมพลังติ่งทุกด้อม มาช่วยกันเทรนมาช่วยกันรี เค้าจะได้เห็นว่าติ่งอย่างเราก็มีประโยชน์ ไม่ใช่หวีดผู้ชายไปวันๆ เผื่อผลบุญที่เราจะช่วยชาติในครั้งนี้จะส่งผลให้เราได้อปป้าเป็นผัวค่ะ สู้พวกเรา!”
“ใครด่าติ่งเกาหลีไม่รักชาติ ช่วยดูแท็กตอนนี้ด้วยค่ะ ตอนนี้ทุกด้อมร่วมใจกันแล้วค่ะ”
“การที่ทั้งลบทั้งปิดข่าว มันแสดงว่าคุณหวาดกลัวเสียงของปชช.แล้ว ขอให้หวาดกลัวต่อไป เพราะเสียงเล็กๆ หลายๆ เสียงที่ออกมาเรียกร้องมันจะดังจนคนทั่วโลกได้ยิน”
อ่านความคิดเห็นกันดูแล้ว ก็รู้สึกว่ามันสำคัญไม่น้อยเลยเนอะ ใครที่เคยปรามาสว่าการเป็นแฟนคลับศิลปิน-ไอดอลแล้วจะไม่สนใจเหตุการณ์บ้านเมืองนั้น คงต้องคิดกันใหม่ หรือถ้าหากเราพูดแบบซีเรียสได้ว่า นี่ไม่ใช่ภาพเดิมๆ ที่สังคมมักมองว่าการเป็นแฟนคลับศิลปิน-ไอดอลจะตัดขาดความตื่นตัวทางการเมืองไปเลย
—
ปรากฏการณ์นี้ ยังทำให้เราเห็นว่ายังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่ส่งเสียงสะท้อนความต้องการของตัวเองให้กับผู้มีอำนาจได้รับฟัง พร้อมกับระบายความในใจถึงสภาพปัญหาที่ประเทศเรากำลังเผชิญหน้าอยู่
“เสียดายเวลาที่ประเทศเราจะไปได้ไกลกว่านี้ รัฐประหารตั้งแต่ ปี 49 เรื่อยมาถึง คสช. 10 กว่าปีที่ผ่าน คนไทยเรียนรู้ความแตกแยกมามากพอแล้วจะว่าเห็นแก่ตัวก็ได้นะ แต่อยากเห็นประเทศเจริญก้าวหน้า ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่”
“เอาจริงๆ ที่ผู้ใหญ่มองว่าการเมืองอันตราย แต่ตอนนี้มันคือทุกอย่าง เราเรียนหลักสูตรหนักๆ แต่ไร้ประสิทธิภาพ เราซื้อของแพงในขณะที่รัฐบาลซื้อของแพงไร้สาระ ตอนนี้เราอยากเปลี่ยนแปลงไม่อยากให้แย่กว่านี้แล้ว ถ้าแย่กว่านี้ผมคงต้องขาย…ทำงานหาเงินเรียนล่ะ”
“อย่าเหมาว่าสีเสื้อไรเลย แค่อยากให้ทุกอย่างในประเทศมันเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งๆ ที่ประเทศเราทุกอย่างก็ดีมีทุกอย่างโอเค แต่ไม่มีใครคิดจะทำอะไร แค่อยากให้ประเทศก้าวหน้าเรื่อยๆ ไม่ใช่ถอยหลังเรื่อยๆ”
“พอเด็กเสนอความคิดเห็นก็บอกว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เด็กก็อยู่ส่วนเด็ก พอเด็กอยู่ของเด็กก็บอกให้เด็กหัดมีความคิดเป็นผู้ใหญ่บ้าง บอกเราเป็นอนาคตของชาติแต่ไม่ฟังความเห็นเรา”
ข้อความจากผู้ใช้ทวิตเตอร์เหล่านี้น่าจะช่วยขยายความให้เราเห็นภาพได้ไม่น้อย
คำถามคือแล้วเราจะเข้าใจปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างนะ?
—
ปรากฏการณ์เสียงเรียกร้องจากผู้คนในโลกทวิตเตอร์ จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ระบายความในใจกันแบบเฉพาะกิจ หากแต่มันยังช่วยให้เราเห็นถึงความรู้สึกที่อัดอั้นตันใจ ที่คนรุ่นใหม่ได้รับมาจากบรรยากาศของสังคมแบบ ‘พิเศษ’ มายาวนานหลายต่อหลายปี
ขณะเดียวกัน แฮชแท็ก #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ก็กำลังมีกิจกรรมที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการนัดรวมตัวกันทวีตเพื่อสื่อความต้องการอยากเปลี่ยนแปลงประเทศในทุกวันตอน 6 โมงเย็น รวมไปถึง กิจกรรมชวนกันกินยืนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อสื่อให้เห็นถึงการซ้อมอดอยากระหว่างที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง (เผ็ชเว่อร์)
ไม่ว่าเสียงเหล่านี้จะส่งไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจได้หรือไม่ แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงความสำคัญได้เลยแม้แต่น้อย
อ่านตัวเต็มได้ที่ https://thematter.co/pulse/young-twitter-want-election/52001
++++++++++++++++++
เรื่องนี้ทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะ หาก สิ่งที่ แอนโทนี คาตาลัคซี’ ระบุไว้นั้นเป็นเรื่องจริง ก็ยิ่งทำให้เรื่องราวนั้นกลับสวนทางไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น กระแส twitter ที่ติดแฮชแท็ก #THwantElection จำนวนหลักล้านที่สร้างกระแสเยาวชนต่อต้านรัฐบาลไทยในเวลานี้ อาจจกลายเป็นแค่ หุ่นยนต์(บอท)เกือบทั้งหมด ….
และอาจจะให้คำตอบได้ชัดเจนไกล้เคียงขึ้นสำหรับ เรื่องการใช้เทคโนโลยี่ “บอท”ในการปล่อยข่าวลือโจมตีรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นั้น อาจจะไม่ใช่ “รัฐบาลรัสเซีย” หรือ “รัฐบาลสหรัฐอเมริกา “แต่อาจเป็นนายทุนกลุ่มเดียวกันกับโจมตี”รัฐบาลไทย” ซึ่งมีความเป็นได้ว่าจะเป็น นายทุนชาวยิว อย่างจอร์จ โซรอส มากขึ้น
อ้างอิง