วันศุกร์ 15 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

๑๑ สถานที่เกี่ยวกับคณะราษฎร หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการสิ้นสูญ

๑ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ(กรุงเทพมหานคร) ***ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการรื้อ(ย้าย) เพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า***

สร้างขึ้นในโอกาสที่”รัฐบาลคณะราษฎร” สามารถเอาชนะ และปราบปราม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (กบฎบวรเดช) ซึ่งเป็นผู้ก่อกบฏต่อฝ่ายคณะราษฎรในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕

อนุสาวรีย์นี้เป็นที่บรรจุอัฐิของทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม ๑๗ นาย และรูปแบบของอนุสาวรีย์นี้ ยังกลายเป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินด้วย รัฐบาลคณะราษฎรถือว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง ๑๗ คนเป็นวีรบุรุษผู้เสียสละเพื่อสักการะรัฐธรรมนูญ จึงได้มีการจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทำศพสามัญชนที่สนามหลวง

ประวัติ
ความเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงได้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างเปิดเผย โดยยังทรงเป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย ต่อมาคณะราษฎร ได้ทาบทามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช โดย มีแผน
ใช้กำลังบุกจู่โจมจับคณะอภิรัฐมนตรีขังไว้ เพื่อบีบบังคับรัชกาลที่๗เพื่อให้ได้อำนาจมา แต่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ไม่เห็นด้วยและกล่าวว่า ตัวพระองค์เกิดในพระราชวงศ์จักรี หากทำเช่นนั้นจะได้ชื่อว่าอกตัญญู

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ จาก กระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้ากรุงเทพฯ พระราชทานความร่วมมือแก่คณะราษฎร แต่แล้วก็เกิดความแตกแยกในสภาเนื่องจาก การนำเสนอ “สมุดปกเหลือง” ของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ และการพยายามกำหนดสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่ซึ่งเป็นการคุกคามพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์(ตอนนั้น ร.๗ยังไม่สละราชสมบัติ) ส่งผลให้ “ฝ่ายนิยมสถาบันฯ”กดดันปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นในสภาหนักหน่วง ผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎรคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ต้องก่อรัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจของคณะราษฎรไว้ แต่ก็ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ตัดสินใจก่อการ”รบ”! เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ไปตามแนวคลตองบางเขนจนถึงสถานีรถไฟบางเขน และยื่นข้อเสนอ ให้คณะราษฎรกระทำตามเงื่อนไข ๖ ข้อ ใจความโดยย่อคือ

* ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ*

แต่สุดท้ายก่อการปฎิวัติครั้งนั้นไม่สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านแนวทางของคณะราษฎร
——————————————————

๒.วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (บางเขน – กรุงเทพมหานคร)
วัดนี้เดิมชื่อว่า “วัดประชาธิปไตย ” ***ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารเพราะพระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นพุทธมามกะ !***

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติเงินเพื่อสร้างวัด เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่คณะราษฎร จึงสมควรสร้างวัดขึ้นใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ได้จารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปราบกบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และยังเป็นที่เก็บอัฐิ ของคณะราษฎรทั้งหลายผู้ล่วงลับแล้วอีกด้วย โดย จอมพล ป.ประสงค์ให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ คือ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔

***อ้างอิง จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ ๑๕๐ เดือน มิถุนายน ๒๕๕๖ โดย กานต์ จอมอินตา *** ระบุว่า

๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันที่ทำพิธีเปิด “วัดประชาธิปไตย” อย่างเป็นทางการ รัฐบาลได้นิมนต์พระฝ่ายมหานิกาย 12 รูป ฝ่ายธรรมยุต 12 รูป มาจำวัด โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรกคือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ที่รัฐบาลนิมนต์มาจากวัดบรมนิวาส ซึ่งเป็นวัดฝ่ายธรรมยุต

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เป็นพระนักปราชญ์ ผู้มีปฏิภาณไหวพริบ คารมคมคาย มีความสามารถทั้งทางด้านการศึกษาและการปกครอง และครองสมณศักดิ์ทั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย แต่ต่อมาไม่นาน ที่วัดก็เหลือพระเพียงนิกายเดียว คือธรรมยุติกนิกาย เพราะพระฝ่ายมหานิกายค่อยๆหายไปทีละรูปสองรูป กระทั่งวัดประชาธิปไตยกลายเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตมาจนถึงทุกวันนี้

การเปลี่ยนนามจาก “วัดประชาธิปไตย” มาเป็น “วัดพระศรีมหาธาตุ” ภายหลังจากรัฐบาลได้จัดส่งคณะทูตไทย โดยมีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้า ได้ไปเจริญสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ในเครือจักรภพอังกฤษภาคเอเชีย เมื่อคณะทูตพิเศษเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย ก็ได้ติดต่อขอพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ กิ่งพระศรีมหาโพธิ์ 5 กิ่ง และดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน

เอกสารของวัดพระศรีมหาธาตุระบุไว้ว่า

*****“รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีอยู่ในนานาประเทศเป็นอันมาก แต่ประเทศเอกราชที่ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นทางราชการ และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก ก็มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น”*****

รัฐบาลอินเดียจึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งพระศรีมหาโพธิ์ และดินจากสังเวชนียสถาน ให้กับรัฐบาลไทย ซึ่งได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดที่สร้างใหม่นี้ และเห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้ทำพิธีปลูก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2484 (ปัจจุบันได้เติบโตเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นใหญ่ แผ่กิ่งก้านใบร่มรื่นอยู่กลางสระน้ำด้านข้างองค์พระเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ) เป็นมหาสิริมงคลแก่วัดสร้างใหม่ จึงเปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดพระศรีมหาธาตุ”
————————————————————————

๓. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กรุงเทพมหานคร) ***ยังอยู่***

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

ก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

และแน่นอนว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีสถาปัตยกรรม ที่ยึดโยงอยู้กับการการปฎิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อยู่หลายเรื่อง เช่น หลัก ๖ ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หลังยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์


 

๔.โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง (ปทุมธานี และยะลา) ***ยังอยู่***

ถึงแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎรโดยตรง แต่ ภายหลังการล้มล้างระบบการปกครองและยึดอำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์

การปฎิวัติการศึกษา คือส่วนหนึ่งอันสำคัญที่เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ของ คณะราษฎร บนรากฐานตัวตน”สยามใหม่”ที่มีคณะราษฎรเป็นใหญ่ การจัดสร้างโรงเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด ในการขยายการศึกษา

ตลอด ๒๐ปี ที่คณะราษฎร มีอำนาจ ได้สร้างโรงเรียนทั้งหมด ๒ โรงเรียน นั้นก็คือ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดยะลา และ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงปทุมธานี

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงชื่อนี้ก็มาจากสมาคมคณะราษฎร และสโมสรคณะราษฎร ที่ได้ให้เงินช่วยเหลือโรงเรียนในการพัฒนาด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก ตามหลักประการที่หกของคณะราษฎรคือ “การศึกษา”

ส่วนปัจจุบัน การศึกษาโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงเป็นแบบปรกติตามมาตรฐานการศึกษาทั่วไป ตามแบบโรงเรียนราชการ แน่นอนว่า สอนให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ มีรูปในหลวงแน่นอน

————————————————————

๕.สวนสราญรมย์ (กรุงเทพมหานคร)
ที่ทำการคณะราษฎร ***ยังอยู่***

ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน แต่สวนสราญรมย์ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่หนึ่งของคณะราษฎร สวนสราญรมย์เดิมเป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการคณะราษฎร ซึ่งเป้นอาคาร มีสถาปัตยกรรมความเป็นเหลี่ยมๆ ตู้ๆ ราวมากจากสถาปัตยกรรมสไตล์คอมมิวนิสต์

นอกจากนี้ยังมี สโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ มีการจัดงานรื่นเริงตามแบบอย่างตะวันตก เช่น การจัดประกวดเทพีรัฐธรรมนูญ (นางสาวสยาม) รวมทั้งงานฉลองรัฐธรรมนูญ สร้างความนิยมใน”วัฒนธรรมใหม่”(ปฎิวัติวัฒนธรรมไทยเลียนแบบตะวันตก) ในยุคคณะราษฎร

ปัจจุบันสวนสราญรมย์ยังคงเปิดให้บริการในฐานะเป็นสวนสาธาราณะทั่วไป แต่ ที่ทำการคณะราษฎร ถูกปิดไว้ไม่ได้ใช้การใด

—————————————————————-

๖.ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลังเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
บ้านเกิดนายปรีดี

***ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนี้ถูกเปลี่ยนให้เป็น หอศิลป์แห่งชาติ***

ศาลากลางจังหวัดอยุธยาหลังเดิมนั้น ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สมัยหลวงบริหารชนบท (ส่าน) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด โดยการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน นั้นเกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และถือเป็นผู้นำคนสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

สถาปัตยกรรมที่เห็นได้ชัดจากอาคารศาลากลางนี้ ความเป็นเหลี่ยมๆ ตู้ๆ ราวมากจากสถาปัตยกรรมสไตล์คอมมิวนิสต์ และ เสา ๖ ต้น ที่เป็นตัวแทนของ”หลักหกประการของคณะราษฎร ” คล้าย หลักสามประการ “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” ซึ่งเป็นคำขวัญประจำชาติของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนี้ถูกเปลี่ยนให้เป็น หอศิลป์แห่งชาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการสร้างศาลากลางขึ้นใหม่ทดแทน ในพื้นที่ใหม่
————————————-

๗.อาคารกระทรวงยุติธรรม (ศาลฎีกาหลังเดิม) ***โดนรื้อถอนแล้ว***

กลุ่มอาคารศาลฎีกา เดิมทีนั้นเป็นที่ทำการศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา และศาลฎีกา ออกแบบโดยพระสาโรชนิมมานก์ ซึ่งอาคารนั้นเป็นสถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎร ความเป็นเหลี่ยมๆ ตู้ๆ ราวมากจากสถาปัตยกรรมสไตล์คอมมิวนิสต์ แน่นอน ทำพิธีเปิดเมื่อ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ ซึ่งวันเปิดนั้นมีความเชื่อมโยงกับวันที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ และเสา ๖ ต้น ที่อาคารศาลฎีกานั้นแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร

ปัจจุบันศาลอาญาได้ถูกรื้อทำลายทิ้งทั้งหมดเพื่อปรับปรุงอาคารใหม่ ไปตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ครับ!
—————————————

 

๘.วงเวียนรัฐธรรมนูญ (บุรีรัมย์และขอนแก่น)***โดนรื้อถอนแล้ว***

พานรัฐธรรมนูญ ชุดนี้ สร้างออกแบบและสร้างโดย กรมศิลปากร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงประเทศปี ๒๔๗๕ โดยคำสั่งของ รัฐบาลคณะราษฏร แล้วส่งไปให้ ทุกจังหวัดของไทย เพื่อไว้ใช้ บูชาสักการะ ในช่วงเวลาประมาณ ๒๔๗๘-๒๔๘๒ แต่ละจังหวัดสร้างไม่พร้อมกัน เสร็จไม่พร้อมกัน และรูปแบบของ เสา,ฐาน, รองรับ “พานรัฐธรรมนูญ” ก็ไม่เหมือนกัน สำหรับฐานรองรับ พานรัฐธรรมนูญ ของบุรีรัมย์แต่เดิมนั้นเป็น เสากลมแบบเสาโรมัน แต่ฐานก่อนที่จะมีการทุบทิ้งนั้นเป็นแท่งคอนกรีต ปูทับด้วยกระเบื้องลายธงชาติ สร้างในปี ๒๕๒๘-๒๕๓๒

เช่นเดียวกับ วงเวียนรัฐธรรมนูญจังหวัดขอนแก่น ก็สันนิษฐานว่ามาจากแนวคิดการสร้างและเป็นชุดการสร้างเดียวกัน ฐานรองพานรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นเหลี่ยม๖ด้าน ตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร อีกเช่นกัน

ซึ่งต่อมาวงเวียนรัฐธรรมนูญจังหวัดขอนแก่น ก็ได้กลายเป็นสถานที่บูชาสักการะรัฐธรรมนูญ และ ชุมนุมทางการเมือง

ปัจจุบันวงเวียนแห่งนี้ถูกรื้อทิ้งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรอีกเช่นกัน
———————————

๙.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ จังหวัดภูเขียวมา (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ) *** ยังอยู่ ***

แม้ว่า จะไม่ได้สร้างจากนโยบายของคณะราษฎรเลยก็ตามแต่ก็ถือว่าได้รับอิทธิพลจากคณะราษฎร

สำหรับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฉบับย่อที่ภูเขียว สร้างเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ โดย ประชาชนในท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง โดยไมไ่ด้ใช้งบของคณะราษฎร โดยจำลองแบบจากที่ราชดำเนิน แต่มีขนาดที่เล็กกว่าของที่ราชดำเนินมาก

นาย ไสย บุญเนา เป็นศึกษาธิการอำเภอและราษฎรที่มีฝีมือร่วมกันสร้าง แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ใช้เวลามากกว่าของที่ราชดำเนินตั้ง ๒ ปี

ปัจจุบันอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่นี่ยังอยู่

——————————–

 

๑๐.หมุดคณะราษฎร “หมุดหมายแห่งการปฎิวัติ” ***หายสาบสูญ/ เปลี่ยนเป็นหมุดสยาม***

หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดกลมสีทองเหลือง ฝังลงบนพื้น กลางถนน ระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูทางเข้า (อดีตเป็น) กองบัญชาการทหารสูงสุด

เพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดที่นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับแรก เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อันหมิ่นเกียรติยศของราชบัลลังค์เป็นอย่างมาก และถูกพิสูจน์ในภายหลังว่าเป็นการใส่ความสถาบันเบื้องสูง จกาากรประกาศในครั้งนั้น

หมุดทางเหลืองนี้จารึกว่า “๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

คาดว่า หมุดทองเหลืองนี้ น่าจะจัดทำขึ้นราวปี พ.ศ.๒๔๘๔ ในช่วงปฎิวัติ วัฒนธรรมและรัฐบาลก็ได้ประกาศให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันชาติ” นับแต่นั้นมา จนกระทั้งถูกยกเลิกไป ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ และ “วันชาติ”เปลี่ยนไปเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย ตามอย่างประเทศราชาธิปไตยอื่น ๆ ปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี

ปัจจุบัน หมุดดังกล่าวหายสาปสูญ… ส่วนหมุดใหม่นั้น ปรากฎขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๐ ( วันสงกรานต์ / ปีใหม่ไทย) มีข้อความรอบนอกว่า “ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง”

ส่วนข้อความในวงด้านใน ระบุว่า “ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน”



๑๑.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ *** ยังอยู่ ***

หากกล่าวถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร คงจะไม่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งในชื่อ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการปัฎิวัติการศึกษาเพื่ปลูกฝักแนวคิดทางการเมืองให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ตามหลักหกประการของคณะราษฎร
และ นายปรีดีก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ประศาสตร์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีเรื่องราวและสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่มากมายและแน่นอนว่า”เชิดชูคณะราษฎร”