เมื่อรัชกาลที่๙ทรงป่วย และประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชเป็นเวลานาน
ทุกครั้งที่เห็นความยากลำบากในการทรงเดิน ทุกครั้งยามที่ฟังข่าวแพทย์ถวายการรักษาต่างๆนานา
.
เรามักนึกย้อนไปถึงเรื่องราวอีกด้านหนึ่ง ที่คนใกล้ชิดเคยพิจารณาว่าไม่สมควรนำมาเผยแผ่
.
เรื่องราวมากมาย ไม่มีบันทึกเอกสารให้ได้ค้นคว้า นอกจากเข้าไปสัมผัสกับผู้คนจริงๆ
…………………………..
ภาพข่าวคุ้นตามากมาย ที่เห็นพระราชาวัยสามสิบเศษต่อเนื่องจนพระชนม์ราวเจ็ดสิบเศษ
.
เดิน นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขึ้นฮ. ขับรถไปทั่วประเทศ
.
ใครจะรู้ว่าบางครั้งท่านก็เหนื่อยมาก จนร่างกายไม่ไหวต้องขอเกลือจากผู้ที่ตามเสด็จ
.
การไปสัมผัสกับราษฎร ทั้งน้ำเสียง ทั้งกิริยาอาการ ของทั้งรัชกาลที่๙และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่เคยปรากฏอาการเจ้าขุนมูลนาย
.
พระองค์หนึ่งเคร่งขรึมแบบคนทำงาน อีกพระองค์เป็นกันเอง นุ่มนวลแบบสตรี
.
ความจริงอีกด้านจากพระโอษฐ์ เมื่อนักข่าวFar Eastern Economic Review ถามถึงความซาบซึ้งของราษฎร
.
รับสั่งว่า ไม่มีใครซาบซึ้งจริงๆจังๆ ผู้คนมักจะต้องการมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ท่านส่งเสริมการพึ่งตนเอง ยืนด้วยเองให้ได้
.
ที่สำคัญคือ ไม่ควรให้มากเกินไป แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อย่าสัญญาให้มากนัก
.
ไม่งั้นถ้าอะไรสะดุดซักอย่างจะสะเทือนไปหมด ทรงถือหลักให้พอประมาณ นั้นก็คือ “น้ำ”เพื่อกินใช้และการเกษตร
.
( Were the villages grateful?.
“No one really appreciates,” He said, “they always want more. That is why they must be encouraged to make themselves self-supporting, to stand on their own feet.
.
That is why it is important not to give too much and even more important not to promise too much… January,1986 by Derek Davies”)
……………………………..
“น้ำ”ที่พระราชทานให้
หมายถึงการเดินทางในที่ทุรกันดาร การพูดคุยหาข้อมูลจากชาวบ้าน การอ่านแผนที่ การสะสมความรู้เรื่องอ่างเก็บน้ำ การปรึกษาหารือกับช่างชลประทาน การลงพื้นที่ก่อสร้าง การติดตามงาน และการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายอ่างเก็บน้ำในบางพื้นที่
.
รวมทั้งหมายถึงการเสียเวลาเตรียมข้อมูลทำงานไปเปล่าๆ เมื่อราษฎรเปลี่ยนใจ “ไม่เอา”
…………………………..
Sylvana Foa จาก United Press International เคยตามเสด็จไปที่นราธิวาสเมื่อปี2523 ถ่ายทอดไว้ในบทความถึงเวลาเสวยอาหารกลางวันที่ไม่แน่นอน 4 โมงเย็นบ้าง ทุ่มนึงบ้าง ส่วนอาหารค่ำบางทีก็ตีสอง
.
เมื่อกลับจากลงพื้นที่ แม้จะ5ทุ่มแล้ว คนอื่นๆกระปลกกระเปลี้ยไปนอน แต่กษัตริย์วัย53 ยังคงทำงานต่อ เพื่อเตรียมงานในวันรุ่งขึ้น
.
( It is well past 11 p.m. when the royal convoy pulls back into the grounds of the Daksin Palace in Narathiwat. The ladies-in-waiting, aides-decamp and security guards stumble out of their vehicles, exhausted, mud-caked and thinking only of bed.
.
But for the King Bhumibol, there is still work to be done. The king heads for his study and his maps to begin planning the next foray into isolated hamlets that are the soul of Thailand)
เมื่อพระชนม์ราว55พรรษา การหาไอโอดีนให้คนที่อยู่ไกลทะเล ทำให้ทรงติดเชื้อไมโครพลาสม่าที่หัวใจ จนทำให้ทรงป่วย“เกือบตาย” ขณะประทับที่ภูพิงคราชนิเวศน์
.
ครั้งนั้นรับสั่งเองว่าเสด็จไปTwilight Zone
.
จึงไม่น่าแปลกใจที่นายตำรวจที่สมเด็จพระนางเจ้าฯรับสั่งให้ขึ้นไปเก็บเอกสารที่ห้องบรรทม จึงได้สังเกตเห็น “ที่นอนปูกับพื้น” ข้างๆกองเอกสารกระจัดกระจาย
.
ทุกครั้งที่พระองค์ทรงพบราษฎรที่มีน้ำใจ เต็มใจเสียสละเพื่องานพัฒนา ดังเช่นลุงวาเด็ง ปูเต๊ะจากสายบุรี อิหม่ามยูซบจากห้วยทราย ลุงยุทธจากสหกรณ์โคนม หนองโพ เป็นต้น
.
คนเล็กๆเหล่านี้คือผู้ถวายความสุข ถวายรอยยิ้มแด่พระองค์
.
พระมหาชนกแหวกว่ายในท่ามกลางสมุทรที่ไม่เห็นฝั่ง
แต่จิตที่เข้มแข็ง นำทางด้วยสติ ปัญญา และองค์ความรู้
.
แม้เบื้องปลายจะไม่ได้ทรงผนวชคู่เคียงกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน “..เพราะบ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่ บวชไม่ได้..”
.
แต่พระมหาชนกก็ยังความเพียรจนถึงที่สุดแห่งความเพียรแล้ว โดยสมบูรณ์.