วันอาทิตย์ 24 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

“ฉลองพระองค์ครุยกรองทองแล่งที่สาปสูญสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 “

เรื่อง “สมบัติของแผ่นดิน”  – “ฉลองพระองค์ครุยกรองทองแล่ง” ของพระรูปพระมหากษัตริย์ไทยทั้ง ๓ พระองค์แล้ว ยิ่งทำให้เราต้องตั้งคำถามกับยุคการเปลี่ยนผ่านการปกครองครั้งนั้นมากขึ้นไปอีก….

ตั้งแต่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความคิดว่า จะสร้างพระบรมรูปแทนพระองค์ ขึ้นมา เพื่อเป็นของขวัญตอบแทนแก่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ที่ทรงส่งรูปบรมรูปเป็นของขวัญให้แก่พระองค์ แต่กระนั้นก็ทำไม่สำเร็จเพราะติดในเรื่องของความเชื่อว่า หากตัวจริงยังอยู่แล้วไปปั้นเป็นหุ่นขึ้นมา จะถือเป็นเรื่องอัปมงคล เรื่องนี้มีบันทึกจากรับสั่งของรับสั่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประทาน หม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล ดังนี้

“เหตุที่ทำเป็นพระบรมรูปหล่อเป็นคนมีดังนี้ ในรัชกาลที่ ๔ พระเจ้านะโปเลียนที่ ๓ กับเอมเปรสด์ส่งรูปหล่อครึ่งตัวเป็นบัสทองแดงมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดมาก และจะต้องให้ของตอบแทน เมื่อทูตฝรั่งเศสกลับไปให้ช่างปั้นรูปมาถวายเป็นรูปเต็มพระองค์แต่ก็ไม่ตกลงกัน เป็นปัญญาว่าจะตอบแทนอย่างไรกัน อีกคราวหนึ่งเอมเปอเรอส่งตราเลยองออนเนอร์มาถวาย ดวงตรามีหัวนะโปเลียนโบนาปารต พระจอมเกล้าฯ ให้ทำส่งออกไปบ้างเป็นรูปที่ทำได้เหมือนมาก เดี๋ยวนี้พระบรมรูปติดตรานั้นยังอยู่ที่วังฟองเตนโบล

ในเรื่องรูปปั้นนั้น ต่อมาว่าให้พระยาจินดารังสรรค์ปั้นใหม่ด้วยปูนปลาสเตอร์ ปั้นเท่าพระองค์ทรงพระมาลาสก๊อท ทรงผ้าเยียระบับ เดิมอยู่ที่หอศาสตราคม รื้อหอแล้วเอามาไว้ที่กระทรวงมหาดไทยพักหนึ่ง แล้วส่งไปประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งเพ็ชภูมิไพโรจน์ จังหวัดเพชรบุรี (ที่เขาวัง) กับได้จำลองไว้อีกองค์หนึ่งในปราสาททางด้านตะวันตกในวัดราชประดิษฐฯ แต่หาได้ส่งไปถวายพระเจ้านะโปเลียนที่ ๓ ไม่ ที่ไม่ได้ส่งไปนั้นเพราะเป็นรูปปั้นด้วยปูนน้ำมัน ยังไม่ได้หล่อ ครั้นจะหล่อต้องเข้าไฟ การเอารูปปั้นเข้าไฟนั้นถ้ายังมีพระชนม์อยู่ถือว่าเป็นอัปมงคล เลยไม่ได้หล่อจนแล้ว

มาในรัชกาลที่ ๕ เลยจับหล่อหมดทั้ง ๔ องค์ เกิดปัญหาขึ้นบ้างตอนปั้นพระพุทธยอดฟ้าฯ เพราะพระพุทธยอดฟ้าฯ หาคนรู้จักยาก นัยว่าเรียกคนที่เคยเห็นมาให้การ แล้วก็ปั้นตามคำให้การนั้น คนที่เคยเห็นพระพุทธยอดฟ้าฯ ครั้งนั้นยังเหลืออยู่สี่คนคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี บุรณสิริ) พระองค์เจ้าปุก (พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒) และเจ้าพระยาธรรมา (มั่ง) คนที่เคยเห็นพระพุทธเลิศหล้าฯ นั้นมีมาก

พระบรมรูปหล่อมาหล่อเอาทั้งที่พระเจ้าแผ่นดินยังมีพระชนม์อยู่ ก็พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ดูไม่เป็นการรังเกียจกัน รูปแรกที่หล่อคือเหรียญเงินบาท แต่ก่อนหล่อกันแต่รูปพระเกี้ยว หากล้าหล่อพระบรมรูปไม่ เพิ่งมาหล่อในรัชกาลที่ ๕ นี้เอง ถัดจากนั้นพระบรมรูปทรงม้าก็หล่อทั้งที่ทรงยังมีพระชนม์อยู่ ได้เสด็จเปิดพระบรมรูปด้วยพระองค์เองซ้ำไป”

 

 อ้างอิง
 

ซึ่งพระบรมรูปของ รัชกาลที่ ๑-๓ นั้น สวมฉลองพระองค์เป็นชุดครุยปักทองแล่ง แต่ทว่าในปัจจุบัน ชุดครุยดังกล่าวได้หายไป ตั้งแต่หลังปี ๒๔๗๕ หรือหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสยาม  เป็นเวลาหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 สละราชสมบัติและงดการถวายบังคมไปชั่วคราว

แม้มีบางคนพยายามโต้แย้งว่า ฉลองพระองค์ดังกล่าวไม่ได้มีมาตั้งแต่ต้นเพราะ คนสมัยก่อนไม่นิยมใส่เสื้อกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะ จากบันทึกของหม่อมหลวงปีย์ มาลากุล ที่เข้าไปสำรวจสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ ได้จดบันทึกถึงเสื้อคลุม ว่า ..

คณะกรรมการและอนุกรรมการจัดการราชพิพิธภัณฑ์เข้าสำรวจสิ่งของต่างๆ และจดบันทึกไว้โดยหม่อมหลวงปีย์ มาลากุล โดยมีกรรมการ ๔ ท่าน คือ พระยาชาติเดชอุดม (โป๊ะ) พระยาอนุมานราชธน นายแนบ พหลโยธิน หลวงดำริอิศรานุวรรต จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔
.
ในตู้ที่ ๗ บรรยายฉลองพระองค์ครุย สำหรับทรงพระบรมรูปอดีตมหาราช 6 องค์
องค์รัชกาลที่ ๑ ฉลองพระองค์ครุย ปักทองแล่ง
องค์รัชกาลที่ ๒ ฉลองพระองค์ครุย พื้นแดงกรองทอง
องค์รัชกาลที่ ๓ ฉลองพระองค์ครุย ปักทองแล่ง
องค์รัชกาลที่ ๔ ฉลองพระองค์ครุย
องค์รัชกาลที่ ๕ ฉลองพระองค์ครุย
องค์รัชกาลที่ ๖ ฉลองพระองค์ครุย ริ้วปัตหร่า
ทั้งหมดนี้คำว่า ปักทองแล่ง กรองทอง คือ การนำลวดโลหะมารีดแล้วพันเข้ากับไหมนำมาปักปนกับผ้าครุย ซึ่งไม่ได้ระบุว่าดำด้วยทองคำแท้

ตัวอย่าง ภาพผ้าทองแล่ง ( สมัยใหม่ )

 

 

และนี่คืออีกหลักฐานสำคัญว่า ฉลองพระองค์ครุย นั้นมีอยู่จริง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฉลองพระองค์ด้วยชุดครุยทองแล่ง

“ภาพถ่ายเก่าภายในปราสาทพระเทพบิดร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทองคำแท้

เครดิตภาพและข้อมูล จากท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ”

อ้างอิง จากเพจ อ.เผ่าทอง ทองเจือ

สำหรับองค์รัชกาลที่ ๗-๘ นั้นปั้นโดย อ. ศิลป์ พีระศรี สร้างและหล่อและนำเข้าประดิษฐานในรัชกาลที่ ๙
ทั้งนี้ชุดครุยดังกล่าวทราบจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เข้าไปสำรวจเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในช่วง ๒๕๒๔-๒๕๒๕ ก็ไม่พบฉลองพระองค์ครุยแล้ว