วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

นายปรีดี พนมยงค์ เคยฟ้องยึดทรัพย์สมเด็จพระปกเกล้าฯ

นายปรีดี พนมยงค์ บีบคั้นในหลวงจนสละราชบัลลังก์ไปแล้ว พ่อและพรรคพวกทำอะไรกันต่อยึดพระราชทรัพย์

การใช้อำนาจของรัฐบาลคณะราษฎรแทรกแซงกระบวนการของตุลาการ เรื่องมันมีอยู่ว่าอธิบดีศาลแพ่งพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (บุคคลในรูปนี้)

ไม่ยอมรังแกในหลวงตามที่รัฐบาลมีความประสงค์ กล่าวคือเมื่อโอนพระคลังข้างที่มาอยู่กับกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งพ่อเป็นรัฐมนตรีการคลังอยู่! ก็ได้กล่าวหาว่าในหลวงและพระราชินี โอนเงินจากบัญชีทรัพย์สินฯ ไปใช้ส่วนตัวถึง ๑๐ รายการ รวมกว่า ๔,๑๙๕,๘๙๔.๘๙ บาท

นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะรมต.คลัง จึงส่งเรื่องให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๒ พร้อมกับขอคุ้มครองชั่วคราวแบบฉุกเฉิน โดยให้ศาลยึดหรืออายัดทรัพย์สินของทั้ง ๒ พระองค์ไว้ทั้งหมด โดยอ้างว่ามีการโอนที่ดินไปให้ผู้อื่น เมื่อรับฟ้องและคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแล้ว พระสุทธิอรรถนฤมนตร์(สุข เลขยานนท์) อธิบดีศาลแพ่ง

“มีคำสั่งให้ยกคำร้องของกระทรวงการคลัง”๓ วันต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยื่นคำร้องอีก

แต่ศาลแพ่งก็ยังสั่งยกคำร้องอีก โดยให้เหตุผลว่า “…โจทก์มิให้นำบัญชีแม้แผ่นเดียว หรือหนังสือสั่งการของจำเลยที่ ๑ (สมเด็จพระปกเกล้าฯ) แม้แต่ชิ้นเดียวมาแสดง พยาน(ของโจทก์) ทั้ง ๒ ปาก ทราบข้อเท็จจริงมาได้ก็โดยการตรวจพบเอกสารต่าง ๆ จึงมีค่าเสมือนพยานบอกเล่า โจทก์หาได้นำพยานที่รู้เรื่องเดิมแม้แต่ปากเดียวมาสืบประกอบไม่…”

สรุปสั้นๆคือ นายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้เอาหลักฐานที่เป็นเอกสารไปให้ศาลเลยแม้แต่แผ่นเดียว พ่อเพียงเอาพยานสองคนไปแจ้งให้ศาลทราบเท่านั้น

ท่านอธิบดีศาลแพ่งพระสุทธิอรรถนฤมนตร์(สุข เลขยานนท์) จึงสั่งให้ยกคำร้องของพ่อ

พ่อโมโหมากพ่อเลยไปกระซิบให้ณ๊องปอฟัง จากนั้นไม่นานพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ก็ถูกย้ายไปอยู่ศาลฎีกา

…และในอีกไม่กี่เดือนถัดมาก็ถูกให้ออกจากราชการ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร ยกตัวอย่างเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย” ไว้ว่า

“พระสุทธิอรรถฯ ถูกย้ายไปศาลฎีกาทั้งๆ ที่ท่านกำลังจะได้รับการพิจารณาความดีความชอบ ๒ ขั้นเป็นกรณีพิเศษ เพราะผลงานของท่านในรอบปีที่ผ่านมาดีเด่น ท่านเป็นนักกฎหมายไทยคนแรกๆ ที่สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อท่านถูกย้ายไปศาลฎีกา ท่านก็ไปถามรัฐมนตรีฯ ว่า ทำไมท่านจึงถูกสั่งย้าย ท่านรัฐมนตรีฯตอบท่านว่า ไม่มีอะไร เป็นเรื่องการเมือง ท่านจึงไม่ได้รับพิจารณาความดีความชอบ และไม่ช้าท่านก็ถูกปลดออกจากราชการด้วย

ในวงการศาลรู้สึกไม่สบายใจในเรื่องนี้มาก กังวลกันว่า ต่อไปนี้นักการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงในคดีความของศาล ทำให้ศาลไม่มีความเป็นอิสระ จึงต้องหาทางร่วมกันแก้ไข เพราะในท้ายที่สุดผู้ที่จะเสียหายมากที่สุด ก็คือ ประชาชนผู้เป็นคู่ความในคดีกับรัฐนั่นเอง ต่อมา รัฐบาลชุดนั้นผ่านพ้นไป รัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ เข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ผู้เคยเป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับการทาบทามให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ กล่าวว่า ยินดีรับตำแหน่ง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องให้พระสุทธิอรรถฯ กลับมาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาตามเดิมต่อไป นายควง อภัยวงศ์ ตกลงรับเงื่อนไขดังกล่าว พระสุทธิอรรถฯ จึงได้กลับเข้ารับราชการตามเดิม หลังจากที่ออกไปเป็นทนายความอยู่พักหนึ่ง หลังจากรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ พ้นตำแหน่ง ก็มีรัฐบาลชุด หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เข้ามารับตำแหน่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ฯ ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มาก่อน ได้เชิญพระสุทธิอรรถฯ ไปเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ในวงการศาลยุติธรรมของไทยนั้น มีการผนึกกำลังกันช่วยเหลือ และปกป้องดูแลคุ้มครองผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมให้พ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบ ซึ่งเป็นการผนึกกำลังกันในวิชาชีพที่ดี”

 

 

ซามูไร อโยธยา -ภูดิส สุขสวัสดิ์