วันอาทิตย์ 22 ธันวาคม 2024
  • :
  • :
Latest Update

ประวัติศาสตร์ เรื่องการเปลี่ยนแปลง”ธงไตรรงค์ และ ธงช้างเผือก”

maxresdefault (9)

 (ธงช้างเผือก”ชูงวง”เก่าแก่ แบบแรกๆ ที่เริ่มใช้ในฐานะธงชาติสยามมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ขอบคุณภาพจาก “พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย” )

 ***

ประวัติศาสตร์ เรื่องการเปลี่ยนแปลง”ธงไตรรงค์ และ ธงช้างเผือก”

ปราชญ์ สามสี ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ช่วงนี้ ไม่รู้ว่าสังคมโลกไซเบอร์ มันผิดพลาดประการใด… ผู้จงรักภักดีบางคนไปหลง”คารม” ใครมา …จนไปมีความเชื่อผิดๆ เรื่องธงไตรรงค์ (ธงชาติสามสีที่ประเทศไทยใช้กันนี่แหล่ะครับ) ว่า ธงไตรรงค์ ถูกนำใช้โดย “คณะราษฎร”สมัยสงครามโลกครั้งที่๒

ทั้งๆที่ “ความเป็นจริง”แล้ว “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับฝ่ายสัมพันธมิตร

โดยมีระบุไว้ ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” ที่ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖” ทรงเขียนขึ้นนั้นก็อธิบายอยู่อย่างชัดเจนว่า

ขอพร่ำรำพันบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงามถนัด ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์
หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษาชาติศาสนา น้ำเงินคือสีโสภา
อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเป็น ทิวไตรรงค์
จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทยฯ
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย วิชิตก็ชู้กียรติสยาม”

(ดุสิตสมิต เล่ม 1 ฉบับที่ 1-11 ในพระนามวรรณะสมิต)

15107474_1599890530319965_3496077356597145180_n

ภาพ:”ไม่ทราบแหล่งที่มา” ได้ระบุ รายละเอียด หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต โดยยกบางส่วนของ”กาพย์-ฉบัง ที่ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖” ทรงประพันธ์ไว้ใน หนังสือพิมพ์รายสัปดาร์ดุสิตสมิต

15178291_1599890966986588_4870361908544421746_n
(ภาพ: ทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่๑ ร่วมการสวนสนามฉลองชัยชนะ ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยเชิญ”ธงไตรรงค์” เป็นธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหาร)

อย่างที่ทราบกันดี ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง ๓ สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ ๕ แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น ๒ เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) พุทธศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

15107276_1599891170319901_5263581363392764145_n

(ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๔๔ หน้า ๒๗๕-๒๗๖  ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐)

ต่อมา ในเอกสาร ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๐ ระบุว่า ในสมัยของ”พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชดำริอยากเปลี่ยนธงชาติสยามจาก “ธงไตรรงค์”กลับมาใช้ “ธงช้างเผือก” กลับไปเหมือนเดิมอีกครั้ง เนื่องจากเอกลักษณ์ชาติที่ไม่มีประเทศใด”เหมือน”

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกิดการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร ขึ้นมาเสียก่อน ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงทำให้ ธงช้างเผือกไม่ได้กลับมาเป็นธงชาติไทยอีกครั้ง

เพราะฉะนั้นแล้วครก็ตามที่ปล่อยข้อมูลผิดๆ ให้ผู้คนจำนวนมาก หลงเชื่อ ว่า “ธงไตรรงค์ ถูกนำใช้โดย “คณะราษฎร”สมัยสงครามโลกครั้งที่๒” ก็ถือว่าบิดเบือนประวัติศาสตร์และอาจเข้าข่ายหมิ่น”บูรพกษัตริย์”ด้วยนะครับ

ส่วนผู้ที่หลงเชื่อนี่ก็ถือว่าเข้าใจผิดแบบไม่น่าให้อภัยเลยล่ะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟสบุ๊ก ปราชญ์ สามสี