วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

มาแล้ว หลักฐานต้นฉบับเพลงประพันธ์ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” ของชูรอฟสกี้ ชาวรัสเซีย

 

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

มาแล้ว หลักฐานต้นฉบับเพลงประพันธ์ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” ของชูรอฟสกี้ ชาวรัสเซีย

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีคณวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะเดินทางไปยังหอสมุดแห่งกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย เพื่อขอดูต้นฉบับสมุดรวบรวมตัวโน้ตเพลงประจำชาติที่ ปิโยต ชูรอฟสกี้ นักประพันธ์ดนตรีชาวรัสเซีย รวบรวมไว้เมื่อ พ.ศ. 2434 เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า ชูรอฟสกี้ เป็นผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ยังใช้บรรเลงมาจนปัจจุบัน
หลังจากติดต่อกับเจ้าหน้าที่หอสมุด และค้นหาหนังสือต้นฉบับสักพัก ก็พบต้นฉบับหนังสือรวมโน้ตเพลงประจำชาติ ปกหนาลายทอง ภายในมีบทเพลงประจำชาติต่าง ๆ รวมทั้งเพลงประจำชาติสยาม ซึ่งมีชื่อปีโยต ชูรอฟสกี้ เป็นผู้ประพันธ์ ทั้งนี้ ร.ศ.ดร.สุกรี ได้อ่านตัวโน้ต และพบว่าเป็นทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทย
รศ.ดร.สุกรีกล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ค้นพบต้นฉบับของจริงที่ยืนยันว่าชูรอฟสกี้เป็นผู้ประพันธ์ทำนองบทเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งที่ผ่านมาตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีแต่ข้อสันนิษฐาน ตนพยายามหาหลักฐานตัวจริงมายืนยัน เคยเดินทางไปตามเส้นทางตามหลักฐานในประวัติศาสตร์เขียนไว้ เพื่อค้นหาแต่ก็ไม่พบต้นฉบับตัวจริง กระทั่งเดินทางมารัสเซียครั้งนี้
 
“ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงประกาศประกวดแต่งเพลงประจำชาติไทย โดยชูรอฟสกี้ได้ประพันธ์แล้วส่งให้ทูตไทยในปารีส ทูตไทยได้ส่งโน้ตเพลงกลับสยาม ระหว่างนั้นได้พบกับเฮวุดเซน นักเปียโนชาวดัชต์ ทูตไทยจึงให้ลองเล่นให้ฟัง กระทั่งเกิดความเข้าใจไปว่านักเปียโนชาวดัชต์คนนั้นเป็นผู้ประพันธ์ อย่างไรก็ตามบทเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เมื่อมาถึงสยาม เมื่อบรรเลงและรัชกาลที่ 5 ทรงได้ยินก็ทรงโปรด ต่อมาได้พระราชทานกล่องยานัตถุ์เงินแกะสลักให้ปีโยต ชูรอฟสกี้ด้วย” ร.ศ.ดร.สุกรีกล่าว
ร.ศ.ดร.สุกรีกล่าวต่อไปว่า ในภายหลังเมื่อเกิดความสับสนว่าใครกันแน่เป็นผู้ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญพระบารมีระหว่างนักเปียโนชาวดัชต์คนนั้นกับชูรอฟสกี้ ขณะที่ตนเชื่อว่าชูรอฟสกี้น่าจะเป็นผู้ประพันธ์ และพยายามหาต้นฉบับตามเส้นทางในประวัติศาสตร์ แต่ไม่พบ และยังไม่เคยเดินทางมารัสเซีย จนกระทั่งมีโอกาสเดินทางมาครั้งนี้จึงค้นพบ และยืนยันว่าชูรอฟสกี้คือผู้ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญพระบารมี
สำหรับบทเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ภายหลังนายจาคอบ ไฟท์ บิดาของพระเจนดุริยางค์ได้เรียบเรียงเสียงประสาน และนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

 


ประวัติ

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า “สรรเสริญนารายณ์”แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า “เสด็จออกขุนนาง”

แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ”

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวดัตช์ (ฮอลันดา) ที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง”

ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414(ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6

ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกันต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น แต่เดิมเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน