วันอังคาร 21 มกราคม 2025
  • :
  • :
Latest Update

แอมานุแอล มาครง อาจฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศส

“Long Live the King: French Minister Misses Monarchy, Slams Democracy ” อ้างอิง https://sputniknews.com/politics/201507081024363467/

ยังจำได้ไหม? เมื่อ  (8 ก.ค.58) สองปีที่แล้ว Sputnik news พาดหัวข่าวเรื่องหนึ่งว่า “Long Live the King: French Minister Misses Monarchy, Slams Democracy” แปลว่า “ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน: รัฐมนตรีฝรั่งเศสคิดถึงระบอบกษัตริย์!

สื่อฯรัสเซียพาดหัวข่าวรองว่า “นาย  แอมานุแอล มาครง (Emmanuel Macron ) ในสมัยที่ยังเป็น รมว.กระทรวงเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ให้สำภาษณ์กับนิตยสาร Le 1 Hebdo อ้างโดยหนังสือพิมพ์รายวัน Le Figaro ของฝรั่งเศสว่าฝรั่งเศสจำเป็นต้องหวนกลับไปใช้ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ (monarchy) เนื่องจากระบบประชาธิปไตยไร้ความสามารถและนำพาประเทศดิ่งเหว”

รัฐมนตรีนาย Emmanuel Macron บอกว่ารู้สึกเสียใจที่ระบอบกษัตริย์หายไปจากการเมืองของฝรั่งเศส และหนังสือพิมพ์ Le Figaro อ้างคำพูดของเขาว่า “ประชาธิปไตยมักจะหมายถึงความไม่สมบูรณ์บางอย่าง เนื่องจากมันไม่เพียงพอในตัวเอง” (Democracy always implies some kind of incompleteness because it isn’t sufficient in itself.)

Emmanuel Macron กล่าวต่อว่า “ชีวิตทางการเมืองของฝรั่งเศสกำลังสูญเสียภาพ (บุคคล) ที่เข้มแข็งไป (เรื่อยๆ) คนบางคนที่มีความเด็ดเดี่ยวในการนำพาฝรั่งเศส มันเป็นช่วงเวลาที่นโปเลียนใหม่จะปรากฎขึ้นมา” (French political life is missing a strong figure, someone who could decisively lead France. It’s the moment a new Napoleon appears)

Emmanuel Macron กล่าวกับนิตยสาร Le 1 Hebdo อีกว่า “นับตั้งแต่การจากไปของนายพล Charles de Gaulle ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นำในรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี และลักษณะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศส”

รายงายข่าวบอกว่า Emmanuel Macron ไม่ใช่นักเมืองฝรั่งเศสคนแรกที่ออกมากวิพากษ์วิจารณ์ความอ่อนแอและการไม่กล้าตัดสินใจของประธานาธิบดี Francois Hollande ของฝรั่งเศสคนปัจจุบันอย่างเปิดเผย Valery Giscard d’Estaing อดีตปธน.ของฝรั่งเศสก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ปธน. Hollande ว่าถูกจูงจมูกโดยกรุงวอชิงตัน และทำตามที่ทำเนียบขาวสั่งให้ทำ แทนที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติของตัวเอง


ภายหลังจากที่นาย แอมานุแอล มาครง ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา  โดย เขามีคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยมารีน เลอ แปน ที่มีคะแนนตามมาเป็นอันดับสอง มาครงได้ลงแข่งขันกับเลอ แปน ในการเลือกตั้งรอบที่สองเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม และได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย ณ อายุ 39 ปี เขากลายเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสและกลายเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสที่มีอายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยนโปเลียน

“Emmanuel Macron and the restoration of French monarchy” อ้างอิง https://blogs.spectator.co.uk/2017/07/emmanuel-macrons-restoration-french-monarchy/

และดูเหมือนว่าข่าวลือ เกี่ยวกับความตั้งใจของ นาย แอมานุแอล มาครง จะดูมีความเป็นจริงยิ่งขึ้นเมื่อปรากฏข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 4  ก.ค.60 นาย แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส   ก็ได้ปรากฏบนสื่ออีกครั้ง คราวนี้ปรากฏใน สำนักข่าว เดอะ สเปกเตเตอร์ (The Spectator) ของอังกฤษ ระบุ พาดหัวว่า  “Emmanuel Macron and the restoration of French monarchy” แปลว่า (“แอมานุแอล มาครง และการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศส”)

ข่าวดังกล่าวพูดถึง การปรากฏตัวของ นาย แอมานุแอล มาครง เมื่อวันที่ 3ก.ค.60  ที่พระราชวังแวร์ซายเพื่อเข้าร่วมประชุมของสมัชชาแห่งชาติซึ่งขณะนี้เขามีอำนาจอยู่อย่างสมบูรณ์  นาย แอมานุแอล มาครง ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาครั้งประวัติศาสตร์ ราวหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยให้ความเห็นว่า  เขาต้องการปฏิรูปสถาบันทางการเมืองในฝรั่งเศสอย่างลึกซึ้ง  อีกทั้งปฏิรูปเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของฝรั่งเศส ภายใต้แนวทางใหม่ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อกอบกู้เกียรติยศของฝรั่งเศส โดยมีเขาเป็นศูนย์กลาง  และตัดลดจำนวนสมาชิกรัฐสภาลงหนึ่งในสาม

 

***ทั้งนี้ ข่าวต่างประเทศหลายสำนัก ยังระบุว่า การจัดแถลงนโยบายที่พระราชวังแวร์ซายส์ของนายมาครง ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะจากนักการเมืองฝ่ายค้าน เช่นนายฌอง-ลุค เมลองชง อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวตำหนิว่า นายมาครงนั้นกระทำการล้ำเส้นไป โดยทำตัวเฉกเช่นกษัตริย์ สื่อมวลชนบางสำนักให้ฉายากับ นาย แอมานุแอล มาครง  ว่าเป็นนโปเลียนยุคใหม่***

สำนักข่าว เดอะ สเปกเตเตอร์ (The Spectator) เจาะประเด็นไปที่ผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่ฐานเสียงของ นาย แอมานุแอล มาครง โดย สัมภาษณ์ส่วนหนึ่งในผู้คนที่ไม่ได้เลือกมาครงในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด  ซึ่งผู้สังเกตการณ์บางคนดังกล่าวให้สำภาษณ์ ระบุว่าแม้จะไม่ได้เลือกมาครงในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดก็ตามแต่ดูเหมือนว่า เขาอาจจะเห็นความหวังในการปฏิรูปการเมืองในแบบที่ต้องการ  ส่วนกลุ่มฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงที่ต่อต้านนาย มาครงนั้นกลับคิดไปว่าการได้อำนาจของมาครง นั้นละม้ายคล้าย”การรัฐประหารด้วยการเลือกตั้ง”ที่ได้มาจากอำนาจการสนับสนุนของสื่อมวลชนและผู้มิอิทธิพลทางการเมือง และอาจจะถูกชักใยจากผู้มิอิทธิพลเหนือรัฐบาลในประเทศฝรั่งเศส (French deep state)แต่ถ้าคนส่วนใหญ่รู้สึกประทับใจกับความกล้าหาญและความมักใหญ่ใฝ่สูงของมาครง ประชาชนส่วนใหญ่อาจจะต้องยอมรับว่าเขาเองอาจจะไม่เข้าใจกับ”วาทกรรม”ของนายมาครง อย่างลึกซึ้ง

นาย โบอูเล็ม แซนซาล

นาย โบอูเล็ม แซนซาล (Boualem Sansal) นักเขียนนวนิยายชื่อดัง ชาวอัลจีเรียที่เขียนเรื่อง “รัฐที่เปลี่ยนแปลงไป” ของฝรั่งเศส ใน www.nytimes.com ก็เชื่อว่า นักการเมือง, ผู้มีอำนาจนำรัฐธรรมนูญสื่อมวลชน,ศิลปิน,นักสำรวจและผู้นำทางสังคม ต่างก็ยกนาย แอมานุแอล มาครงให้เป็น  “พระเอกที่ไม่สามารถเอาชนะได้”ระบอบการปกครองนั้น   ‘ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย หรือ ไม่ใช่เผด็จการ” แต่ก็ยังไม่มีชื่อ  ชื่อเรียกอาจจะผสมกัน ระหว่าง”ระบอบประชาธิปไตย” “เผด็จการ” และ “พตูโตเครซี่”ก็อาจจะเป็นไปได้

นี่อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นการบรรลุชัยชนะทั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติ ของ  นาย แอมานุแอล มาครง

นาย โบอูเล็ม แซนซาล ยังกล่าวว่า เราคงต้องติดตามสุนทรพจน์ของ  นาย เอดัวร์ ฟีลิป  (Edouard Philippe)  นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนาย แอมานุแอล มาครงต่อไป เพื่อหาประเด็นแก่นแท้ในนโยบาย ของ นาย แอมานุแอล มาครง แต่ไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ที่สงสัยทั้งหลายเข้าไปตรวจสอบ เพราะ แม้ว่า นาย แอมานุแอล มาครง อาจอ้างตัวว่าความเป็นศูนย์กลาง แต่นักการเมืองผู้มีสัญชาตญาณเผด็จการของเขาแทบจะไม่สามารถปกปิดได้ เขาตั้งใจที่จะใช้เสียงส่วนใหญ่ที่ครอบงำในสมัชชาแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมายให้อำนาจในการกำหนดการปฏิรูปคณะกรรมาธิการชุดพิเศษ เขาได้สัญญาว่าจะยุติภาวะฉุกเฉินในฝรั่งเศส แต่ในเวลาเดียวกันจะรวมเอาลักษณะการปราบปรามหลายอย่างไว้ในกฎหมายทั่วไป

นาย โบอูเล็ม แซนซาล  ยังคงเตือนอีกด้วยว่า” ระบอบ มาครง “มีความเสี่ยงที่ อาจหรือไม่อาจเป็นแนวทางที่สามารถนำพาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปสู้ทางที่ดีขึ้น แต่อะไรคือสิ่งที่ต้องจ่ายเพื่อเสรีภาพความเท่าเทียมและภราดรภาพ? ระวังสิ่งที่คุณต้องการ