ทั้งคู่เป็นบุตรของเจ้าชายอี คัง (Lee Kang) โอรสองค์ที่ 5 ของจักรพรรดิโกจง (Gojong) และอนุชาของที่ไม่เห็นชอบกับการครองราชย์ของเธอ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อี ซก (Lee [หรือ Yi] Seok) น้องชายร่วมบิดาซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูสถานะของราชวงศ์จักรพรรดิซุนจง (Sunjong) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของโชซอน โดยเจ้าชายอี คังมีชายาและสนมจำนวนมาก จึงมีทายาทมากกว่ายี่สิบคน ซึ่งอี แฮ-วอน อ้างว่า เธอคือบุตรคนโตของเจ้าชายองค์นี้ที่ยังมีชีวิตรอดอยู่
อี แฮ-ว็อน เป็นเชื้อพระวงศ์ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งเกาหลี ขณะเดียวกันก็ทรงดำรงพระฐานะเป็นประมุขแห่งราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี ลำดับที่ 5 หรือประมุขลำดับที่ 30 แห่งราชวงศ์โชซอน ด้วย โดยพระนางเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 2 ในเจ้าชายอึยฮวา พระราชโอรสลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าโกจง) พระราชมารดาคือ เจ้าหญิงท็อกอิน
พระราชประวัติ
เจ้าหญิงแฮ-ว็อนแห่งเกาหลี หรือปัจจุบันคือ ลี แฮ-ว็อน ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ณ พระราชวังซาดง กรุงโซล ประเทศเกาหลี (ขณะนั้นเกาหลียังเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น) และเป็นพระธิดาในเจ้าชายอึยฮวา พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิโกจงแห่งจักรวรรดิเกาหลี กับพระสนมควีอิน ตระกูลยาง แห่งพุกนยอง ส่วนพระมารดาคือ เจ้าหญิงท็อกอิน พระนางมีพระพี่น้องรวมกันทั้งหมด 21 พระองค์ โดยพระนางเป็นพระธิดาลำดับที่ 7 ทรงเจริญพระชันษา ณ พระราชวังคยองฮึยกุง กรุงโซล และทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมคยองจี ใน พ.ศ. 2479
ต่อมาพระนางทรงอภิเษกสมรสกับนายอี ซุงยู ซึ่งต่อมาถูกรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ลักพาตัวไปในช่วงสงครามเกาหลี พระนางมีพระโอรส 3 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์
เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายโฮอุน (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งเกาหลี ลำดับที่ 29) เจ้าหญิงแฮ-ว็อนจึงได้รับการสนับสนุนจากคณะราชนิกูลที่เห็นว่าทรงมีอาวุโสสูงสุดในราชวงศ์ ให้ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อขึ้นเสวยราชย์เป็น “ประมุขแห่งราชวงศ์โชซอน” และอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิต่อจากเจ้าชายโฮอุน ซึ่งพระนางก็ทรงเรียกพระองค์เองว่า “จักรพรรดินีแห่งเกาหลี” (Empress of Korea) โดยพระนางจะทรงเป็นประมุขแห่งราชวงศ์จักรพรรดิลำดับที่ 5 หรือประมุขแห่งราชวงศ์โชซอน ลำดับที่ 30 นอกจากนี้ พระนางยังทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีพระองค์แรกที่ขึ้นเสวยราชย์ในเกาหลีด้วย (นับเฉพาะสมัยราชอาณาจักรโชซอน ถึงจักรวรรดิเกาหลี) โดยการขึ้นเสวยราชย์ครั้งนี้ พระนางทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการ
การเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีของพระนางในครั้งนี้ ได้ดำเนินการภายในโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงโซล โดยมีที่ทำการราชวงศ์ที่มีชื่อว่า Imperial Family Association of Daehanjeguk (สมาคมราชวงศ์แห่งจักรวรรดิเกาหลี) ในอาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้นิยมจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและผู้นำทางวัฒนธรรม แต่รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐเกาหลีก็ยังมิได้เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือให้การรับรองพระสถานะแต่อย่างใด การครองราชย์ของพระนางจึงเป็นโดยทางพฤตินัยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศของ อี แฮ-วอน, อี ซก ได้ออกมาให้ความเห็นว่า เขาไม่ได้สนใจว่าพี่สาวของเขาจะเป็นจักรพรรดินีหรือไม่ แต่ว่าสมาคมราชสกุลไม่ได้ให้การรับรองการประกาศในครั้งนี้ [ทางสมาคมฯ ประกาศให้ อี วอน (Lee Won) ลูกชายคนโตของลูกชายคนที่ 9 ของเจ้าชายอี คัง เป็นผู้สืบทอด] ส่วนตัวเขาแม้จะได้รับการเชิญให้ร่วมพิธีแต่ก็ได้ปฏิเสธไป เพราะไม่รู้ถึงเบื้องหลังการจัดการดังกล่าว และเขาคิดว่า ก่อนการประกาศเช่นนั้นควรมีการปรึกษาหารือกับสาธารณะถึงสถานะของจักรวรรดิและราชวงศ์เสียก่อน ซึ่งภายหลัง ลี ซก ก็กลายมาเป็นผู้นำในการรณรงค์ล่ารายชื่อ 1 ล้านรายชื่อในการสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อประโยชน์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
สำนักโพลในสาธารณรัฐเกาหลีได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป พบว่า ร้อยละ 54.4 สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในประเทศโดยให้มีฐานะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ ทั้งนี้ เจ้าหญิงแฮ-ว็อนแห่งเกาหลี ก็ทรงมีศักดิ์และสิทธิเป็นจักรพรรดินีอย่างถูกต้องตามธรรมเนียม พิธีการ และพฤตินัย เนื่องจากเป็นผู้สืบทอดของเจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งเกาหลีพระองค์ก่อน ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2548 เพียงแต่ทรงขาดสถานะการเป็นประมุขแห่งรัฐเท่านั้น
ปัจจุบัน ตามรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) บัญญัติว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชนในรัฐเท่าเทียมกัน รวมถึงบรรดาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใดๆ ไม่ได้เป็นการแสดงถึงฐานะที่สูงกว่า ทำให้พระนางไม่ได้มีพระฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ยังทรงไว้ซึ่งประธานแห่งศาสนจักรเกาหลี
หากเมื่อไหร่ที่รัฐบาลสามารถหาทางออกในรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องประมุขเเห่งรัฐได้พระนางจะเป็นจักรพรรดินีแห่งเกาหลีอย่างเต็มตัวทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย