เมื่อ ปีที่แล้ว (พ.ศ.๒๕๕๙) เกิดกรณีที่เกิดขึ้นกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติตัวของเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ต่อวิธีการลุกขึ้นไปโค้งคำนับพระบรมราชานุสาวรีย์ 2 รัชกาล ภายใน พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ
และไม่เกินความคาดหมายอีกเช่นกันว่า นายเนติวิทย์ก็คงพยายามจะหาเหตุผลมาหักล้างคำตำหนิ ติเตียนในทุกมติ แม้ว่าคำติติงเหล่านั้นจะเกิดขึ้นด้วยเจตนาหวังดี หรือ เพื่อให้นายเนติวิทย์ยับยั้งชั่งใจ ไม่ทำให้สถานการณ์ขัดแย้งบานปลาย กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลที่มีทัศนคติเป็นอันตรายต่อสถาบันเบื้องสูง หยิบฉวยไปขยายความให้เกิดประโยชน์ในเชิงลบต่อประเทศชาติ และราชบัลลังก์
รวมถึงไม่เกินความคาดหมายว่า ที่พึ่งสุดท้ายของนายเนติวิทย์ในการทำให้ความคิดอ่านของตนเองมีน้ำหนักเพียงพอ ต่อการทัดทานกระแสการตำหนิ ติเตียน และการแสดงความเห็นในมิติที่แตกต่าง ก็คือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ เจ้าของนามปากกา ส. ศิวรักษ์ ในฐานะประธานที่ปรึกษาสถาบันยุวชนสยาม ซึ่งนายเนติวิทย์เคยทำหน้าที่เป็นรองประธานสถาบันฯ และใกล้ชิดกับส.ศิวรักษ์ มานานหลายปี มาอัตถาธิบายยืนยันความถูกต้องในหลักคิด จากสิ่งนายเนติวิทย์เลือกกระทำระหว่างที่นิสิตจุฬาฯหลายพันคน กำลังเข้าสู่พิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ
หากได้ติดตามข่าว “ย้อนรอยประวัติ”ปธ.สภาเด็กฯ”หมิ่นสถาบันฯ โยง สถาบันยุวชนสยาม มี เนติวิทย์เป็นรองประธาน และ ส.ศิวรักษ์เป็นที่ปรึกษา. ก็จะพบว่า นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ เนติวิทย์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ผ่าน”สถาบันยุวชนสยาม” ส่วน นาย อภิชาติ พงษ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งสองนั้นก็เคยถูกจับกุมในคดี ความผิด ขัดกฎอัยการศึก-ขัดคำสั่ง คสช. ที่หอศิลป์ กทม(ศาลยกฟ้องในภายหลัง) และ มีการโพส ที่เข้าข่ายความผิด มาตรา 112 อีกเช่นกัน
ว่าที่ ร.ต. อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ เดิมทีมีตำแหน่งเป็นอดีตที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการด้านเด็กและเยาวชน วุฒิสภา และ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 อภิชาติ พงษ์สวัสดิ์ ยังได้เคยร่วมกับ กลุ่ม กลุ่มพลเมืองโต้กลับ จัดการอภิปรายวิชาการ หัวข้อ “องค์กรตุลาการในสถานการณ์พิเศษ” ร่วมกับ พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ:พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ:ปิยบุตร แสงกนกกุลดำเนินรายการโดย อานนท์ นำภา ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 ตึกอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์
ในขณะที่นายเนติวิทย์เคยให้ข้อมูลว่า “รู้จักกับ ส.ศิวลักษณ์มานานานราว 3 ปีแล้ว โดยรู้จักผ่านการอ่านหนังสือจนต่อมาได้เจออาจารย์สลักษณ์ครั้งแรก ในงานศพลูกชายอาจารย์ปรีดี เนื่องจากตนเป็นคนสนใจเรื่องศาสนา และอาจารย์สุลักษณ์ ก็มีงานเขียนเรื่องศาสนาไม่ใช่น้อย ในมุมที่ค่อนข้างก้าวหน้า ต่อมาตนทำจุลสารปรีดีก็เลยได้สัมภาษณ์อาจารย์ ติดต่ออาจารย์ ได้คุยกัน ตอนหลังอาจารย์ก็เลยให้ทำปาจารยสาร”
อย่างไรก็ตามสัมพันธภาพระหว่าง นายเนติวิทย์ กับ ส.ศิวรักษ์ ไม่ใช่ประเด็นใหญ่โต แต่ที่น่าสนใจก็คือรสนิยมทางความคิดของบุคคลทั้งสองที่เกิดกันคนละยุคสมัยกลับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถึงขั้นเคยมีการแลกเปลี่ยนประเด็นอันสำคัญที่ถือเป็นทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ เมื่อเดือนก.ค. ปี 2556 ว่าด้วยการเคารพธงชาติ ซึ่งนายเนติวิทย์เปิดประเด็น การยกเลิกการเคารพธงชาติและสวดมนต์ ก่อนเข้าเรียน และเชื้อเชิญ ส.ศิวรักษ์มายืนยันความถูกต้องในสิ่งที่ตนเองคิด
และส.ศิวรักษ์ได้ตอบกลับนายเนติวิทย์ ความบางช่วงบางตอนว่า “การเคารพธงชาติมาพร้อมกับความเป็นเผด็จการ เวลานั้นประเทศเยอรมันก็เคารพธงชาติ ประเทศญี่ปุ่นก็เคารพธงชาติ ประเทศอิตาลีก็เคารพธงชาติ ตอนนี้เขาเลิกหมดแล้วหลังแพ้สงคราม เพราะเป็นเครื่องหมายของเผด็จการ ไม่ใช่ของดีเลย ในเนื้อเพลงชาติไทยที่ว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” ก็เป็นถ้อยคำที่โกหกยิ้ม เพราะในประเทศเรามีชาติเชื้อจีน ชาติเชื้อแขก ชาวเขาเผ่าต่างๆ เต็มไปหมดเลย เพราะฉะนั้น ควรเลิกการเคารพธงชาติได้แล้ว เพราะตราบใดที่ยังเคารพธงชาติอยู่ แสดงว่าเราสยบยอมต่ออำนาจ ยอมให้ทหารเป็นรัฐภายในรัฐ ….”
และหลังจากนั้นนายเนติวิทย์ก็ขับเคลื่อนแนวความคิดนี้มาโดยตลอดและรุนแรงถึงขีดสุด จากการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คในเดือนธ.ค. 2556
ที่น่าสนใจก็คือ กับมิติความคิดระหว่างส.ศิวรักษ์ กับ นายเนติวิทย์ในหลายเรื่องดูเหมือนว่าแทบจะถอดภูมิกันมาเลยทีเดียว อาทิเช่น เมื่อครั้ง ส.ศิวรักษ์ ข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยคณะสภาหน้าโดม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2557 และมีการพูดจากล่าวหาหมิ่นประมาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เข้าข่าย “หมิ่นเบื้องสูง”