จากภาพคือ “วังวินเซอร์” หรือ “วังประทุมวัน” (ภาพด้านขวา) สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ภายหลังได้รับสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” และ (ภาพด้านซ้าย) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
.
ภาพวังที่ตั้งตระง่านเด่นอยู่กลางทุ่งนี้คือ “วังวินด์เซอร์” หรือ “วังประทุมวัน” หรือเรียกอีกชื่อว่า” วังกลางทุ่ง”เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อจะพระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร ชาวต่างประเทศ ณ ราชกรีฑาสโมสรพบเห็นพระตำหนักแห่งนี้ จึงเรียกตามพระราชวังที่ลักษณะคล้ายกันว่า “วังวินด์เซอร์” หรือที่มาจากพระราชวังวินด์เซอร์ ณ สหราชอาณาจักร
.
การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2424 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยนำแบบของพระราชวังวินด์เซอร์แห่งสหราชอาณาจักรมาย่อส่วน หากทว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หาได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้แต่อย่างใด ด้วยเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2437 เมื่อมีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชวังนี้รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเคยใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวิทยาเขตประทุมวันก่อนการก่อสร้างอาคารบัญชาการ
.
เวลาล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ. 2478 หลังจากพระราชวงศ์ถูกยึดอำนาจจากคณะราษฎร เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระราชวงศ์อยู่ในช่วงถูกลดพระราชอำนาจลงอย่างมาก หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษา ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะหาพื้นที่ก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้น และได้พิจารณาว่าที่ดินบริเวณวังประทุมวันเหมาะแก่การสร้างที่สุด ขณะนั้นบริเวณโดยรอบ ๆ วังเป็นทุ่งนาว่างเปล่า และวังวินเซอร์ไปทับแปลนของสนามกีฬา แต่แค่ “เสี้ยวเดียว” เท่านั้นเอง โดยให้คนนับร้อยชีวิตมารื้อถอนพระตำหนักรวมถึงสิ่งปลูกสร้างโดยรอบออกจากที่ดินแห่งนี้จนหมดสิ้น ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัย ตามชื่อของ”หลวงศุภชลาศัย”
.
เยื้องมาอีกฝั่งเป็นที่ตั้งของวังสระปทุม วังที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ผู้เป็นพระชนนี (แม่) ด้วยความอาลัยที่ต้องสูญเสียพระโอรสไป ดังนั้น วังวินเซอร์ก็เปรียบเสมือนเป็นอนุสรณ์ลูกชาย มองไปไกล ๆ ได้เห็นยอดหลังคาวังก็ทำให้หายคิดถึงได้บ้าง แต่เมื่อรัฐยืนยันจะทำเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงทำได้เพียงประทับอยู่ที่เฉลียงวังสระปทุม ฟังเสียงคนทุบวังลูกอยู่ทุกวัน ด้วยหัวอกคนเป็นแม่ พระองค์ถึงกับทรงตรัสกับนางข้าหลวงผู้ใกล้ชิดว่า “ได้ยินเสียงเขาทุบวังลูกฉันทีไร มันเหมือนกับกำลังทุบใจฉันอย่างนั้น” น้ำเสียงของพระองค์สั่นน้ำพระเนตรคลอด้วยความอัดอั้นตันใจ เล่ากันว่าถ้าไม่จำเป็นพระองค์จะไม่เสด็จผ่านไปทางที่ดินผืนนั้นเลย
.
วังปทุมวันเป็นสถานที่สำหรับเตรียมประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพระองค์ยังเป็นความหวังของรัชกาลที่ 5 เพื่อจะให้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์พระชนม์สั้น สวรรคตไปเสียก่อน
.
และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ยังเป็นพระปิตุลา (ลุง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
.
ที่มา คลังประวัติศาสตร์ไทย
.
ภาพวังที่ตั้งตระง่านเด่นอยู่กลางทุ่งนี้คือ “วังวินด์เซอร์” หรือ “วังประทุมวัน” หรือเรียกอีกชื่อว่า” วังกลางทุ่ง”เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อจะพระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร ชาวต่างประเทศ ณ ราชกรีฑาสโมสรพบเห็นพระตำหนักแห่งนี้ จึงเรียกตามพระราชวังที่ลักษณะคล้ายกันว่า “วังวินด์เซอร์” หรือที่มาจากพระราชวังวินด์เซอร์ ณ สหราชอาณาจักร
.
การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2424 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยนำแบบของพระราชวังวินด์เซอร์แห่งสหราชอาณาจักรมาย่อส่วน หากทว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หาได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้แต่อย่างใด ด้วยเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2437 เมื่อมีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชวังนี้รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเคยใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวิทยาเขตประทุมวันก่อนการก่อสร้างอาคารบัญชาการ
.
เวลาล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ. 2478 หลังจากพระราชวงศ์ถูกยึดอำนาจจากคณะราษฎร เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระราชวงศ์อยู่ในช่วงถูกลดพระราชอำนาจลงอย่างมาก หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษา ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะหาพื้นที่ก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้น และได้พิจารณาว่าที่ดินบริเวณวังประทุมวันเหมาะแก่การสร้างที่สุด ขณะนั้นบริเวณโดยรอบ ๆ วังเป็นทุ่งนาว่างเปล่า และวังวินเซอร์ไปทับแปลนของสนามกีฬา แต่แค่ “เสี้ยวเดียว” เท่านั้นเอง โดยให้คนนับร้อยชีวิตมารื้อถอนพระตำหนักรวมถึงสิ่งปลูกสร้างโดยรอบออกจากที่ดินแห่งนี้จนหมดสิ้น ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัย ตามชื่อของ”หลวงศุภชลาศัย”
.
เยื้องมาอีกฝั่งเป็นที่ตั้งของวังสระปทุม วังที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ผู้เป็นพระชนนี (แม่) ด้วยความอาลัยที่ต้องสูญเสียพระโอรสไป ดังนั้น วังวินเซอร์ก็เปรียบเสมือนเป็นอนุสรณ์ลูกชาย มองไปไกล ๆ ได้เห็นยอดหลังคาวังก็ทำให้หายคิดถึงได้บ้าง แต่เมื่อรัฐยืนยันจะทำเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงทำได้เพียงประทับอยู่ที่เฉลียงวังสระปทุม ฟังเสียงคนทุบวังลูกอยู่ทุกวัน ด้วยหัวอกคนเป็นแม่ พระองค์ถึงกับทรงตรัสกับนางข้าหลวงผู้ใกล้ชิดว่า “ได้ยินเสียงเขาทุบวังลูกฉันทีไร มันเหมือนกับกำลังทุบใจฉันอย่างนั้น” น้ำเสียงของพระองค์สั่นน้ำพระเนตรคลอด้วยความอัดอั้นตันใจ เล่ากันว่าถ้าไม่จำเป็นพระองค์จะไม่เสด็จผ่านไปทางที่ดินผืนนั้นเลย
.
วังปทุมวันเป็นสถานที่สำหรับเตรียมประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพระองค์ยังเป็นความหวังของรัชกาลที่ 5 เพื่อจะให้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์พระชนม์สั้น สวรรคตไปเสียก่อน
.
และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ยังเป็นพระปิตุลา (ลุง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
.
ที่มา คลังประวัติศาสตร์ไทย