ขณะที่ใครหลายๆคนอาจคิดว่า การละเมิดสิทธิเด็ก จะเกิดขึ้นเพียงแต่ในประเทศยากจน และพื้นที่สงครามของโลก ทว่าความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเด็กๆจากประเทศที่เจริญ และเป็นมหาอำนาจของโลก อย่างสหรัฐอเมริกาเอง ต่างก็เผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UNCRC) ซึ่งเป็นเอกสารที่ร่างขึ้นเมื่อปีพศ. 2532 และเป็นเครื่องมือสากล ที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของเด็ก ๆ ผ่านทางการกระทำของรัฐบาล มีผลบังคับตามกฎหมาย และครอบคลุมสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสิทธิพลเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม
( ข้อมูลดังกล่าวนี้ ถูกเขียนขึ้น เมื่อปี 2014)
ประเทศที่ได้ให้สัตยาบัน UNCRC เป็นสีเขียว:
แรงงานเด็กภาคเกษตรกรรม
หนทางหนึ่งที่ทำให้ผู้เยาว์ในสหรัฐอเมริกาได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิเด็ก คือการใช้แรงงานเด็ก – โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ตามที่ระบุโดย Human Rights Watch (HRW) เด็ก ๆ ในสหรัฐฯที่ทำงานในฟาร์มไม่ได้รับการป้องกันอันตรายจากการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรที่เป็นอันตราย รวมทั้งอันตรายอื่น ๆ ในการทำงานในฟาร์ม
มีรายงานมากมาย กรณีเด็กได้รับบาดเจ็บจากการใช้เครื่องมือมีคม เครื่องจักรกล ในการทำงานของพวกเขา และแทบไม่มีเด็กที่ให้สัมภาษณ์กับ HRW ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพ หรือ ด้าน ความปลอดภัย หรือที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ป้องกัน
ข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า การเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้เยาว์โดยในปี 2012 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ทำงานในฟาร์มของสหรัฐฯมากกว่า 1,800 ราย ได้รับบาดเจ็บ และเด็กสองในสามที่เสียชีวิตจากการบาดเจ็บจ คือ แรงงานการเกษตร
กฎหมายแรงงาน
ทำไมเด็กเหล่านี้จึงไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงาน?
กฎหมายได้อนุมัติให้เด็กที่ทำงานในภาคการเกษตร สามารถมีชั่วโมงทำงานยาวนานกว่า ในวัยที่อายุน้อยกว่า ในสภาวะที่เป็นอันตรายมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วยการอนุญาตจากบิดามารดา เด็กอายุสิบสองปี สามารถถูกว่าจ้างได้ไม่จำกัดจำนวนชั่วโมง (นอกเวลาเรียน) ในฟาร์มทุกขนาด และไม่มีการกำหนดเกณฑ์อายุต่ำสุดสำหรับเด็กที่สามารถทำงานได้ในฟาร์มขนาดเล็ก
เด็กที่อายุ 16 ปีสามารถทำงานที่ “เสี่ยงอันตราย” ได้ภายใต้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ภาคการเกษตร แต่ในภาคส่วนอื่น ๆ คนงานต้องมีอายุ 18 ปีถึงจะสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายได้
ในปี 2011 ระเบียบของรัฐบาลกลางเกือบจะได้รับการส่งผ่าน ซึ่งมันจะมีผลจำกัดไม่ให้คนงานอายุ 16 ปี ทำงานในฟาร์มยาสูบ แต่ด้วยอิทธิพลของ Big Agriculture กฎเหล่านี้จึงถูกยกเลิกไป
ยาสูบ
ไม่มีสถานที่ใดที่เป็นพิษสำหรับเด็กที่ทำงานในสหรัฐอเมริกามากไปกว่าในฟาร์มยาสูบ ที่ซึ่งเด็ก ๆ ไม่เพียงแค่ต้องสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืชและเครื่องจักรกลที่มีอันตรายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสัมผัสกับสารนิโคตินในยาสูบ
เด็กหลายแสนคนทำงานในภาคการเกษตรของสหรัฐฯทุกปี – แต่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนงานที่เด็กจะต้องทำในฟาร์มยาสูบ เด็กส่วนใหญ่สามารถทำงานเพื่อแลกค่าแรงขั้นต่ำเพียงเท่านั้น – ขณะที่เด็กที่เหลือได้รับค่าจ้างน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ
ในการสัมภาษณ์โดย HRW เด็กหลายคนรายงานว่า พวกเขาเริ่มทำฟาร์มยาสูบเมื่ออายุ 11 หรือ 12 ปี ในช่วงฤดูร้อนเพื่อช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวของพวกเขา เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นบุตรชายและหญิงของผู้อพยพชาวสเปน
ฟาร์มยาสูบเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็ก เนื่องจากพวกเขาสัมผัสกับสารนิโคติน และสารที่เป็นพิษ ซึ่งมักจะถูกพ่นในอากาศเพื่อปกป้องพืช มีรายงานจากเด็ก ๆ ที่มีอาการอาเจียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะและเวียนศีรษะ – เหล่านี้ คือ ลักษณะอาการเป็นพิษจากสารนิโคติน นิโคตินดูดซึมผ่านผิวหนัง ในขณะที่เด็กเหล่านี้กำลังรวบรวมและจัดการกับใบยาสูบ
ในภาคส่วนนี้ เด็ก ๆ ได้รายงานว่าต้องทำงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง (50-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ในสภาวะความร้อนสูง ที่มีเงากำบังเพียงน้อยนิด หรือแทบจะไม่มีเลย และยังไม่มีเวลาพักเพียงพอ และอุปกรณ์ป้องกันก็มีน้อย หรือแทบไม่มีเลย
สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในฟาร์มยาสูบหลายแห่ง ยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็ก เนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร neurotoxins ที่สามารถส่งผลปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาท และนำไปสู่ผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง มีปัญหาด้านการเรียนรู้ และปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ และสุขภาพด้านการเจริญพันธุ์ การสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูพืช และนิโคตินเป็นอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากร่างกายและสมองของพวกเขายังคงเติบโตและเติบโตอย่างรวดเร็ว
กฎหมายบอกว่า บุคคลไม่สามารถ ซื้อยาสูบได้ จนกว่าจะอายุครบ 18 ปี แต่เด็ก ๆ ทั่วตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปลูกต้นยาสูบได้รับการอนุมัติให้ทำงานรับจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายในฟาร์มยาสูบตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อร้อยละ 90 ของใบยาสูบ ถูกปลูก ในบริเวณของรัฐ North Carolina, Kentucky, Tennessee และ Virginia
Source: https://www.humanium.org/en/child_labor_usa-2/