คำพิพากษาฎีกาที่ 15386/2558
(พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
นายสิทธิชัยหรอโบ๊ท หรือโบ้ท มงคลทอง จำเลย)
วิธีพิจารณาความอาญา พยานบอกเล่า รับฟัง (มาตรา 226/3) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 (มาตรา 3 )
แม้คำให้การในชั้นสอบสวนและบันทึกรับสารภาพด้วยลายมือ ของ อ. ที่ว่า อ. ซื้อเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปีนจากจำเลยโดยติดต่อ ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์เฟชบุ๊กของจำเลย และโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย เป็นคำซัดทอดผู้ที่กระทำ ความผิดด้วยกันแต่ก็มิได้กระทำเพื่อให้ตนเองพ้นผิดจากความผิด และมีข้อเท็จจริงทั้งเฟซบุ๊กของจำเลยและรายละเอียดบัญชีธนาคารของ จำเลยที่ อ. โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระค่าเมทแอมเฟตามีนและอาวุฐปีน เป็นข้อเท็จจริงแวดล้อมประกอบทำให้น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงใด้ คำให้การของ อ. ดังกล่าวจึงรับฟังได้ยิ่งกว่าคำเบิกความเป็นพยานโจทก์ ต่อคาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ฎีกาวินิจฉัยว่า ‘’ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมนายอาทิตย์หรือโก๋ วาทิตตาคม ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 8 ถุง และ อาวุธปืนขนาด .22 แบบลูกโม่ 1 กระบอก พร้อมกระสุนปืน 19 นัด เป็นของกลาง นายอาทิตย์ได้ให้การซัดทอดว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปืนจากจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจจึงออกหมายจับและต่อมาจับจำเลยได้ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาคาลอุทธรณ์ หรือไม่ โจทก์มีพันตำรวจโทชาญศักดิ์ ประสาทไทย และร้อยตำรวจ เอกวันชัย ศรีแสนตอ เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมนายอาทิตย์เป็น พยานเบิกความตรงกันว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 08.40 น. ขณะที่พยานโจทก์ทั้ง สองกับพวกกำลังตรวจค้นในซอยเจริญรัก 18 แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร นายอาทิตย์ขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาจึงขอตรวจค้น พบเมทแอม- เฟตามีน อาวุธปีนและเครื่องกระสุนของกลาง นายอาทิตย์รับว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปืนจากจำเลย,โดยติดต่อทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของจำเลย ตามภาพถ่ายเฟซบุ๊กเอกสารหมาย จ.10 และนายอาทิตย์ชำระเงิน โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาเจริญนคร 36 ของจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจสอบหมายเลขบัญชีดังกล่าวและมีรายการฝากถอน และ พ.ต.ท.บัณฑิตย์ จันทน์เทศ พนักงานสอบสวนให้การเบิกความว่าคำให้การนายอาทิตย์ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี นายอาทิตย์ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 ในราคา 16,000 บาท ตามคำให้การในชั้นสอบสวนของนายอาทิตย์ ซึ่งคำให้การดังกล่าวนายอาทิตย์รับว่าได้ติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมานานประมาณ 8 เดือนซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เห็นว่านอกจากคำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวแล้ว นายอาทิตย์ยังเขียนคำให้การรับสารภาพด้วยลายมือของตนเอง โดยมีรายละเอียดเรื่องหมายเลขโทรศัพท์และหมายเลขบัญชีของธนาคารของจำเลยที่นายอาทิตย์โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระค่าซื้อเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปืนตรงกันกับบัญชีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนเจริญนคร 36 ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี แต่ที่นายอาทิตย์เบิกความเป็นพยานโจทก์ต่อศาลว่า ไม่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย เคยซื้อาวุธปืนและเขียนบันทึกคำรับสารภาพแบบมั่วๆ เนื่องจากกลัวว่ามารดาและบุตรของนายอาทิตย์ จะถูกทำร้ายนั้นเป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้าหนักและเหตุผลเชื่อว่าที่นายอาทิตย์เบิกความเช่นนั้นเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิด ข้อเท็จจริงเชื่อว่าเป็นดังที่นายอาทิตย์ให้การ,ในชั้นสอบสวนและเขียนบันทึกรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ. 14 และ 16 แม้คำให้การของนายอาทิตย์ดังกล่าวเป็นคำซัดทอดผู้ทีกระทำความผิดด้วยกัน แต่ก็มิได้กระทำเพื่อให้ตนเองพ้นผิดจากความผิด และมีข้อเท็จจริง ทั้งเฟซบุ๊กของจำเลยและรายละเอียดบัญชีธนาคารของจำเลยท นายอาทิตย์โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระค่าเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปีนตามเอกลารหมาย จ.10 และ จ. 13 เป็นข้อเท็จจริงแวดล้อม ประกอบทำให้น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ คำให้การของนายอาทิตย์ ดังกล่าวจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเลพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 นอกจากนี้เมื่อตรวจดูรายละเอียดของบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเอกสารหมายเลข จ.13 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 มีรายการฝาก 337 รายการ เป็นเงิน 5 ล้านกว่าบาท มีรายการถอน 343 ราย เป็นเงินห้าล้านกว่าบาทเช่นกัน ซึ่งจากการตรวจสอบและทางนำสืบของจำเลย จำเลยจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อาชีพรับจ้างไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงมีรายการถอนและฝากเงินมากเช่นนั้น เชื่อว่าจำเลยมีรายได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและอาวุธปืนจริง และแสดงให้เห็นว่าจำเลยและนายอาทิตย์มีความสัมพันธ์ต่อกันรับฟังได้ตามที่จำเลยบันทึกรับสารภาพและให้การชั้นสอบสวน ทั้งขณะที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนได้สอบสวนต่อหน้านางมารศรีมารดาของจำเลย นางมารศรีก็เบิกความยอมรับว่าได้อยู่ด้วยขณะที่จำเลยให้การรับสารภาพตามเอกสาร หมาย จ.11 แต่อ้างว่าไม่ได้อ่านข้อความ จึงเชื่อว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพไปโดยสมัครใจมิได้ถูกบังคับขู่เข็ญ พยานหลักฐานของ โจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคง พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีนํ้าหนักหักล้าง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่นายอาทิตย์ จำเลยจึงมีความผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
—————————————————————
คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจว่าศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากในเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเรื่องนี้ ในการสอบสวนนั้นการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด ดังนั้น การรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากเฟซบุ๊กจึงไม่น่าจะมีปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ว่าศาลจะรับฟังแค่ไหนนั้น คงต้องพิจารณาดูความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น โดยเอนกุส เอ็ม มาแชล ( Angus M. Marshall ) ได้กล่าวถึงพยานหลักฐานดิจิตอลหรือได้มาจากดิจิตอลว่า[1]
ส่วนกรอบแนวความคิดหนึ่งในการสร้างพยานหลักฐานในระบบดิจิตอลขึ้นมาเพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสอบสวนนั้นคือกรอบแนวความคิดในการรักษาความมั่นคงของของข้อมูลโดยพิจารณาจากองค์รวมในเรื่องความมั่นคง ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ กล่าวคือ.-
(1) ตัววัตถุพยานหรือสสาร (Entity) คือ วัตถุที่เราสามารถเก็บหรืออยู่ในระบบซึ่งอาจเป็นวัตถุที่แสดงไปถึงระบบภายนอกหรือภายในระบบ วัตถุหรือสสารอาจเป็นบุคคล,องค์กรหรือรูปแบบอื่นของวัตถุรวมถึงพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ของ วัตถุหรือสสารเหล่านั้น ในคดีนี้คือข้อความที่เป็นการติดต่อทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของจำเลย ซึ่งโดยปกติเจ้าหน้าที่ผู้สืบสวนสอบสวนจะพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ
(2) สภาพแวดล้อม คือสิ่งที่เป็นกรอบหรือขอบเขตของวัตถุเช่น กฎเกณฑ์, ศีลธรรมหรือข้อบังคับ ความสามารถทางเทคนิคและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากร การวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องสภาพแวดล้อมโดยดูว่ามีการฝ่าฝืนหรือผิดธรรมชาติในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีความเป็นไปได้ว่าจำเลยสามารถใช้เฟซบุคในการติตต่อซื้อขายยาเสพติดและอาวุธปืนได้ ก็ถือว่าไม่ขัดกับสภาพแวดล้อมนั้น
(3) องค์กรที่จะแสดงให้เห็นถึงกรอบโครงสร้างซึ่งอนุญาตให้มีการควบคุม, การบังคับใช้หรือความสัมพันธ์ภายในของ วัตถุ ในคดีนี้ไม่มีปัญหาเพราะว่าเฟซบุคไม่ได้ตรวจสอบการติดต่อสื่อสารเรื่องดังกล่าว การกระทำความผิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
(4) โครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนกิจกรรมภายในองค์กร ในเรื่องการสอบสวนแล้วโครงสร้างพื้นฐานก็เปรียบเสมือนสถานที่เกิดเหตุในคดีอาญาที่จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เราต้องการ โดยเราควรมีแผนที่ของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวเพื่อระบุถึงขอบเขตของส่วนประกอบที่ต้องการ
(5) กิจกรรม หมายถึงงานที่ทำเสร็จไปแล้วหรือกำลังดำเนินการ ซึ่งอาจเป็นเรื่องการดำเนินการที่เป็นกิจกรรมเดียวหรือหลายกิจกรรมประกอบกัน ในคดีนี้หมายถึงกิจกรรมที่มการสั่งซื้อ
(6) วิธีการ ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของกิจกรรมว่ามีการดำเนินการอย่างไร และ
(7) ข้อมูล โดยจะดูว่าวัตถุมีการดำเนินการอย่างไรในระบบ
ประเด็นก็คือความสัมพันธ์ระหว่างข้อความในเฟซบุ๊คกับพยานหลักฐานทางกายภาพและพยานบุคคล หากพยานหลักฐานทางกายภาพและพยานบุคคลมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้พยานหลักฐานที่ได้มาทางอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่านั้น
——————————————————————–
[1] Angus M. Marshall, 2008. Digital Forensics Digital Evidence in Criminal Investigation. Oxford: Wiley-Blackwell, pp.56 -59.