สังคมไทยแต่ละภูมิภาคต่างดำรงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอด มา มีทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพื้นที่ ที่แตกต่างจากสังคมไทยในภูมิภาคอื่นๆ หลายประการ สังคมไทยในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ผ่านมาเราอยู่ร่วมกันอย่างเข้าอกเข้าใจกัน ดำเนินวิถีชีวิตร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอด ด้านศิลปวัฒนธรรมของสังคมสามจังหวัดชายแดนใต้ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมกันได้อย่างกลมกลืน
ชาว บ้านส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนใต้จะมีสายสัมพันธ์ที่เป็นเครือญาติกัน ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยพุทธและมุสลิมมีความเป็นเพื่อน มีการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่วนในความสัมพันธ์ด้านชุมชน คือมีการประชุมร่วมกันมีการไปมาหาสู่กัน ถึงแม้จะรู้สึกกลัวกับเหตุการณ์ปัจจุบันภายในหมู่บ้านแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ จะนับถือศาสนาอิสลาม และชาวไทยพุทธมีจำนวนประชากรน้อยกว่า แต่ก็อาศัยอยู่ร่วมกันมาได้มาจนถึงปัจจุบัน บางหมู่บ้านที่ประชากรไทยพุทธมีจำนวนน้อย แต่กลับได้รับความเชื่อถือจากชาวไทยมุสลิมให้ได้รับเป็นผู้ใหญ่บ้านและจะ ดูแลลูกบ้าน จากความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้ง และความรุนแรงในพื้นที่อยู่
อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในพื้นที่ ทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้แต่การสร้าง สายสัมพันธ์ของชาวไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังคงมีความรัก ความผูกพัน ความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป รวมถึงการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยหวังว่าจะนำความสงบสุขใน พื้นที่กลับมาอีกครั้งเพื่อให้เป็นสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ดึงดุดความน่าสนใจ ด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายในสามจังหวัดชายแดนใต้
เพราะเหตุใด? เราจึงต้อง “รักและถนุถนอมกันและกัน” เหตุผลแจ้งชัดว่า เราอยู่คนเดียวในโลกนี้ไม่ได้ เรายังต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และเรายังต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน และที่สำคัญ เราต่างก็เป็นคนไทยเหมือนกัน
ภาพ ณ มัสยิดกรือเซะ ปัตตานี