หลายๆคนที่เคยเดินทางไปในต่างประเทศแล้ว อาจจะได้พบกับอนุเสาวรีย์รูปปั้นช้างสำริดในสถานที่สำคัญๆ แต่อาจจะไม่ทราบประวัติความเป็นมา และความสำคัญ วันนี้เราจะมาอธิบายกันอย่างคร่าวๆครับ
หากใครได้ติดตามหนังสือ“ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 115 และ “Through the Eyes of the King-The Travels of King Chulalongkorn to Malaya” ของ P.Lim Pui Huen ก็พอจะมีการบันทึกพูดถึง “รูปปั้นช้างสำริด”อันเป็นของขวัญล้ำค่าแห่งมิตรภาพจากสยาม อยู่บ้าง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรก ทรงใช้เรือชื่อ “พิทยัมรณยุทธ” เป็นพระที่นั่งของพระองค์ในการเสด็จประพาสเสด็จประพาสสิงคโปร์
ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จประพาสสิงคโปร์ เป็นการเจริญพระราชไมตรีแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่จะเห็นความเจริญทั้งในด้านความเป็นอยู่ของประชาชนและวิทยาการความก้าวหน้าในด้านวัตถุและเทคโนโลยีต่างๆ ในสิงคโปร์ เพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองด้วย
อนุเสาวรีย์ช้างสำริดเป็นอนุเสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้กับประเทศสิงคโปร์ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม ปี พ.ศ. 2414 เพื่อเป็นการระลึกถึงการเสด็จเยือนสิงคโปร์เป็นครั้งแรกนั้นเอง
รูปปั้นช้างสำริด ดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าอาคารไปรษณีย์ของสิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงแรมใกล้ๆรัฐสภาของสิงขโปร์นั้นเอง
ส่วนอนุเสาวรีย์ช้างสำริดนี้ ที่อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในกรุงจาการ์ตาร์ ประเทศอินโดนิเซีย คืออนุเสาวรีย์ช้างสำริดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2414
ปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินโดนิเซีย ชาวอินโดนิเซียมักเรียกกันว่า ” กิดัง กาจาห์ ” ( Gedung Gajah ) ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ” ตึกช้าง ” ซึ่งอยู่ในบริเวณใจกลางเขต เมืองเก่า ใกล้ๆ อนุเสาวรีย์แห่งชาติอินโดนีเซีย(โมนัซ)ในกรุงจาการ์ตาร์นั้นเอง
ส่วนอนุเสาวรีย์ช้างสำริดนี้ ได้รับการบูรณะโดย ช่างศิลปกรรมชำนาญงาน สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และส่งมอบให้ไปอยู่ที่สวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ไซง่อน (Saigon Zoo & Botanical Gardens) ในประเทศเวียดนาม
อนุสาวรีย์ช้างสำริดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพด้านการทูต ระหว่างไทยและเวียดนามที่สำคัญมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เห็นได้จากความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานเป็นของขวัญในโอกาสเสด็จเยือนประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2473