ภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ “ประชาธิปไตย” แต่ก่อนที่ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญ ฉบับแรก หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่า ประเทศไทยเคยอยู่ระบบ เผด็จการเบ็ดเสร็จโดยคณะราษฎร ในระบบคณาธิปไตย (Oligarchy) อยู่ช่วงเวลาหนึ่งสั้นๆ ก่อนที่จะ ประกาศ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7)ทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว” สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น
แม้ว่า “การปฎิวัติ”พุทธศักราช 2475 โดยเนื้อในบางส่วนแล้วเป็นการดึงอำนาจออกมาจากพระมหากษัตริย์ให้ มาอยู่ในมือของกลุ่ม”คณะราษฎร” โดยสัญญาว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่ให้ความเสมอภาคกับทุกฝ่าย แต่ในทางปฎิบัติแล้วทิศทางของ”คณะราษฎร” เป็นมากกว่า การเรียกร้อง”ประชาธิปไตย” แต่เป็น”การปฎิวัติวัฒนธรรม”สุดโต่งที่ขุดทำลายประวัติศาสตร์ในอดีตเสีย แล้วสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมา ซ้อนทับ จารีตเดิมให้ผู้คนได้กราบไหว้ สิ่งใหม่ในนามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดหลายปีในการปกครองของคณะราษฎร มีการทำลายสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมหลายอย่างที่ยึดโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์และเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ-พราหมณ์ แล้วทดแทนด้วยอาคารตาม”สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” หรือที่เรียก “สถาปัตยกรรมเครื่องคอนกรีต” ที่ประกอบด้วย ลักษณะเรียบลดทอนลวดลายไทย มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมไม่มีหลังคาสะท้อนให้เห็นความ ไม่มีฐานานุศักดิ์ สื่อความหมายในเรื่องความเสมอภาค และความเป็นสามัญชน เช่น
– การรื้อถอนพระราชวังวินเซอร์ (วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ) มาสร้าง สนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย โดยใช้ชื่อของ หลวงศุภชลาศัย หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
– การรื้อถอน ศาลสนามสถิตยุติธรรม ริมสนามหลวง อันเป็น สัญลักษณ์การเฉลิมฉลอง 100 ปี ราชวงศ์จักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5)ได้เสด็จพระราชดําเนิน มาทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตยุติธรรม ซึ่ง ถือ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบราชการศาลยุติธรรม และเป็น อาคารที่มีหอนาฬิกาแห่งแรกๆ ของสยาม (หอนาฬิกาอีกสองแห่ง คือหอนาฬิกาคองโคเดีย ณ บริเวณวังหน้า และ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย ภายในพระบรมหาราชวัง ) แต่ภายหลัง พ.ศ.2475ก็ถูกทุบและสร้างใหม่ เป็น อาคาร ศาลฎีกา ตาม”สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” (ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว)
– ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร ที่ยังเหลืออยู่ : เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การทำงานด้านการบริหารส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็น อาคาร ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งแรกถูกสร้างขึ้นในยุค คณะราษฎรจึงถือเป็นตัวอย่างสำคัญของ สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
– ที่ทำการคณะราษฎร: ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน แต่สวนสราญรมย์ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่หนึ่งของคณะราษฎร สวนสราญรมย์เดิมเป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของ สมาคมคณะราษฎร์สราญรมย์ มีการจัดงานรื่นเริงตามแบบอย่างตะวันตก เช่น การจัดประกวดเทพีรัฐธรรมนูญ(นางสาวสยาม) รวมทั้งงานฉลองรัฐธรรมนูญ สร้างความนิยมวัฒนธรรมใหม่
เพิ่มเติม* สัญลักษณ์ สมาคมคณะราษฎร์ : สมาคมที่ถูกจัดตั้งทั่วประเทศเพื่อรองรับการประชาสังคมเกี่ยวกับธรรมนูญของประเทศและประชาธิปไตย แต่ในภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475ไปไม่นาน สมาคมคณะราษฎร์ ก็ต้อง จบสิ้น เนื่อง นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้นำ คณะราษฎรได้ เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง)ขึ้น ซึ่งถูก คณะราษฎรด้วยกันต่อต้าน จึงส่งผลให้สมาคมคณะราษฎร์ถูกมองว่าเป็นสมาคมที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นพรรคการเมืองเดี่ยวหลังมีรัฐธรรมนูญ จึงถูกเข้าใจว่า สมาคมคณะราษฎร์เป็นรากฐานของระบบคอมมูนนิสพรรคเดียว
(หากโลกใบนี้มีคอมมิวนิสฆ้อนเคียวและรวงข้าว ของประเทศไทยก็คงจะมี สมอ-คันไถ- และรวงข้าว เช่นกัน)
ในภายหลัง สมาคมคณะราษฎร์ จึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสโมสรคณะราษฎร์ ซึ่งทำหน้าที่ สนับสนุนให้ราษฎรมีความเข้าใจในระบอบการเมืองใหม่โดยทำกิจกรรมของสมาคมเอง นอกจากนี้ยังมีการจัดงานมหรสพ งานฤดูหนาว งานแสดงละคร รวมไปถึงการจัดร้านขายของในวันฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่คณะราษฏรได้ก่อนสร้างด้วย “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร” ซึ่งยังมีสถานที่อีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ เช่น
* – อนุสาวรีย์เทอดรัฐธรรมนูญ จังหวัดมหาสารคาม (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบุรีรัมย์ ในพื้นที่ของศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ (ยังอยู่)
* – อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด สุรินทร์ (ยังอยู่)
* – วงเวียนรัฐธรรมนูญ จังหวัด สุรินทร์ (ถูกรื้อ)
* – วงเวียนรัฐธรรมนูญ ที่จังหวัดขอนแก่น (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญที่จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณบึงพลาญชัย (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ จังหวัดภูเขียวมา (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ) (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบริเวณ ราชดำเนิน (ยังอยู่)
* – อนุสาวรีย์พิทักษ์ประชาธิปไตย (ปราบกบฎบวรเดช)บริเวณ หลักสี่ (ยังอยู่)
* – หมุดคณะราษฎร บริเวณพระลานด้านหน้าพระราชวังดุสิต (สาบสูญ)
* – สถาบันปรีดี พนมยงค์ บริเวณ สุขุมวิท 55 (ยังอยู่)
* – วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน (ยังอยู่)
นอกเหนือจาก งาน “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร”ที่ถูกแสดงออกมาผ่าน สิ่งปลูกสร้างที่ถูกเนรมิตในช่วงปี พ.ศ. 2475 – 2488 แล้ว การปฎิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎร ยังถูกแสดงออกมาผ่าน สิ่งของที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่และการบังคับใช้ เช่น
* – เรื่องคณะราษฎร ปฎิเสธ ดนตรีไทย: สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นก็คือการปฎิวัติวัฒนธรรม ซึ่งคณะราษฎรมองว่า วัฒนธรรมของไทยนั้น มีความล้าสมัยไม่ได้ใช้กฏเกณมาตรฐานเดียวกับประเทศตะวันตก
โดยเฉพาะ “ดนตรีไทย” จึงออก “พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับการบรรเลงดนตรี การขับร้อง และการพากย์ พุทธศักราช 2486 “เพื่อควบคุมคุณภาพของดนตรี ให้เป็นที่ยอมรับของตะวันตก เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการอ่านโน้ตดนตรีไทยเป็นแบบตะวันตก ซึ่งต่อมาก็มีการออกระเบียบการว่าด้วยการขออนุญาตและควบคุมการรรเลงดนตรีโดยเอกเทศการขับร้องและการพากย์ ซึ่งข้อกำหนดหลายข้อส่งผลกระทบต่อการบรรเลงดนตรีไทย เนื่องจากไม่สามารถเล่นได้อย่างเสรี และยังไม่สามารถเล่นดนตรีไทยแบบ”improvise”(เล่นแบบดวลสด) และ ต้องขออนุญาตล่วงหน้าเพื่อให้ตรวจสอบโน้ตก่อนเล่น ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว การแสดงออกของ คณะราษฎรที่ขึงขังต่อกฏหมาย ถูกมองว่าเป็นการทำให้ดนตรีไทยนั้นตายลงด้วยการทำให้ วัฒนธรรมไทยเดิมสะดุดและหยุดนิ่งลง ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกถูกนำมาใช้ทดแทนในสังคมตามกฏหมาย
“ศิลปะของคณะราษฎร” ยังถูกประดิษฐ์และแสดงออกมาเพิ่มตามรสนิยมของผู้นำในสมัยนั้น เช่น
* – การรำโทนสมัย จอมพลป. พิบูสงครามที่ได้รับอิทธิพลจากเครื่องดนตรีตะวันตก , อาหารจานเส้นอย่างผัดไทยที่ถูประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่น และมีการบังคับใช้กฏหมายให้ประชาชนแต่งกายที่มีลักษณะแบบอย่างคล้ายตะวันตก ตามนโยบาย “มาลานำไทย” เป็นต้น
ยังมีการปฎิวัติวัฒนธรรมของคณะราษฎรอีกอย่างที่หลายคนอาจไม่ทราบ คือประดิษฐ์อักษร “พิมพ์ตัวเหลี่ยม” เข้า “รับราชการ”
* – ท่านทราบหรือไม่? ว่า ราชการไทยในปัจจุบันนั้นมีการบังคับใช้อักษร(ฟอนต์)มาตรฐานในการจัดการเอกสารทางราชการบนความพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีฟอนต์ที่ให้ใช้หลายแบบ เช่น ตระกูล ฟอนต์ไทยสารบรรณ “TH Sarabun IT๙” และ ฟอนต์: TH Niramit AS เป็นต้น แต่ในสมัย พ.ศ.2475 นั้น มีการประดิษฐ์อักษรสำหรับกิจการการพิมพ์ของรัฐ ขึ้นมาทนแทนของเดิม นั้นก็คือ “ตัวเหลี่ยม” โดยมีลักษณะ มีเหลี่ยมมุมอ้างอิงตาม “ศิลปะแบบคณะราษฎร” และมีการ ตัดพยัญชนะออก 13 ตัว ในการสะกดคำใหม่อีกทั้ง ตัดคำที่ได้อิทธิพลจากภาษาบาลี-สันสกฤตซึ่งเท่ากับเป็นการปฎิเสธคำราชาศัพท์ไปโดยปริยายอีกด้วยนะครับ
หากจะว่าสิ่งที่กล่าวไปในชั้นต้นนั้น เป็นแก่นแท้ของ “ศิลปะคณะราษฎร”ก็จะสรุปได้เร็วเกินไป เพราะในปัจจุบัน มีนักศึกษาประวัติศาสตร์รุ่นเยาวมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ “ศิลปะแบบคณะราษฎร” โดยมองว่า เป็น ศิลปะที่ต่อต้าน “เทวนิยม” ซึ่งนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปพอสมควร เพียงแต่ทว่า “เทวนิยมในศิลปะคณะราษฎร” นั้นไม่ยึดโยงกับ “สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย” นั้นเอง เช่น
“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา”
“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” นี้ เดิมทีมีชื่อเรียกว่า “อิศวรปางปราบอสุรตรีปูรำ เทิดรัฐธรรมนูญสยามรัฐ” โดยมีลักษณะ คล้ายพระอิศวร(เทพเจ้าสูงสุดตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ) มือขวาถือพานรัฐธรรมนูญ มือซ้ายถือคันธนู บนบ่าด้านซ้ายมีรูปปั้นคนขนาดเล็กเกาะอยู่ ใบหน้าของเทวรูปใช้ใบหน้าของพระยาพหลฯ เป็นต้นแบบในการแกะสลัก สูง 60 เซนติเมตร ทำจากหินทราย นายซุ่นฮะ ตวลพรรณ์ ผู้แกะสลัก ที่มีความศรัทธาต่อการ “ปฏิวัติ 2475” จึงแกะสลักเพื่อเป็นของที่ระลึกมอบให้แก่พระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2476
รูปแบบการสร้างเทวรูปนี้เปรียบได้กับการเปลี่ยนบุคคลธรรมดาให้กลายเป็นเทพ (apotheosis) ผู้สร้างได้ใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเชื่อที่ว่าผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือผู้นำของประเทศนั้นคือผู้ที่มีอำนาจมากราวเทพเจ้าสูงสุด
แม่ว่า“เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา” จะไมได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางการเมืองใน”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” สมัยคณะราษฎร แต่ก็สามารถบอกตัวตนของคณะราษฎรในความเข้าใจของประชาชนในสมัยนั้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการ “บูชารัฐธรรมนูญ”ที่ผูกไว้กับผู้นำคณะราษฎร
“อรุณเทพบุตร” สัญลักษณ์ใหม่ใน “ศิลปะคณะราษฎร”
อย่างที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้นของบทความนี้ “ศิลปกรรม -สถาปัตยกรรม ของคณะราษฎร ”นั้นมี ความพยายาม อย่างมากในการกำหนดรูปแบบให้สะท้อนความหมายเชิงสัญลักษณ์ โดยหันมาสร้างอาคารคอนกรีตแบบเรียบ ไม่มีลายไทย หรือน้อยมาก และมีลักษณะเหลียมมุมซึ่งสะท้อนความหมายในเรื่องความเสมอภาค และความเป็นสามัญชน และแน่นอนว่าเมื่อ คณะราษฎร ต้องการสร้างวัฒนธรรมชาติใหม่ จึงต้องนำเอา “ศิลปะคณะราษฎร” เข้าไป ผนวกในงาน สถาปัตยกรรมในศาสนสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น วัด และ อนุสาวรีย์ เป็นต้น
ในกรณีของวัด โดยปรกติแล้ว หน้าบันของวัดในสยามประเทศนั้น จะปรากฏรูป พระนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นต้น ซึ่งเทพเหล่านี้ มีลักษระ ยึดโยงกับ พระมหากษัตริย์อันเป็นองค์สมมุติเทพตามจารีตประเพณีโบราณ “ศิลปะคณะราษฎร”จึงนำเอา ลวดลายแบบใหม่มาแสดงบนหน้าบันของวัด เช่น “ลายอรุณเทพบุตร” เป็นต้น
อรุณเทพบุตรคืออะไร? อรุณเทพบุตร คือเทพในตำนานฮินดู เป็นสารถี(ผู้ขับรถ)ให้กับพระอาทิตย์ โดยได้รับการออกแบบให้ถือแพนหางนกยูง มีร่างกายเพียงครึ่ง อันเป็นสัญลักษณ์ของสารถี อยู่ในมือทั้งสองข้าง
มีการตั้งสมมุติฐานจากนักวิชาการได้ว่า อรุณเทพบุตรมีความหมายที่สื่อถึง “แสงสว่างแรกขึ้นของไทยในยุคใหม่” หรือ “รุ่งอรุณใหม่ของชาติในระบอบประชาธิปไตย”ตามความหมายของคำว่าอรุณ ซึ่งแปลว่า “แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น”
“เทพีรัฐธรรมนูญ”
หากจะพูดว่านี่คือสัญลักษณ์ ใน”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” ก็ไม่ผิดแปลกนัก เพราะ คณะราษฎรภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นาน กำลังต้องการสร้างอัตลักษณ์ที่นำอำนาจผู้โยงกับตนเองให้ได้มาก การ สร้าง “ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”จึงจำเป็นต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อ เสริมความชอบธรรมให้กับคณะปฎิวัติ 2475 ในทางอัตลักษณ์
“ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเทวนิยม เพื่อให้รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรที่ร่างไว้แต่งเพียงฝ่ายเดียวนั้น ดูเป็นสิ่งที่มาจากสวรรต์และทรงพลังเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์
มีการจัด มีขบวนแห่ พานรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน(วันปฎิวัติ) เพื่อยกยอให้ รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งวิเศษน่ากราบไหว้
มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น การสร้าง เทพีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเทพที่ มีลักษณ์เป็น ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว ซึ่งผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศีลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
ซึ่งหาก สังเกตให้ดีแนวทางการสื่อสารของ เทพีรัฐธรรมนูญ จะมีความละม้ายคล้าย เทพีแห่งเสรีภาพ ของสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เช่นกัน
ต่อมาสมาคมคณะราษฎร ได้นำเอา เทพีรัฐธรรมนูญ มาใช้ในการสื่อสารกิจกรรม ของ คณะราษฎร เช่นการประกวด เทพีรัฐธรรมนูญ – นางงามรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน ที่ พระราชวังสราญรมย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สมาคมคณะราษฎรในเวลานั้น เพื่อยกย่อง “ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ”เป็นสิ่งสูงสุด
เรื่องของ “สถาปัตยกรรม – ศิลปกรรมแบบคณะราษฎร” ยังไมได้หมดเพียงแค่นี้ เพราะ การที่ทำให้”ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ” เป็นสิ่งสูงสุดนั้น ของ “สถาปัตยกรรม – ศิลปกรรมแบบคณะราษฎร” นั้จะต้องไปปรากฏ อยู่ในศาสนสถานทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เคารพบูชา อีกด้วย เช่น
ส่วน “วัดแคนอก” แม้ไม่ได้มี “สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร”ปรากฎให้เห็น แต่ก็เป็น “สถานที่วางแผนของคณะราษฎรในอดีต”,”ที่วางอัฐิของผู้ก่อการ” และที่ตั้งโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง แห่งแรก