เทียร่าจำนวนนับพันถูกสั่งทำขึ้นในอังกฤษและฝรั่งเศส ร้านเพชรชื่อดังอย่าง คาร์เทียร์ บูเชอรอง และโซเมต์ ต่างตอบสนองความต้องการเทียร่าของชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นเศรษฐีใหม่อย่างทั่วหน้า ส่วนที่กรุงเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ฟาร์แบร์เชเป็นร้านเพชรที่มีผู้สั่งทำเทียร่าเป็นจำนวนสูงที่สุดในบรรดาร้านเพชรชั้นนำด้วยกัน รวมทั้งยังดึงดูดลูกค้าสาวสังคมชาวอเมริกันที่ถือได้ว่าอยู่ในระดับเดียวกับสตรีชั้นสูงของอังกฤษด้วย
พระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระนางเจ้าแมรี
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 สิ้นพระชนม์ภายหลังครองราชย์ไปได้เพียง 9 ปี เจ้าชายแห่งเวส์ พระราชโอรสได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 5 และเจ้าหญิงแมรี ออฟ เทก กลายเป็นพระนางเจ้าแมรี ราชินีพระองค์ใหม่
พระนางเจ้าแมรีเป็นสตรีแห่งความงามพร้อม สูงศักดิ์ตามรูปแบบสตรีที่สืบทอดเชื้อสายมาจากขัตติยวงศ์ พระนางมักปรากฏพระวรกายโดยสวมเทียร่าที่สวยที่สุดอยู่เสมอ อย่างเช่น เทียร่าที่ออกแบบโดยร้านเพชรการ์ราร์ด ซึ่งใช้ประกอบพิธีเดอร์บาร์ เนื่องในวโรกาสที่พระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิแห่งอินเดียในปีพ ค.ศ.1911 ซึ่งพระองค์ถือว่าเป็นเทียร่าที่สวยที่สุดของพระราชา
เล่ากันว่า พระนางเจ้าแมรีทรงสวมเทียร่าแม้แต่ในโอกาสส่วนพระองค์ อย่างเช่นขณะเสวยพระกระยาหารเย็นกับพระสวามีและโอรส ธิดา หนึ่งในคอลเล็กชั่นเทียร่าที่ดีที่สุดของพระนางคือ กรุงเครื่องเพชรซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของแกรนด์ ดัชเชส วลาดิเมียร์ ราชนิกูลรัสเซียหลังเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซีย ………….
พระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธ เดอะ ควีน มาเธอร์
ภายหลังจากพระเจ้าจอร์จที่ 5 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงสละราชสมบัติ ทำให้พระเชษฐาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระ
เจ้าจอร์จที่ 6 เครื่องเพชรในความครอบครองของพระนางเจ้าแมรีราชินีพระองค์ก่อน จึงตกอยู่ในความดูแลของเลดี้เอลิซาเบ็ธ โบว์สลีออง ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธ ราชินีพระองค์ใหม่
“เดอะ โคห์ อิ นูร์” เพชรซึ่งได้รับการถวายจากมหาราชาอินเดียได้ถูกทอดจากเซอร์เคล็ต (รัดเกล้า) ของพระนางเจ้าวิกตอเรีย เพื่อมาใช้ประกอบมงกุฏพิธิราชาภิเษกของพระองค์ รวมทั้ง “เดอะ เดอบาร์ เทียร่า” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของเจ้าหญิงแมรี อะเดอแลค ออฟ เทก พระมารดาของพระนางเจ้าแมรี รวมทั้ง “เดอะ แคมบริดจ์ เลิฟเวอร์ส น็อต เทียร่า”
นอกจากนี้ยังมีพระอุณหิส ซึ่งพระองค์ทรงได้รับเป็นของขวัญอภิเษกจากราชวงศ์นีซามแห่งไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
“เดอะ รัสเซียน ฟรินจ์ เทียร่า” ออกแบบผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1830 จากเพชรเจียระไนแบบบริลเลียนท์ คัต และเคยเป็นสมบัติของพระเจ้าจอร์จที่ 3 มีข้อถกเถียงกันว่า เทียร่าดังกล่าวเป็นชิ้นเดียวกับที่พระนางเจ้าวิกตอเรียเคยฉลองใน The First of May ภาพเหมือนราชวงศ์ซึ่ง เขียนโดยแฟรงค์ ซาเวียร์ วินเตอร์ฮาลเทอร์ในปี ค.ศ. 1851 หรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อดูขนาดของฟรินจ์และรูปทรงข้าวหลามตัดที่ประดับบนเทียร่าแล้ว ยากที่จะบอกว่า เทียร่าที่พระนางเจ้าวิกตอเรียทรงฉลองชิ้นเดียวกันกับเทียร่าที่สมเด็จพระราชินีองค์ปัจจุบันและปรินเซส รอยัล สวมในวันอภิเษกของทั้งสองพระองค์
ถึงแม้ว่าส่วนหนึ่งของเพชรที่ประดับ “เดอะ รัชเซียน ฟรินจ์ เทียร่า” จะมาจากคอลเล็กชั่นของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ก็ตาม แต่เพชรที่ใช้ไม่ใช่ชุดเดียวกับที่ใช้ในรัชสมัยของพระนางเจ้าวิกตอเรียอย่างแน่นอน เพราะในความเป็นจริงแล้ว พระนางเจ้าแมรีรับสั่งให้ E. Walf & Co. ผลิต เทียร่าชิ้นนี้ขึ้นใหม่ โดยให้ปรับเปลี่ยนเป็นสร้อยพระศอได้ด้วย
นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธที่ 2 ยังทรงสั่งทำเทียร่าชิ้นใหม่อยู่เนือง ๆ เช่น “เทียร่า อะความารีน” ที่พระองค์ทรงพระประสงค์ที่จะเข้าชุดกับชุดเครื่องประดับอะความารีนที่ประธานาธิบดีแห่งบราซิลถวาย เนื่องในวโรกาสที่เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1958 ช่วงกลางทศวรรษา 60 สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธ ทรงสั่งทำเทียร่าเพชรประดับด้วยแซฟไฟร์ เพื่อให้เข้าชุดกับเครื่องประดับแซฟไฟร์ที่พระเจ้า
จอร์จที่ 6 พระชนก พระราชทานเป็นของขวัญอภิเษก
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสั่งให้ร้านเพชรการ์ราร์ดผลิตเทียร่าจากทับทิมซึ่งพระองค์ได้รับเป็นบรรณาการจากประเทศพม่าอีกด้วย
คลอเล็คชั่นเทียร่าของ สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบ็ธที่ 2 ยังรวมไปถึง “เดอะ รีกัล เชอร์เคล็ต” ที่ประกอบด้วยดอกกุหลาบ ธิสเทิล และแซมร็อก สัญลักษณ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงฉลองเป็นคนแรกในวันราชาภิเษาของพระองค์ในปี ค.ศ. 1821
“เดอะ รีกัล เชอร์เคล็ต” ประกอบด้วยแฉก 8 แฉก ตรงกลางของแต่ละแฉกประกอบด้วยเพชรสีกองฟาง ในตอนแรกไข่มุกแถวบนและล่างมีจำนวน 86 เม็ด และ 94 เม็ด ตามลำดับ ภายหลังลดลงเหลือ 81 เม็ด และ 88 เม็ด แรกเริ่มเดิมทีนั้น เพชระที่ใช้ประดับ “เดอะ รีกัล เซอร์เคล็ต” ถูกหยิบยืมมา แต่ภายหลังใช้เพชรประกอบถาวร
อย่างที่เล่ามาแล้วตั้งแต่ตอนแรกว่า เทียร่าจำนวนนับพันถูกสั่งทำขึ้นในอังกฤษและฝรั่งเศส คำว่าเทึยร่า ตรงกับคำในภาษาไทยว่ารัดเกล้า โดยสันนิษฐานว่าเริ่มมีเข้ามาเป็นเครื่องประดับของเจ้านายสตรีในราชสำนักสยาม ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเสด็จประพาสยุโรปอยู่หลายคราวด้วยกัน และเจ้านายที่ทรงมีเครื่องประดับเพชรนิลจินดาจำนวนมาก คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเครื่องประดับจำพวกเครื่องเพชรมาก และกล่าวกันว่าเจ้านายในราชสำนักในรัชกาลที่ 5 จะนิยมประดับเทียร่าเวลามีงานในพระบรมมหาราชวัง
มาในยุคสมัยปัจจุบัน เทียร่ามิได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มบุคคลชั้นสูงหรือพระราชวงศ์เท่านั้น แต่ในวงการบันเทิงหรือมหาเศรษฐีก็สามารถที่จะมีไว้เป็นเครื่องประดับส่วนตัวได้
ดังปรากฏในปี ค.ศ.1996 มาดอนน่า เคยหยิบยืมเทียร่าจากร้านดัง ๆ มาสวมใส่ ในหลาย ๆ โอกาส แต่ในพิธีแต่งงานของเธอ เมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ.2000 มาด่อนน่ากลับเลือกสวมเทียร่าเพชรรูปมงกุฏดอกไม้ยุคปลายศตวรรษที่ 19 ประกอบด้วยเพชรหนัก 78 กะรัต จากแอสเปรย์ แอนด์ การ์ราร์ด
เซอร์ เอลตัน จอห์น ก็เคยซื้อกระบังหน้าไรน์สโตนประดับเพชร 2 ชิ้น ซึ่งต่อมากลายเป็นแรงบันดาลใจให้เดวิล เฟอร์นิช นำไปสร้างเป็นภาพยนต์กึ่งชีวประวัติเรื่อง “Tantrums and Tiaras” ในปี ค.ศ. 1996
นอกจากนี้ เทียร่ายังได้รับการสวมประดับศรีษะของบรรดาสาวฮอลลีวู้ดอีกหลายคน ไม่ว่า เม็ก ไรอน, ชารอน สโตน,เอลิซาเบ็ธ เฮอร์ลีย์,เจมี ลี คอร์ติส หรือ มินนี ไดรเวอร์ หรือแม้กระทั่ง วิกตอเรีย อดัมส์ อดีตสาวสไปซ์ ก็เลือกสวมเทียร่า ที่ออก
แบบโดยสลิม บาร์แร็ต ผู้ชนะการประกวด De Beers International Awards ปี ค.ศ. 2000 ในวันงานพิธีสมรสกับเดวิก เบ็กแฮมด้วยเช่นกัน
เทียร่า มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ในตัวของมันเอง เป็นข้อเตือนใจถึงเรื่องราวในอดีต ชัยชนะ ความสุข รวมทั้งเป็นสารซึ่งแสดงถึงความลึกซึ้ง และจากพัฒนาการในเรื่องรูปแบบและงานดีไซน์
ทำให้เชื่อได้ว่า เทียร่าจะไม่มีวันตกยุค เพราะเทียร่ามีการปรับดีไซน์ให้เข้ากับยุคสมัยทั้งในแง่แฟชั่นและสังคมจวบจนถึงศตวรรษที่ 21 เทียร่าก็ยังคงเป็นเครื่องประดับที่สตรีส่วนใหญ่ใฝ่ฝันถึง ความรุ่งเรืองสดใสของเทียร่ายังรออยู่ในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากนักออกแบบเครื่องประดับต่างให้ความสำคัญทยอยออกแบบเทียร่ารูปแบบสวย ๆ ออกมาอย่างไม่ขาดสาย และนักออกแบบเหล่านี้รู้ดีว่า ไม่มีอะไรที่ทำให้ผู้หญิงดูพิเศษและรู้สึกเป็น “เจ้าหญิง” มากไปกว่าเครื่องประดับชิ้นนี้อีกแล้ว
ที่มา เรียบเรียงจาก
Tiaras A History of Splendour / Tiaras Past and Present
ภาพประกอบ