วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่อวิกิพีเดีย เผยถึง ขบวนการล้มเจ้า ๒๕๕๓ – ๒๕๖๐

เมื่อวิกิพีเดีย เผยถึง ขบวนการล้มเจ้า ๒๕๕๓ – ๒๕๖๐

หากใครเป็นคนที่ติดตามการเมืองมาตลอด สิบปีที่ผ่านมา จะทราบว่า ปัญหาการเมืองบางส่วนเกิดจาก มีความพยายามอยู่ๆลึกของกลุ่มที่มีความพยายาม ใส่ร้ายป้ายสี สถาบันฯ ซึ่งในการปรากฎตัวครั้งแรก ของพวกเขานั้น ถูกเรียกว่า “ขบวนการล้มเจ้า”
แต่หากติดตามต่อมา จะเห็นได้ว่ากลุ่ม ที่มีเจตนารมหัวรุนแรงในการ เปลี่ยนแปลงการปกครองและแบ่งแยกดินแดน โดยการ บิดเบือนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม รวมไปถึงการเรียกร้องเอกราช และเจตนาบั่นทอนความเชื่อมั่นในความเป็นชาติไทย ด้วยการโจมตีผ่านสื่อสมัยใหม่อย่างอินเตอเน็ต  ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นภัยต่อแค่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นภัยต่อประเทศชาติซึ่งเป็นของประชาชนคนไทยทุกคน

กระบวนการบ่อทำลายชาติตลอดเวลา ตั้งแต่ก่อน ปี ๒๕๕๒ จนไปถึงปี ๒๕๖๐ นั้น นับว่าสมควรถูกจารึกในประวัติศาสตร์ชาติ ในฐานะ”ภัยที่ประชาชนคนไทยกำลังเผชิญอยู่”

และล่าลุดมีผู้ร่วมรวมเขียนไว้ใน สารานุกรมเสรี เกี่ยวกับขบวนการล้มเจ้า ไว้ได้อย่างน่าสนใจ  ติดตามชมกันนะครับ

————

ขบวนการล้มเจ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเด็นการเมืองขบวนการล้มเจ้า เริ่มจากที่รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะออกมาให้ข่าวทำนองว่าคู่แข่งทางการเมืองเป็นผู้ไม่จงรักภักดี คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์[1] นอกจากนี้ รัฐบาลยังปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของมวลชนฝ่ายตรงข้าม และได้สั่งปิดเว็บไซต์กว่า 43,000 เว็บไซต์[2] ภายหลังแกนนำ นปช. ได้ออกมาตอบโต้ว่าไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครทำอะไรเป็นขบวนการแบบนี้ และจะฟ้องร้องดำเนินคดี ในข้อหาหมิ่นประมาทกับรัฐบาลและ ศอฉ.[3]

วันที่ 22 มีนาคม 2554 พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ให้การต่อศาลระบุว่า เป็นเพียงการให้ข้อมูลความเชื่อมโยง ไม่ได้บอกว่าใครล้มเจ้า ชี้ประชาชน-สื่อเอาไปขยายความต้องรับผิดชอบเอง[4]

เนื้อหา

 [ซ่อน] 

  • 1การเคลื่อนไหว
  • 2การเคลื่อนไหวผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
  • 3องค์ประกอบ
  • 4การจัดการจากฝ่ายรัฐ
  • 5การจัดการจากฝ่ายทหาร
  • 6ปฏิกิริยา
  • 7อ้างอิง

การเคลื่อนไหว

มีกลุ่มบุคคลเคลื่อนไหวในหลายช่องทาง เช่น เผยแพร่บทความใบปลิว การให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ การจัดรายการวิทยุ การจัดรายการโทรทัศน์ การเผยแพร่สื่อสารไปยังประชาชนโดยตรง โดยการพูดหรือปราศรัยในที่สาธารณะ การเผยแพร่บนระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การจัดทำเว็บไซด์ อาทิเว็บไซด์ฟ้าเดียวกัน หรือเว็บบอร์ด อาทิเว็บบอร์ดคนเหมือนกัน การเผยแพร่ภาพและบทความ หนังสือ คลิปวิดีโอ อีเมล การจัดรายการวิทยุออนไลน์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์[5] จุติ ไกรฤกษ์กล่าวว่าตนได้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิดเว็บไซด์ที่เผยแพร่หรือตัดต่อภาพพระราชวงศ์หรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีส่วนร่วมในทางการเมืองสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[6] หรือสนับสนุนการรัฐประหาร

การเคลื่อนไหวผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

กลุ่มนปช.เคลื่อนไหวผ่านทางยูทูบและเฟซบุ๊กเป็นหลัก มีการจัดรายการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ โดยผู้เคลื่อนไหวหลักได้แก่ เสน่ห์ ถิ่นแสน สุดา รังกุพันธุ์ ไฟเย็น สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ จรรยา ยิ้มประเสริฐ จอม เพชรประดับ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน จรัล ดิษฐาอภิชัย ดารุณี กฤตบุญญาลัย ชนินทร์ คล้ายคลึง ปวิน ชัชวาลพงษ์พันธ์ ศรัณย์ ฉุยฉาย สนั่น การเพียร หรือ นามแฝง นัน เบลเยียม [7]และมีแนวร่วมรณรงค์เรียกร้องต่อองค์กรในต่างประเทศเพื่อให้แทรกแซง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ผู้เคลื่อนไหวหลักเช่น ประสงค์ สุวรรณพานิชประจวบ เจริญสุข นริศรา วิวัฒน์ชรา เชาว์ ซื่อแท้ ศิริวรรณ นิมิตรศิลป์ สนั่น เมลโรส ในนามกลุ่ม Red USA[8]

เคลื่อนไหวผ่านทางสหรัฐอเมริกา จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เสน่ห์ ถิ่นแสน (หรือนามแฝง ดร.เพียงดิน รักไทย) จรัล ดิษฐาอภิชัย สุนัย จุลพงศธร จาตุรนต์ ฉายแสง ดารุณี กฤตบุญญาลัย จอม เพชรประดับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ จุติเทพ วิไชยคำมาตย์ หรือ โจ กอร์ดอน มนูญ ชัยชนะ หรือ เอนก ชัยชนะ ในนาม สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ในประเทศฟิลิปปินส์ ชูพงษ์ ถี่ถ้วน พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย

ในทวีปยุโรปได้แก่ วันเพ็ญ วงษ์ทองดี สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จิตรา คชเดช แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์

และมีกลุ่มที่เคลื่อนไหวในประเทศกัมพูชาเป็นหลัก เช่น ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ วงไฟเย็น สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์[9]วัฒน์ วรรลยางกูร ไตรรงค์ สินสืบผล ชฤต โยนกนาคพันธุ์ ชัยอนันต์ ไผ่สีทอง นิธิวัต วรรณศิริ ส่วนทางทวีปออสเตรเลีย ผู้เคลื่อนไหวหลักได้แก่ เอกภพ เหลือรา องอาจ ธนกมลนันท์ สมศักดิ์ ราชโส

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ประธานคณะกรรมการติดตามการป้องกันและปราบปรามกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ยอมรับว่าการจัดการการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซด์ยูทูบและเฟซบุ๊ก เป็นเรื่องยาก แต่รัฐบาลประสานงานกับต่างประเทศอยู่[10]ทางการศาลทหารได้ออกหมายจับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับการกระทำผิดผ่านยูทูบ โดยเป็นความผิดฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยสื่อมวลชนมักนิยมเรียกว่า “แดงนอก”[11] โดยทางการไทยต้องการตัวบุคคลที่หลบหนีต่างประเทศอย่างน้อย 29 ราย[12]และยังมีบุคคลที่ถูกศาลทหารออกหมายจับ[13]ฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 44/2557[14] 48/2557 49/2557[15] 53/2557 57/2557 และ 58/2557[16] อีกจำนวนหนึ่ง โดยคำสั่งทั้งห้าฉบับเรียกตัวบุคคลที่เคลื่อนไหวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และระบบอินเตอร์เน็ทให้มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงว่าต้องการตัวผู้ต้องหาทั้งหมดตามหมายจับ 31 ราย[17]

องค์ประกอบ

  1. การตัดต่อภาพพระราชวงศ์ ลงสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
  2. การกล่าวหาอันเป็นเท็จว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีส่วนร่วมในทางการเมืองสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  3. กรณีกล่าวหาอันเป็นเท็จว่าร้ายพระราชินีว่าเป็นเจ้าของเพชรไดมอนด์ซาอุ
  4. กรณีการกล่าวถึง พระเนตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในทางที่ไม่เหมาะสม
  5. กรณีกล่าวหาอันเป็นเท็จทำนองว่าประชาชนยากจนเพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ร่ำรวย
  6. การกล่าวหาอันเป็นเท็จสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าอยู่เบื้องหลัง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองสูงสุดในการตัดสินคดีความต่าง ๆ
  7. การกล่าวหาอันเป็นเท็จสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าอยู่เบื้องหลัง การเสียชีวิตของประชาชนในการชุมนุมทางการเมือง
  8. การเผยแพร่คลิปเสียงรายการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นเท็จทาง ยูทูบ และ เฟซบุ๊ก อย่างต่อเนื่อง
  9. กรณีแต่งเรื่องว่ามีการซ่องสุมกำลังทางทหารเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง หรือ แต่งเรื่องว่าทหารไม่พอใจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเรื่องเท็จ ลงสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
  10. การกระทำอื่นใดที่มีจุดประสงค์ให้ประชาชนเกลียดชัง หรือ ไม่เลื่อมใสศรัทธานับถือสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นการเขียน blog
  11. การพูดที่ต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ให้ชาวต่างประเทศเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องความรัก และความจงรักภักดีที่คนไทยมีต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  12. การกล่าวหาอันเป็นเท็จว่าสถาบันพระมหากษัตริย์สนับสนุนการรัฐประหารในประเทศไทยหรือเป็นเผด็จการแย่งอำนาจประชาชน
  13. การให้ร้ายพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
  14. การแสดงออกถึงความต้องการ ให้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต

การจัดการจากฝ่ายรัฐ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมอบหมายให้ 3 กระทรวงร่วมมือกันปกป้องไม่ให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[18], พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำลังเร่งดำเนินการจัดการกับพวกที่จาบจ้วงให้ร้ายป้ายสีสถาบันเบื้องสูง[19]

กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีขบวนการล้มเจ้าเป็นคดีพิเศษ[20]

การจัดการจากฝ่ายทหาร

ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งเรียกบุคคลที่กล่าวโจมตีว่าร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์[15] มารายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดำเนินคดีที่ศาลทหารโดยเพิ่มโทษหนักขึ้น มีการจับกุมบุคคลที่ต้องสงสัยว่ากล่าวโจมตีล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในอินเทอร์เน็ตโดยเจ้าหน้าที่ทหาร อาทิกรณีบุกจับกุม นาย สิรภพ กรณ์อรุษ[21] มีการตั้งข้อหาความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 และ ความผิดฐานขัดคำสั่งไม่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการจับกุม สถิติโทษสูงสุดตามข้อหาความผิดฐานขัดคำสั่งไม่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คือจำคุก 60 ปี เนื่องจากสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุก 30 ปี[22]ได้แก่กรณี ของ นาย พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ได้ออกกฎหมายแก้ไข พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ โดยมีสาระสำคัญคือให้ รัฐบาลปิดเว็บไซด์ได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาล[23]รัฐบาลยังจัดตั้ง คณะกรรมการติดตามการป้องกันและปราบปรามกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการดังกล่าวประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559[24]ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล เป็นประธานคณะกรรมการ

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เปิดเผยว่าทางการไทยต้องการบุคคลมาดำเนินคดี อย่างน้อย 29 ราย รายชื่อส่วนใหญ่ถูกศาลทหารออกหมายจับในความผิดฐานไม่ไปรายงานตัว ยกเว้น[25] 2 รายได้แก่ นายอิมิลิเอ เอสเทแบบ และ นายริชาร์ด สายสมร

ปฏิกิริยา

ฝ่ายพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ทวิตข้อความว่ารัฐบาลชอบอ้างและผูกขาดความจงรักภักดี และกล่าวหาคนอื่นว่าไม่จงรักภักดี คนการเมืองต้องไม่เอาสถาบัน มาเป็นเครื่องมือทำลายคู่แข่งทางการเมือง[26] ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นของสูงไม่ควรนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อตนเองหรือเพื่อทำลายคนอื่น ผู้ใดทำผู้นั้นไม่รักจริงเพียงหาประโยชน์[27]

หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ ม็อบกับราชบัลลังก์ เตือนว่าการแอบอ้างสถาบันเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของตนเพื่อไปทำลายฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมือง สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยต้องระคายเคือง อาจเป็นการหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันพระมหากษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างไม่รู้ตัว[28]

โทนี คาตาลัคซี นักค้นคว้าวิจัยทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกมาระบุว่ากลุ่มคณะนิติราษฎร์เว็บไซด์ประชาไทและเว็บไซด์ http://freedom.ilaw.or.th/ ดังกล่าวรับเงินจากองค์กร National Endowment for Democracy ในประเทศสหรัฐอเมริกา[29]เพื่อเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เขาตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลสหรัฐมักสนับสนุนการชุมนุมล้มรัฐบาลในประเทศอื่น ๆ ยกเว้นประเทศไทย

เขากล่าวตอนหนึ่งว่า การนำประเทศไทยที่อยู่ในสภาพยอมเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดอย่างสมบูรณ์กับอเมริกาและกับเป้าหมายทางจักรวรรดินิยมใหม่ของอเมริกาเพื่อที่จะรักษาความเป็นใหญ่ของอเมริกาเหนือเอเชียไปอีกหนึ่งศตวรรษ คือบทบาทที่ ทักษิณ ชินวัตร ถูกเตรียมมาเป็นเวลากว่าทศวรรษที่จะทำให้สำเร็จ และด้วยเหตุนี้เองที่เงิน เวลา และความพยายามจำนวนมหาศาลได้ถูกทุ่มเทลงไปในการจัดตั้งเขาขึ้นมา และในขณะเดียวกันก็ทำลายสถาบันต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมในประเทศไทยด้วย

เว็บไซด์ประชาไทและเว็บไซด์ http://freedom.ilaw.or.th/ เครือข่ายของจอน อึ๊งภากรณ์ ได้เผยแพร่รายงานบุคคลที่ถูกจับกุมโดยรายงานส่วนใหญ่รายงานว่ารัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำเกินกว่าเหตุ อย่างไรก็ตามมีความพยายามของทั้งสองเว็บไซด์ที่เจตนาให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐบาลทำเกินกว่าเหตุอาทิ กรณี สิรภพ กรณ์อุรุษ เขียนเว็บกล่าวว่าร้ายสถาบันอย่างต่อเนื่องหลายปี ในเว็บไซด์

https://sites.google.com/site/rungsirasite2011/ ในนามปากกา “รุ่งศิลา” ซึ่งเจ้าตัวสารภาพว่าเป็นเจ้าของนามปากกาดังกล่าว[30] ทั้งสองเว็บไซด์เรียกกรณีนี้ว่า บทกวีที่ถูกตามล่า บทความดังกล่าวกล่าวตอนหนึ่งว่า คงไม่มีใครคาดคิดว่า เพียงแค่การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการเขียนกาพย์กลอนการเมืองจะเป็นเหตุให้ต้องถูกเจ้าหน้าที่ทหารตามไล่ล่า หรือทำให้ครอบครัวต้องตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัว เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทำเกินกว่าเหตุ[31]

ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2558 ได้มีการเรียกร้องรณรงค์ให้คนไทยหยุดบริจาคเงินให้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เนื่องจากสนับสนุนสถานะผู้ลี้ภัยให้ นาย เอกภพ เหลือรา[32]ส่งผลให้คนไทยบริจาคเงินให้องค์กรดังกล่าวน้อยลง ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2559 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ได้แถลงการณ์ประณามผู้ลี้ภัยที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[33]

นักการเมืองพรรคเพื่อไทย อาทิ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ก่อตั้ง สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย [34]และเป็นประธานสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นางดารุณี กฤตบุญญาลัยเป็นเลขานุการ เคลื่อนไหวการเมืองไทยใน ลาสเวกัสร่วมกับและ เว็บไซด์ยูทูบ โดยมีรายชื่อสมาชิกส่วนหนึ่งถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติกล่าวหาตามข้อหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อาทิ นาย จรัล ดิษฐาอภิชัย[35]โดยสมาชิกสำคัญเช่น สุนัย จุลพงศธร สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์

อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้น “มาร์ค”รับเครือข่ายล้มสถาบันเคลื่อนไหวตลอด26 เมษายน 2553 มติชนออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  2. กระโดดขึ้น 3กระทรวงบี้เว็บหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ปิดแล้ว 4.3 หมื่นราย17 มิถุนายน 2553 มติชนออนไลน์
  3. กระโดดขึ้น นปช.ฮาขำกลิ้งแผนผัง โยงมั่ว’เครือข่ายล้มเจ้า’ 27 เมษายน 2553
  4. กระโดดขึ้น โอละพ่อ! เสธ.ไก่อู รับกลางศาล “ผังล้มเจ้า” แค่ให้ข้อมูล นักวิชาการแดงพอใจถอนฟ้องหมิ่น “อภิสิทธิ์-สุเทพ” หลุดด้วย
  5. กระโดดขึ้น ดีเอสไอประกาศล้างบางขบวนการล้มเจ้า8 กรกฎาคม 2553 ที่มา: ผู้จัดการ[ลิงก์เสีย]
  6. กระโดดขึ้น http://www.thairath.co.th/content/tech/96329%20class=
  7. กระโดดขึ้น http://www.naewna.com/politic/110890
  8. กระโดดขึ้น http://www.thaitribune.org/contents/detail/302?content_id=17661&rand=1455247513
  9. กระโดดขึ้น http://www.komchadluek.net/news/scoop/247085
  10. กระโดดขึ้น https://www.isranews.org/isranews-other-news/item/47527-pnews_47527.html
  11. กระโดดขึ้น http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642443
  12. กระโดดขึ้น http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/39015-blacklist_8882392392.html
  13. กระโดดขึ้น http://www.thairath.co.th/content/429394
  14. กระโดดขึ้น http://www.tnews.co.th/html/contents/116185/
  15. กระโดดขึ้นไป:15.0 15.1 http://www.chaoprayanews.com/2014/06/04/คสช-เรียกตัวกลุ่มล้มเจ้/
  16. กระโดดขึ้น http://www.naewna.com/politic/107405
  17. กระโดดขึ้น http://www.naewna.com/local/150354?fb_comment_id=1071491349543330_1071734012852397
  18. กระโดดขึ้น 3กระทรวงบี้เว็บหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ปิดแล้ว 4.3 หมื่นราย17 มิถุนายน 2553 มติชนออนไลน์
  19. กระโดดขึ้น สัญญาณจัดการเด็ดขาด อริสมันต์-ขบวนการล้มเจ้า27 ตุลาคม 2553 ผู้จัดการออนไลน์
  20. กระโดดขึ้น ดีเอสไอรับคดีล้มเจ้าเป็นคดีพิเศษ 3 พฤษภาคม 2553
  21. กระโดดขึ้น http://prachatai.com/journal/2015/02/57949
  22. กระโดดขึ้น http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000089396
  23. กระโดดขึ้นhttp://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/d042859-11.pdf
  24. กระโดดขึ้น http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=703737
  25. กระโดดขึ้น http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/39015-blacklist_8882392392.html
  26. กระโดดขึ้น ทักษิณ โผล่ทวิตฉะรัฐบาล หยุดใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทำลายคู่แข่งทางการเมือง12 กรกฎาคม 2553
  27. กระโดดขึ้น “ทักษิณ”ทวิตอย่าดึง 3 สถาบันหลักเป็นเครื่องมือการเมือง19 พฤศจิกายน 2553
  28. กระโดดขึ้น สื่อฝรั่งเตือนพันธมิตรอย่านำสถาบันเป็นเครื่องมือการเมือง15 เมษายน 2553
  29. กระโดดขึ้น http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/26133-tk_26133.html
  30. กระโดดขึ้น http://freedom.ilaw.or.th/blog/สิรภพ-บทกวีที่ถูกตามล่า
  31. กระโดดขึ้น http://prachatai.com/journal/2015/02/57949
  32. กระโดดขึ้น โฆษกยูเอ็นเอชซีอาร์ประจำไทยระบุเป็นกลางทางการเมือง รับถ้าไร้เงินบริจาคจะกระทบผู้ลี้ภัย
  33. กระโดดขึ้น ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประณามผู้ลี้ภัยจาบจ้วงเบื้องสูง
  34. กระโดดขึ้นhttp://www.komchadluek.net/detail/20160524/228207.html
  35. กระโดดขึ้นhttp://www.komchadluek.net/detail/20150715/209826.html