วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เมื่อ รัฐบาลคณะราษฎร ยุคจอมพลป. ภายใต้การนำของ ปรีดีฟ้องยึดทรัพย์พระเจ้าแผ่นดิน!

 
แม้คณะราษฎรจะกุมอำนาจได้แล้ว ยังได้พยายามกระทำการ อันเป็นการมุ่งร้าย และมีผลกระทบต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความอาฆาตมาดร้าย ของฝ่ายผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คงเป็นเพราะคนพวกนี้ เกรงว่าราษฎรอาจหันกลับมา หนุนให้มีการปกครองในระบอบเก่า คือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) กันอีกครั้ง
.
หลังการยึดอำนาจ ยังคงมีความขัดแย้งระหว่าง ร.7 กับคณะราษฎรยังคงมีอยู่ เพราะทรงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะให้มีบทเฉพาะกาล ให้คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเอาไว้ 10 ปี แล้วจึงเปลี่ยนการปกครองไปอยู่ในมือของประชาชน
.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พร้อมพระราชินี ได้เดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปรับการรักษาพระเนตร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2476
.
ความขัดแย้งระหว่าง ร.7 และรัฐบาลดำเนินไปจนถึงขั้นแตกหัก พระองค์ทรงลาออกจากราชสมบัติในที่สุด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 เวลา 13 นาฬิกา 45 นาที!
.
เมื่อทรงลาออกไปแล้ว รัฐบาลไม่รอช้าที่จะออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งจะยึดเอา “พระคลังข้างที่” (เงินสะสมของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี สืบมาแต่รัชกาลที่ 3 ซึ่งทรงค้าขายเก่งมาก่อนครองราชย์ และได้ทรงนำเงินนั้นใส่ “ถุงแดง” ไว้ข้างแท่นพระบรรทม จึงเรียกว่า “พระคลังข้างที่”…วาทตะวัน) โดยออกเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479” และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2479 เป็นต้นมา
.
พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สินหรือสิทธิ ออกเป็นสองส่วนคือ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” และ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน”
.
ปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น เมื่อผู้ก่อการกลุ่มหนุ่มในตอนนั้นซึ่งอยู่ภายใต้การนำของ หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่จ้องมอง ‘ถุงเงิน’ อย่าง ‘พระคลังข้างที่’ ตาเป็นมัน ด้วยความมุ่งหมายที่จะยึดเอามาเป็นของรัฐ เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (แต่ถูกวิจารณ์ว่า “คอมมิวนิสต์”) ได้ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีพระคลังข้างที่ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงฐานะ มาอยู่ในกำกับดูของกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายใหม่ ที่ว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
.
ปรากฏว่าคณะกรรมการชุดนี้ ได้พบเงินหายไปหลายรายการ ซึ่งเป็นเงินที่ฝากไว้ในนามของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวง ในธนาคารของต่างประเทศ
.
รัฐบาลของฝ่ายผู้ก่อการได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ 1 และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เป็นจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินแก่กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,272,712 บาท 92 สตางค์ (หกล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองบาท เก้าสิบสองสตางค์)
.
การฟ้องร้องครั้งนี้ ช็อกประชาชนคนไทยทั้งประเทศตกตะลึงพรึงเพริด เพราะไม่มีใครคาดคิดเลย ว่า
.
รัฐบาลนั้นจะทำอัปรีย์ ถึงขั้นฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ของชาติ…ได้ลงคอ!
.
ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ โจทก์คือกระทรวงการคลัง โดย หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ได้ขอให้ศาลสั่งยึดทรัพย์จำเลยระหว่างการพิจารณาไว้ก่อนด้วย โดยอ้างเหตุผลคือ
.
เกรงจำเลยทั้งสอง จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน!!
.
อธิบดีศาลแพ่ง คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในเวลานั้นมีคำสั่งว่า “ไม่อนุญาต” ตามคำร้องของโจทก์ ที่ขอยึดทรัพย์จำเลยไว้ระหว่างการพิจารณา
.
แต่ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคอนนั้น มีคำสั่งย้ายพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ขึ้นไปดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาเอาดื้อๆ
.
แต่ยังครับ ยังไม่ใช่แค่นั้น…เพราะยังมีดาบสองตามมาอีก
.
ที่น่าตกใจมากๆก็คือ ไม่กี่เดือนถัดมา ได้มีคำสั่งให้คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ออกจากราชการฐาน…รับราชการนาน!
.
นี่คือความระยำ ของฝ่ายผู้ถืออำนาจ…รังแกผู้พิพากษา!!
.
(คุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ต้องออกจากราชการไปนานกว่า สี่ปี ก่อนมีคำสั่งจากรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ให้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง)
.
เมื่อย้ายคุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ได้แล้ว ความพยายาม ของรัฐบาลโดยผู้ก่อการกลุ่มหนุ่ม ในการเข้ายึดทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ ก็สัมฤทธิผล โดย น.อ.หลวงกาจสงคราม รัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจบัญชีด้วย ได้นำเจ้าหน้าที่กองหมายของศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอีกหนึ่งโขยง บุกเข้าวังศุโขทัย เพื่อทำการปิดหมายยึดทรัพย์
.
…คนพวกนี้กลับรู้สึกผิดหวังเป็นอันมาก เพราะพวกเขาคิดว่าจะได้พบเงินทองและทรัพย์สินมีค่ามหาศาล กลับต้องผิดหวังเป็นที่สุด เพราะทรัพย์สินทั้งหมด รวมอสังหาริมทรัพย์คือตัววังสุโขทัยด้วย ก็มีมูลค่าเพียง 3 ล้านกว่าบาทเท่านั้น
.
การพิจารณาคดีดำเนินไปหลายปี จนกระทั่งในที่สุดศาลได้มีคำสั่ง ตามคดีหมายเลขดำที่ 242/2482 คดีหมายเลขแดง ที่ 404/2484 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2484 (พิพากษาหลังสวรรคตแล้ว)
.
ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ 1 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี!
.
รัฐบาลยึดวังศุโขทัยและริบทรัพย์สินอื่นของพระปกเกล้าฯ เพื่อนำไปขายทอดตลาด แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ขาย ต่อมาในปี พ.ศ.2485 กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ขอเช่าวังศุโขทัยจากกระทรวงการคลังในอัตรา 5,000 บาทต่อเดือน เพื่อใช้เป็นที่ทำการ จนกระทั่งย้ายออกไปในเดือนพฤศจิกายน 2493
.
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2489 ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐบุรุษอาวุโสได้บันดาลให้เกิดสัญญาประนีประนอมประวัติศาสตร์ขึ้นระหว่างรัฐบาลกับจำเลยที่ 2 ในคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง คือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และกองมรดกผลประโยชน์ทั้งหลายของเจ้าฟ้าประชาธิปก มีสาระสำคัญว่า บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหลายที่ผูกพันกันอยู่นั้น เป็นอันให้เลิกแล้วต่อกัน รัฐบาลได้มาแล้วเท่าไรก็เอาเท่านั้น
.
และหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายออกไปแล้ว ทางการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเป็นที่ประทับต่อไป
___________________

 

บทความชิ้นนี้ หาได้มีเจตนาที่จะก้าวล่วงหรือลบหลู่สถาบันเบื้องสูงแต่อย่างใดไม่ เพียงเพื่อนำมาเสนอเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง น้ำพระทัยพระราชาผู้ทรงธรรม ผู้ปกป้องชีวิตคนไทย ทั้งขณะเสวยราชย์และหลังการสละราชสมบัติ กับ พวกที่ใฝ่สูงแต่ไร้ซึ่งธรรม ทำทุกอย่างได้ เพียงเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตน
___________________

 

[๑] คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒ ะหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำเลยที่ ๑กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จำเลยที่ ๒http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%97%E0%B9%98_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%98%E0%B9%92

 

[๒] เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ (ตอนที่ ๑-๒) อ้างใน วิษณุ วงศ์สมบูรณ์ จุลสารสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑-๒ http://www.kpisociety.com/images/newsUpdate/july55/page6-12.pdf / http://www.kpisociety.com/images/newsUpdate/zinethum/article/5-10_preview.pdf

 

[๓] กล่าวตรงกันกับ คุณหญิงมณี สิริวรสาร ที่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “…เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยึดทรัพย์ของจำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยก็หมดกำลังทรัพย์ทางกรุงเทพฯ ที่จะต่อสู้คดีอีกต่อไป และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พระสุทธิอรรถฯ ผู้พิจารณาคดีนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและเป็นอิสระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เสียสองครั้งแล้วก็มีอันเป็นไป คือถูกย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ถูกคำสั่งให้ปลดออกจากราชการในเวลาต่อมาโดยปราศจากความผิดใดๆ…” http://chatcha-mey.blogspot.com/2008/08/blog-post.html / http://thaienews.blogspot.com/2011/06/24-2475-7.html

 

[๔] พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาตรา ๒
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a812/%a812-20-2480-001.pdf

 

* พ.ศ. ๒๔๘๒ ใครรับตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โปรดใช้ Google หาดูนะครับ 😛   http://www.mof.go.th/home/minister_3.html