วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “พระราชฐานชั้นใน” ของพระบรมมหาราชวัง

…พระราชฐานชั้นใน มีบริเวณอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรสถาน ด้านหลัง และด้านข้างของพระราชฐานชั้นใน โอบล้อมด้วยอาคารสูง 2 ชั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นกำแพงพระราชวังชั้นในไปด้วยในตัว กำแพงดังกล่าวนี้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

ด้านนอกไม่มีหน้าต่างหรือช่องเปิดใดๆทั้งสิ้น พระราชฐานชั้นในเป็นเขตหวงห้ามสำหรับสำหรับบุคคลภายนอก โดยเฉพาะบุรุษเพศ ยกเว้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชโอรสที่ยังไม่ได้โสกันต์(ตัดจุก) หรือเด็กชายที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี

และถ้ามีธุระจำเป็นต้องขออนุญาตไปตามลำดับขั้นตอน จึงมีสิทธิ์เข้าได้ ปัจจุบันข้อห้ามเหล่านั้นได้ผ่อนคลายลง แต่ยังเป็นเขตหวงห้ามทีมีระเบียบแบบแผนใช้ปฎิบัติต่อไป

บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของพระมเหสี เทวี พระธิดา ตลอดจนเป็นที่อยู่ของพระสนมกำนัล เจ้าจอม ข้าหลวงและข้าราชการที่เป็นหญิงล้วน นอกจากนั้นยังมีเด็กหญิงวัยต่างๆกัน มีทั้งหม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้านายพระองค์ชาย และธิดาในเชื้อพระวงศ์หลายระดับ ตลอดจนธิดาของขุนนางและข้าราชการที่นิยมส่งบุตรีเข้ามารับการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่าน รวมทั้งรับการอบรมเรื่องการบ้านการเรือน ฝึกหัดกริยามารยาทเพื่อเป็นกุลสตรีที่งามพร้อม พระราชฐานชั้นในก็เปรียบเสมือนเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งที่พลเมืองเป็นหญิงล้วน มีระเบียบแบบแผนและความเป็นอยู่ของตนเอง ที่กลายเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมประเพณียุคหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

ประตูทางด้านทิศเหนือ ที่เชื่อมกับพระราชฐานชั้นในก็คือประตูราชกิจ..ประตูนี่แหละ…ใครบางคนชะเง้อ…คอสั้นๆ..แอบดู.. จนน้องทหารเหล่…ก็ชั้นอยากเข้ามากกกกก……อ่านนิยายของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ซะ….จนอยากฝันว่าได้เข้าไปเดินในนั้น…..

เกร็ดประวัติศาสตร์…ประตูนี้ชาววังเรียกประตูยามค่ำหรือประตูย่ำค่ำ เปิดปิดเวลา 6.00 น. – 22 .000 น. ในการเดินผ่านเข้า-ออกประตูนี้ในอดีต จะต้องระมัดระวังการต่างกายให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ใช้สีฉูดฉาด แบบกรุยกรายหรือสกปรกซอมซ่อ ทั้งจะต้องไม่ลากจูงหรือแบกหามอะไรที่หนักหรือใหญ่โตจนเกินกำลัง หรือส่งเสียงดังโครมครามหรือนำสัตว์เลี้ยงเข้าไป ห้ามสวมร้องเท้าแตะ มิฉะนั้นจะถูกพนักงานกรมโขลนผู้เฝ้าประตู…ซึ่งเป็นผู้หญิงไปสั่งสอน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง
ประตูช่องกุด เรียกกันว่า “ท้ายวัง” ประวัติศาสตร์ กล่าวถึงในชื่อ ประตูดิน เป็นประตูที่ชาววังใช้กัน… สาวชาววัง..จะออกมาทางประตูนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า”เจ้าชู้ประตูดิน”….หนุ่มๆมาแอบดูสาวชาววังกัน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง
เข้าประตูเลี้ยวซ้าย ด้านขวามือ คือ ประตูศรีสุดาวงศ์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

การแต่งกายของเจ้านายฝ่ายใน….สมัยรัชกาลที่ 5

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

ตำหนักเขียว ที่ประทับของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระพี่นางในรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันรื้อแล้วไปปลูกเป็นกุฏิสงฆ์วัดอมรินราราม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

พระตำหนักแดง ที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนบรมราชินี ปัจจุบันอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

ลักษณะของพระบัญชร ประกอบฐานสิงห์ตอนล่าง เป็นลักษณะนี้มักจะไม่ปรากฏในเรือนสามัญ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังซุ้มประตูทางเข้าเรือนแถวบางหลัง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังตำหนักหมายเลข 11…..

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

พระราชายา เจ้าดารารัศมี(แถวหลังองค์ที่ 4 จากซ้าย) และข้าหลวง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังทางเข้าตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังเรือนเจ้าจอมเอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังสะพานเชื่อมระหว่างตำหนักและเรือนทั้งสองหลัง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังแถวเต๊งทางด้านทิศตะวันตก ลักษณะแบบดั้งเดิม ดูแล้ว….คิดถึงแม่ช้อยกับแม่พลอย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง

ความสวยงามของสถาปัตยกรรมของเต๊งแดงแถวเต๊งเป็นอาคารสูง 2 ชั้น เป็นที่อยู่ของคุณข้าหลวงผู้ปฎิบัติงานตามตำหนักต่างๆ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง
ห้องพระเครื่องต้นหรือห้องเครื่องพระวิมาดา

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังภายในห้องพระเครื่อง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง
ตำหนักเจ้าจอมมารดาชุ่ม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวังตำหนักเจ้าจอมมารดาอ่อน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระราชฐานชั้นใน" ของพระบรมมหาราชวัง
ตำหนักเจ้าจอมมารดาแส…..

ตำหนักบางตำหนักเก่าแก่..และทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

เขตพระราชฐานนั้นใน ปัจจุบันมีการใช้งานดังนี้

๑) ที่ประทับของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ณ เรือนรับรอง A-B พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นการถาวร
๒) โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ สำหรับชั้นประถมศึกษา และวิทยาลัยในวังหญิง สำหรับฝึกอาชีพสำหรับสตรี โดยใช้ในส่วนของตำหนักเสด็จพระองค์อาทรทิพย์นิภา และโรงครัวพระวิมาดา
๓) พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร สำหรับพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ หรือ จัดกิจกรรมส่วนพระองค์
๔) พระที่นั่งพิมานรัตยา สำหรับถวายน้ำสรงพระบรมศพ หรือ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ เจ้านาย ที่พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ทั้งนี้ในอีกส่วน ส่วนพระตำหนัก ตำหนัก และเรือนต่างๆ เป็นส่วนที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ของข้าราชสำนักฝ่ายใน โดยในแต่ละแห่งจะมีเจ้าพนักงานฝ่ายใน อยู่เวรทั้งกลางวัน กลางคืน การจะขอเข้าชม ต้องทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เป็นกรณีๆ ไป

ที่มา>>>คลังประวัติศาสตร์ไทย,