วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

เรื่อง ธรรมเนียมหมอบกราบเวลาเข้าเฝ้า หรือ “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่”

เรื่อง ธรรมเนียมหมอบกราบเวลาเข้าเฝ้า หรือ “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่”

เขียนโดย เฟสบุ๊ก #โบราณนานมา

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า “กฎมณเฑียรบาล” มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา คำว่า “มณเฑียร” มาจากคำภาษาสันสกฤต แปลว่า “เรือนหลวง” หรือ “เรือนของพระเจ้าแผ่นดิน” กับคำว่า “บาล” แปลว่า “รักษา” เพราะฉะนั้น “กฎมณเฑียรบาล” คือ “กฎรักษาเรือนหลวง” ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็มีการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยเรื่องอื่น ๆ ขึ้นใหม่อีกหลายฉบับ บางฉบับใช้ชื่อว่ากฎมณเฑียรบาล บางฉบับก็มิได้ใช้ชื่อเช่นนั้น แต่เลี่ยงไปออกเป็นกฎหมายรูปแบบอื่น เช่น ประกาศพระบรมราชโองการบ้าง พระราชบัญญัติบ้าง พระราชกฤษฎีกาบ้าง พระราชกำหนดบ้าง

แต่ด้วยเหตุที่เนื้อหาสาระเป็นเรื่องที่ปกติแล้วจะพึงตราเป็นกฎมณเฑียรบาล จึงถือว่าเป็นกฎมณเฑียรบาลด้วยเช่นกัน เช่น ในรัชสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมหมอบกราบเวลาเข้าเฝ้า เรียกกันโดยทั่วไปว่า “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่” นอกจากนี้ ยังมี ประกาศพระบรมราชโองการห้ามคนแต่งกายไม่สมควรมิให้เข้ามาในพระราชฐานที่เสด็จออก ซึ่งนับว่าเป็นกฎมณเฑียรบาลอีกฉบับหนึ่ง ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็มีการตราและยกเลิกกฎมณเฑียรบาลอื่น ๆ อีกหลายฉบับ

ในปัจจุบันกฎมณเฑียรบาลที่ยังมีผลใช้ มีทั้งสิ้น ๙ ฉบับ ดังนี้

๑. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก
๒. ประกาศเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
๓. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก เพิ่มเติม (ครั้งที่ ๓)
๔. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยข้าราชการในพระราชสำนัก เพิ่มเติม
๕. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการค้าขายและสมาคมแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก
๖. กฎมณเฑียรบาล เพิ่มเติม
๗. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยเรื่องการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์
๘. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๕
๙. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗

ดังนั้น กฎมณเฑียรบาลในรัชกาลก่อนที่มีการตราขึ้นจึงถูกยกเลิกด้วยเช่นกัน ปัจจุบันกฎมณเฑียรบาลที่ถูกยกเลิกแล้ว เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ เป็นต้น

“การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์” ด้วยวิธีต่าง ๆ มีแบบอย่างและรายละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ “ข้อพึงปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท” อาทิ การเฝ้าฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน, การเฝ้าฯ ในที่รโหฐาน, การเข้าเฝ้ารับพระราชทานของ, การเข้าเฝ้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น ทั้งนี้การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ยังปรากฏให้เห็นในทุกรูปแบบในงานพระราชพิธี, งานรัฐพิธี และงานพิธี อีกด้วย

ปัจจุบันมารยาทไทยในการถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ มีโดยสังเขปดังต่อไปนี้

*”มารยาท” หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ

**”กาลเทศะ” หมายถึง ความควรไม่ควร

***”เคารพ” หมายถึง แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ

๑. การถวายความเคารพแบบโบราณราชประเพณี

****”ประเพณี” หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี

๑.๑ การถวายบังคม ก่อนที่จะถวายบังคมต้องนั่งคุกเข่า ปลายเท้าตั้งนั่งบนส้นเท้า เช่นเดียวกันทั้งชายและหญิงมือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อยหญิงนั่งเข่าชิด

การถวายบังคมแบ่งออกเป็น ๓ จังหวะ ดังนี้

จังหวะท่ี ๑ ยกมือข้ึนประนมมือระหว่างอก แขนแนบลำตัวไม่กางศอก

จังหวะท่ี ๒ ทอดมือที่ประนมลงพร้อมค่อมตัวลงเล็กน้อยสายตามองที่นิ้วหัวแม่มือแล้ววาดมือข้ึนพร้อมเอนตัวไปข้างหลังพองามให้ปลายนิ้วหัวแม่มือและปลายนิ้วชี้จรดหน้าผากมือทั้งสองไม่แยกพร้อมเงยหน้าข้ึนเล็กน้อย

จังหวะท่ี ๓ วาดมือที่ประนมลงพร้อมใบหน้าให้กลับมาอยู่ในท่าจังหวะท่ี ๑ ทำทั้ง ๓ จังหวะ ให้ครบ ๓ ครั้ง แล้วจึงลดมือลงวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง

๑.๒ การหมอบกราบ โดยนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าเพียงเข่าเดียว ประสานมือ (ถึงขั้นตอนนี้เรียกว่า “การหมอบ”) เมื่อจะกราบให้ประนมมือก้มศีรษะลงด้านบนของมือจรดที่หน้าผาก เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าตามเดิมอีกครั้งหน่ึง

๒. การถวายความเคารพแบบสากล
ชาย ใช้วิธีถวายคำนับ โดยค่อมตัวต่ำพอสมควร
หญิง ใช้วิธีถวายความเคารพโดยการถอนสายบัว มี ๒ แบบ คือ

๒.๑ แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางที่ประทับ วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อตัวลง โดยลำตัวตรง หน้าตรง ทอดสายตาลงต่ำปล่อยแขนทั้งสองข้างเสร็จแล้วยืนตรง

๒.๒ แบบพระราชนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางที่ประทับ วาดเท้าข้างใดข้างหน่ึงไปข้างหลังพร้อมกับย่อตัวลง ในขณะที่วาดเท้าให้ยกมือทั้งสองข้างขึ้น วางประสานกันบนหน้าขาเหนือเข่า ค่อมตัวเล็กน้อย ทอดสายตาลงต่ำเสร็จแล้วยืนตรง

ทั้งนี้ กฎมณเฑียรบาลและวิธีแสดงความเคารพแบบต่าง ๆ ย่อมแสดงถึงลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของคนไทยคือการตระหนักรู้และเข้าใจเรื่อง “ความกตัญญู” โดยเฉพาะที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นเสน่ห์ของคนไทย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาติอย่างชัดเจน

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, สถานที่ในร่ม