เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2560 Tun Swaengphol ได้ โพสเฟสบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึง “กระแสร์พระบ
“…ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระบรมครู เกิดสงครามใหญ่ในยุโรปที่กระเทือนทั้งโลกจึงได้ฉายาว่าสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศสยามจะต้องเลือกข้าง บรรดามุขมนตรีเห็นพ้องกันว่าเราควรเข้าข้างเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ไม่รังแกไทย ฝ่ายอังกฤษฝรั่งเศสนั้นรังแกไทยมาตลอดเวลา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ขาดว่าสยามต้องรบเคียงข้างอังกฤษฝรั่งเศส มิใช่รักชอบความถูกต้องด้วยวิเทโศบายการเมือง ซึ่งก็อาจมีผู้ใหญ่ไม่สบายใจนับจำนวนไม่น้อยเพราะในสยามมีนักเรียนเก่าเยอรมันหลายพระองค์และหลายคนทีเดียว และห้างเยอรมันเช่น B.Grim & Co. ก็ดูจะเป็นที่ชอบพอของคนไทยและเจ้านายไทยมาก
เมื่อสงครามสงบสยามไม่ต้องถูกอังกฤษและฝรั่งเศสเฉือนครึ่งแบ่งกันอันเป็นเจตนาลับ (ที่ไม่ค่อยลับนัก) มานานพอสมควร และยังได้รับเอกสิทธิ์หลาย ๆ ประการคืนมา
…
เหตุการณ์นี้นับเป็นตัวอย่างสาธิตที่ชัดเจนที่สนับสนุนคำกล่าวของปราชญ์ว่า “เสียงข้างมากบอกความต้องการได้ แต่อาจบอกความถูกต้องไม่ได้”…”
พระคุณที่ประเมินค่ามิได้ – ศ.เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รำลึก ๑๐๐ ปีแห่งการประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการว่าด้วยการสงครามซึ่งมีต่อประเทศเยอรมนีและออสเตรียฮังการี
๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐