การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส ใน สงคราม Franco-Prussian War ค.ศ. 1812
.
สงครามดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 เมื่อกองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำการข้ามแม่น้ำเนมันเพื่อหวังเข้าต่อสู้และพิชิตทัพรัสเซีย ซึ่งนโปเลียนหวังที่จะบังคับให้ ซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ยุติการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าอังกฤษ ซึ่งนโปเลียนหวังใช้เป็นข้อกดดันทางอ้อมให้อังกฤษสูญเสียรายได้จนต้องขอเข้าสู่กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส และปฏิบัติการนี้ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงโปแลนด์มาจากรัสเซีย
.
กองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียนเป็นมหากองทัพที่มีทหารมากถึง 680,000 นาย นโปเลียนเคลื่อนพลเข้าไปทางตะวันตกของรัสเซียอย่างรวดเร็ว แต่กองทัพรัสเซียได้หลีกเลี่ยงการต่อสู้ตลอดและถอยลึกเข้าไปในแผ่นดินรัสเซีย ตามยุทธวิธีร่นถอย ทิ้งเมืองสโมเลนสค์ไว้ในกองเพลิง ทำให้แผนการที่จะทำลายกองทัพรัสเซียที่สโมเลนสค์นั้นต้องเป็นหมันไป และนำทัพไล่ตามกองทัพรัสเซีย
.
ในระหว่างที่ทัพรัสเซียล่าถอยลึกเข้าไปในแผ่นดิน แม่ทัพรัสเซียก็สั่งให้พวกคอสแซคเผาทำลายหมู่บ้าน, เมือง และทุ่งข้าวโพดระหว่างทางผ่านให้สิ้น เพื่อหวังไม่ให้กองทัพนโปเลียนมาใช้ประโยชน์ได้ กลยุทธ Scorched earth ของฝ่ายรัสเซียนี้ สร้างความความยุ่งยากและความตะลึงแก่กองทัพนโปเลียนเป็นอันมากว่ารัสเซียจะสามารถทำร้ายแผ่นดินและราษฏรของตนเองเพียงเพื่อสกัดกั้นทัพข้าศึก ซึ่งยากที่แม่ทัพฝรั่งเศสจะเอาอย่างได้ ด้วยเหตุฉะนี้ กองทัพนโปเลียนจึงจำต้องพึ่งแต่กองสนับสนุนทางเสบียง ซึ่งเสบียงที่ขนส่งมากก็ไม่พอเลี้ยงหองทัพมหึมาทั้งกองทัพ ความขาดแคลนเสบียงบังคับให้ทหารจำต้องออกจากค่ายในเวลากลางคืนเพื่อหาอาหาร ซึ่งบ่อยครั้งที่ทหารเหล่านี้ต้องถูกจับหรือถูกฆ่าตายโดยพวกคอสแซค
.
วันที่ 7 กันยายน (ยุทธการโบโรจีโน) กองทัพนโปเลียนก็เผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซียที่ขุดดินซุ่มอยู่เชิงเขาก่อนถึงหมู่บ้านเล็กๆที่ชื่อโบโรจีโน ราว 110 กิโลเมตรทางตะวันตกของมอสโก การปะทะในวันนั้นถือเป็นการปะทะที่นองเลือดที่สุดในวันเดียวของสงครามนโปเลียน ซึ่งมีทหารเสียชีวิตกว่ากว่า 70,000 นาย แม้ว่าฝ่ายนโปเลียนจะได้รับชัยชนะในเชิงยุทธวิธี แต่ก็ต้องเสียนายพลไปถึง 49 นายและทหารอีกหลายหมื่น กองทัพรัสเซียที่เหลือรอดสามารถหนีไปได้ในวันต่อมา
.
หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน นโปเลียนกรีฑาทัพถึงมอสโก ซึ่งสร้างความงุนงงแก่เหล่าทหารมากที่เมืองทั้งเมืองเป็นเมืองร้างที่แทบไร้ผู้คน เนื่องจากรัสเซียได้อพยพผู้คนเกือบทั้งหมดออกไปก่อนหน้าแล้ว จุดยุทธศาสตร์ในมอสโกจำนวนมากก็ได้ถูกเผาตามคำสั่งของนายกเทศมนตรี นโปเลียนตัดสินใจปักหลักในมอสโกเพื่อรอให้รัสเซียประกาศยอมแพ้ แต่การเสียมอสโกซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองก็ไม่ทำให้ซาร์แห่งรัสเซียยอมจำนน
อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักดีถึงความโหดร้ายของหน้าหนาวในรัสเซีย เช่นนั้นแล้วก่อนที่หน้านโปเลียนจึงต้องการพิชิตรัสเซียให้เร็วที่สุด นโปเลียนรออยู่ในมอสโกหนึ่งเดือนเศษก็ยกทัพไปตะวันตกเฉียงใต้ยังเมืองคาลูกา ซึ่งจอมพลคูตูซอฟแห่งรัสเซียตั้งค่ายทัพหลวงอยู่ที่นั่น
.
กองทัพนโปเลียนต้องเผชิญสภาพอากาศเลวร้ายระหว่างถอนทัพ
หลังจากที่รออยู่ 5 สัปดาห์ในมอสโก เพื่อให้รัสเซียมายอมแพ้ตามประเพณีหลังจากที่เสียเมืองหลวง แต่ก็ไม่มีใครมา การเจรจาสันติภาพก็ล้มเหลว และเมื่อเหลือแต่เมืองเปล่า ไม่มีข้าวปลาอาหาร ในขณะที่รัสเซียสามารถเสริมกำลังได้ แต่ฝรั่งเศสไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
แท้จริงแล้วรัสเซียใช้แผนในการล่อให้ ฝรั่งเศส เข้าไปในเมืองมอสโกที่กลายเป็นเมืองร้าง เพื่อให้อดอาหารและหนาวตาย การเผาเมืองมอสโกนั้นมีเจตนาเพื่อไม่ให้เสบียงตกถึงฝรั่งเศสได้นั้นเอง
นโปเลียนเองที่ยึดครอง มอสโกอยู่ก็ตระหนักถึงอันตรายที่จะตามมาเมื่อเข้าสู่หน้าหนาว ซึ่งหมายถึงการอดตาย จึงจำต้องสั่งถอยทัพออกจากมอสโกโดยเร็วเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1812
การเคลื่อนพลของนโปเลียนไปยังคาลูกาถูกจับตาโดยหน่วยสอดแนมของรัสเซีย นโปเลียนได้ปะทะกับรัสเซียอีกครั้งที่มาโลยาโรสลาเวตในวันที่ 24 ตุลาคม แม้ว่าจะ”ได้รับชัยชนะ”ซากเมืองที่ไม่มีประโยชน์อื่นใด แต่นโปเลียนก็เลิกล้มที่จะไปยังคาลูกาเนื่องจากเริ่มเข้าฤดูหนาว เช่นนั้นแล้วนออกจากรัสเซีย ซึ่งระหว่างที่ถอนกำลัง กองทัพนโปเลียนก็ต้องเผชิญกับความหฤโหดของหน้าหนาวในรัสเซีย ทั้งการขาดที่พักและเสบียงทั้งของทหารและม้า (ผลจากยุทธวิธี Scorched earth ของรัสเซีย), ความขาดแคลนเสื้อกันหนาว, ภาวะตัวเย็นเกิน, ภาวะเหน็ดเหนื่อย ทำให้กองทัพนโปเลียนด้อยศักยภาพลง นี่จึงเป็นโอกาสทองของรัสเซีย รัสเซียได้ทีจึงยกทัพคอยตามตีอยู่เนืองๆ ในวันที่กองทัพนโปเลียนข้ามแม่น้ำเบเรซีนาในเดือนพฤศจิกายน มีทหารที่พร้อมรบเหลือเพียง 27,000 นาย กองทัพใหญ่ได้สูญเสียกำลังพลในปฏิบัติการนี้ถึง 380,000 นายและตกเป็นเชลยอีกกว่า 100,000 นาย ปฏิบัติการครั้งนี้สิ้นสุดลงเมื่อข้าศึกนายสุดท้ายออกจากแผ่นดินรัสเซียในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1812
แม้ว่าการต่อสู้ใน (ยุทธการโบโรจีโน) ถูกมองว่าเป็นชัยชนะของนโปเลียน ที่สามารถบุกไปถึงมอสโกได้สำเร็จ นั้นเป็นความสำเร็จที่ถูกจัดฉากขึ้นโดยรัสเซียและถูกตลบหลังจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด
เพลง1812 โอเวอร์เชอร์ กับ เสียงปืนใหญ่ สนั่นหวั่นไหวแทนที่ในจังหวะกลอง
เพลง Ouverture Solennelle, L’Année 1812 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 1812 โอเวอร์เชอร์ (อังกฤษ: 1812 Overture) เป็นโอเวอร์เชอร์ที่แต่งโดยปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี ในปี ค.ศ. 1880 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของทหารรัสเซียในการป้องกันมอสโกจากการรุกรานของกองทัพฝรั่งเศส นำโดยนโปเลียน โบนาปาร์ต โดยเฉพาะในยุทธการโบโรดิโน เป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1812
ในการแสดงเพลง1812 โอเวอร์เชอร์ มักใช้ ปืนใหญ่ห้ากระบอกของรัสเซีย ยิ่งไปในอากาศเพื่อแทนเสียงกลองที่ปรากฏในเนื้อเพลง ส่วนเหตุผลที่ใช้เสียงปืนใหญ่แทนเสียงกลองในเพลงนั้น ก็เพื่อตอบโต้ส่วนหนึ่งของ “La Marseillaise” (ซึ่งก็คือ เพลงชาติฝรั่งเศส) เล่าเป็นเรื่องราว สรุปโดยคร่าวๆว่า แม้ว่าฝัร่งเศสจะได้รับเสียงระฆังแห่งชัยชนะแต่สุดท้ายพระเจ้าก็ปกป้องพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย โดยเพลงมีการผสมผสาน เพลง God Save the Tsar ไปอีกด้วย ราวเป็นการส่งสัญญานเชิงสัญลักษณ์ว่า นี่คือชัยชนะเหนือชัยชนะ
น่าสนใจ ที่โลกในสมัยปัจจุบัน ตีความหมายเพลง 1812 โอเวอร์เชอร์ ของรัสเซีย ขึ้นมาใหม่ และถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการในอุดมคติของโลกตะวันตก อีกทั้งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านเผด็จการตามอุดมคติทางการเมืองแบบ”ลีพับลิก” ในภาพยนต์ V for vendetta อีกด้วย