วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

6 สิงหาคม รำลึกวีรกรรม หลวงประดิษฐไพเราะ ต่อต้านคณะราษฎรด้วยดนตรีไทย

ในภาพอาจจะมี 1 คน

6 สิงหาคม รำลึกวีรกรรม หลวงประดิษฐไพเราะ ต่อต้านคณะราษฎรด้วยดนตรีไทย

เขียน โดย เฟสบุ๊ก ปราชญ์ สามสี

“…ต้นไม้ที่แข็งแรง ก็ย่อมมาจากรากที่ฝัง. แน่นในพื้นดิน ประเทศชาติที่เข้มแข็ง ก็ย่อมมาจากวัฒนธรรมที่แข็งแรง…”

เมื่อวานนี้( 6 สิหาคม)เป็นวัน คล้ายวันเกิดของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เห็น Doodle ของ Google นำมาเผยแพร่ ก็เลยขอนำมาเขียนเล่าให้ สมาชิกฟังกันนะครับ

หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จัก แต่เขาคนนี้นั้นแหล่ะคือคนที่ทำไห้ ดนตรีไทยยังรอดจากการถูกขจัดทิ้งจากคณะราษฎร และ สามารถเจริญรุ่งเรื่องจนถึงปัจจุบัน

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นครูดนตรี ระดับแนวหน้าสมัย คณะราษฎรกำลังมีเป้าหมายในการปฎิวัติวัฒนธรรมชาติ โดยการทำลายวัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่าง ดนตรีไทยจึงเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายในยุคนั้น

ใครจะไปรู้ละว่า …ในสมัยนั้นการเล่นดนตรีไทยนั้นสามารถติดคุกทหารได้ โดนอุ้มได้ …เรื่องนี้เป็นความจริงที่สามารถได้ในช่วงประวัติศาสตร์ ที่ลูกหลานคณะราษฎร ไม่กล้าพูดถึง

ชีวิตของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ราวกับภาพยนต์เพราะได้ผ่านช่วงเวลาที่ รุ่งโรจน์และขมขื่น มาโดยตลอดโดยเฉพาะการที่จะต้องถูกจับกุมเนื่องจากเป็นผู้เผยแพร่ดนตรีไทยในสมัยนั้น… จนหลวงประดิษฐไพเราะ ได้ประท้วงคณะราษฎรด้วยการเล่นเพลง “แสนคำนึง” ซึ่งมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านคณะราษฎรในเรื่องการทำลายวัฒนธรรมรางเหง้าตนเอง โดยกล่าวอ้างว่า “วัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องล้าหลัง เลวทราม” และยึดเอาทำเนียมฝรั่งเป็นแบบอย่างโดยอ้างความเป็นอารยะ

เพลง “แสนคำนึง” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ในการท้าทายคณะราษฎรในเวลานั้น

ส่วนสาเหตุที่ เพลงแสนคำนึง ซึ่งไม่มี “เนื้อร้อง” นั้นเดิมที ว่ากันว่า เนื้อร้องที่ หลวงประดิษฐไพเราะแต่งขึ้นนั้น เป็นบทกลอนที่เล่าถึงความขมขืนของประชาชนที่ถูกริดรอนสิทธิในการแสดงออกในความเป็นไทย ไม่สามารถเล่นดนตรีหรือมีความเป็นไทยได้ จึงแต่งออกมาเป็นบทกลอนเล่าลงไปในบทเพลง “แสนคำนึง” แต่ต่อมา ลูกสาวของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)ได้”ทำลายทิ้ง”เพราะเกรงความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับ หลวงประดิษฐไพเราะ บิดาของตนเอง

“แสนคำนึง” จึงกลายเป็นเพลง”ไร้คำร้อง”ไปโดยบริยาย

ชีวิตของ หลวงประดิษฐไพเราะ และบทเพลง “แสนคำนึง” ได้กระตุ้นให้ คนไทยหวนถึง คุณค่าของวัฒนธรรม และคุณค่าของประเทศไทย อย่างเต็มเปี่ยม และได้ถูกนำมาเป็นเคล้าโครงภาพยนต์อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง ” โหมโรง” ที่มีสนทนาน่าสนใจ เช่น

ฉากการโต้คารมของ พันโทวีระ(คณะราษฎร) ที่พยายามจะบอกกล่าวให้ครูศรเข้าใจถึงการก้าวเข้าสู่ความเป็นอารยะของไทยว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากเรายังมัวแต่จมอยู่กับความเก่าคร่ำครึ(อย่างดนตรีไทย) ซึ่ง”ครูศร”เองก็ได้ย้อนถามกลับไปอย่างน่าคิดว่า…

“เป็นอารยะโดยการดูถูกรากเหง้าของตัวเองน่ะหรือ?…ไม้ใหญ่จะยืนทะนงต้านแรงช้างสารได้ ก็ด้วยรากที่หยั่งลึกและแข็งแรง ถ้าไม่ดูแลรักษาเอาไว้ให้ดี เราจะอยู่รอดกันได้แบบไหน…”

ชีวิตของหลวงประดิษฐไพเราะ ถูกปลุกขึ้นมาให้เล่าสู่กันฟังอีกครั้ง เพราะ วันใดที่ลูกหลานใคร เลือกที่จะเดินตามรอย”คนบาป“ที่หาญกล้าทำลายความวัฒนธรรมเป็นรากเหง้าของบรรพบุรุษตนเอง บทเพลง “แสนคำนึง” ก็จะถูกบรรเลงอีกครั้ง

ขอให้สยามยังอยู่ยั่งยืนยง

#ประเทศไทยจงเจริญ

ปล. ช่วงนี้ประวัติศาสตร ดูเหมือนจะกลับมาอีกครั้ง “ลูกหลานคณะราษฎร”บางคน ยังคงกลับมาในร่างเด็ก”บางคน”เพื่อแซะวัฒนธรรมรากเหง้าของประเทศอีกครั้ง อีกทั้งช่วงเวลานี้ครูเพลงไทยในปัจจุบันที่ปกป้องรากเหง้าของชาติก็ถูก ลูกหลานคณะราษฎรรังแก