ยุวชนทหาร จากเรื่องจริงของเด็กผู้ชายชั้น ม.ปลาย ที่อาสาสมัคร ไปตาย เพื่อชาติ
วีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของยุวชนทหาร คือ การร่วมมือกับทหารและตำรวจเพื่อต่อต้านการรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคมพ.ศ. ๒๔๘๒ ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ วีรกรรมของยุวชนทหารที่โดดเด่นที่สุดในการรบครั้งนั้นคือ วีรกรรมที่สะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพร
หลวงจรูญประศาสน์ ข้าหลวงจังหวัดชุมพร ได้ติดต่อให้ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยฝึกยุวชนทหาร ชุมพร นำกำลังยุวชนทหารและตำรวจออกไปขัดขวางทหารญี่ปุ่น ที่บริเวณสะพาน “ท่านางสังข์” (ทหารประจำการไม่อยู่)
การรบได้เป็นไปอย่างดุเดือดจนถึงขั้นสู้กันระยะประชิดตะลุมบอน กองกำลังผสมของไทยสามารถต่อต้านการเคลื่อนที่ของทหารญี่ปุ่นไว้ได้ จนถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. จึงได้รับคำสั่งให้หยุดยิงจากทางรัฐบาลไทยให้ญี่ปุ่นสามารถใช้ดินแดนไทยเป็นทางผ่านได้ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้เสียชีวิตในการสู้รบ พร้อมด้วยยุวชนทหารและตำรวจจำนวน ๕ นายบาดเจ็บ ๕ นาย ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวีตบาดเจ็บกว่า ๒oo นาย
เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นทราบว่ากลุ่มยุวชนทหารหลายคนเป็นเพียงนักเรียนมัธยม จึงส่งหนังสือเชิดชูความกล้าหาญมายังกระทรวงกลาโหม
และร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพันโท ส่วนการเชิดชูเกียรติของยุวชนทหารผู้เสียชีวิตและผู้ร่วมต่อสู้ในครั้งนั้น
ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันนักศึกษาวิชาทหาร ซึ่งที่อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร เชิงสะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพรนั้น จะมีพิธีวางพวงมาลาและการสวนสนามของนักศึกษาวิชาทหาร ในทุกวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นด้วย
วีรกรรมของยุวชนทหารได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ยุวชนทหารเปิดเทอมไปรบ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงฉลองพระองค์ยุวชนทหาร
พระราชทานธงประจำกองยุวชนนายทหาร เมื่อ พ.ศ. 2482