วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

Etiquette of Asia : มารยาทในเอเชีย และ อุษาคเนย์

เขียนโดย “ปราชญ์ สามสี”
———————

เมื่อวันก่อนได้มีเพื่อนมิตรชาวไทยในต่างประเทศต่างส่งคลิป วีดิโอ มาที่ข้าพเจ้าจำนวนมาก พร้อมแสดงความโกรธขุ่นเคืองใจอย่างมาก เนื่องจากรายการทีวี SAT.1ในประเทศเยอรมนีได้กระทำการมิบังควร นำเรื่องพิธีกรรมในพระราชพิธี โดยเฉพาะ เรื่องการเข้าเฝ้าของพระบรมวงศานุวงศ์ใน “ลักษณะมอบกราบ” เอามาเป็นเรื่อง “ล้อเลียน น่าขบขัน” ภายในรายการดังกล่าว

ข้าพเจ้าจึงได้ติดตามเรื่องเหล่านี้มาตลอดทั้งคืนเพื่อที่จะมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้ฟังกันครับ

จากความเห็นที่ไม่พอใจภายในระยะเวลาไม่นาน เรื่องราวก็ลุกลามไปสู่ความไม่พอใจรุนแรงของปวงชนชาวไทยจำนวนมาก ที่ส่งตรงไปถึงสถานีโทรทัศน์ แห่งนั้น SAT.1 Frühstücksfernsehen โดยตรง

คนไทยจำนวนมากได้เข้าไปตำหนิถึงพฤติกรรมไม่บังควรของสำข่าวดังกล่าว ที่กระทำการล้อเลียน การหมอบกราบ และการไหว้อันเป็นวัฒนรรมไทย จนทำให้ เมื่อวานนี้ ทางเฟสบุ๊กของสถานีโทรทัศน์ SAT.1 Frühstücksfernsehen ได้ โพส ข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้โดยระบุว่า

“The morning show ( SAT.1- Frühstücksfernsehen ) discussed the ceremony of the Thai King Maha Vajiralongkorn on friday. Many viewers feel that the way the show discussed the issue was inappropriate and offensive. The editorial department never meant to insult Thai culture in any way. If that happened nevertheless, we hereby apologize formally.
รายการยามเช้า “เสาร์ 1-frühstücksfernsehen” ได้หยิบประเด็นพิธีถวายพระมหากษัตริย์ไทยมหากาพย์วชิราลงกรณมาพูดคุยกันในรายการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้ชมหลายคนรู้สึกว่าวิธีที่พูดคุยกันนั้นไม่เหมาะสมและเป็นการเหยียมหยาม ฝ่ายบรรณาธิการไม่เคยมีเจตนาดูถูกวัฒนธรรมไทยในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามเราก็ต้องขอโทษอย่างเป็นทางการ”

เรื่องร้อนไปถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ต้องโพสข้อความไปถึงสถานีดังกล่าว โดยระบุว่า 
“สถานทูตในฐานะตัวแทนของชาวไทย ขอประท้วงกับการกระทำของรายการดังกล่าวซึ่งดำเนินการผลิตซ้ำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส อันถือเป็นการสถาปนาสมเด็จพระราชินี ด้วยกิริยาที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม ภาพซึ่งปรากฎในพิธีดังกล่าวซึ่งบุคคลหนึ่งหมอบลงกับพื้นต่อหน้าบุคคลอีกคนหนึ่ง ในประเทศไทยเป็นการแสดงถึงความเคารพและนับถือ ประเพณีดังกล่าวยังได้รับการปฏิบัติในหมู่ชาวไทยถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับลูกและพ่อแม่ ผู้อาวุโส หรือบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูง สำหรับชาวไทยแล้วการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังกล่าว และแสดงให้โลกเห็นด้วยความภาคภูมิใจถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควรได้รับความเคารพนับถือ และมิควรถูกเปรียบเทียบ หรือตัดสินจากวัฒนธรรมอื่น นอกจากนี้วัฒนธรรมของเราดังกล่าวยังไม่ได้สร้างความเสียหาย หรือทำร้ายผู้ใด ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ
“ตลอดมา พวกเราคนไทยรู้สึกเคารพต่อความอดกลั้น และความนับถือต่อผู้อื่นของชาวเยอรมัน อย่างไรก็ตามสถานเอกอัครราชทูตไทยได้รับลิงก์ของรายการดังกล่าวจากคนไทยร่วมชาติจำนวนมากที่รู้สึกเจ็บปวดกับภาพดังกล่าว เพื่อให้เราติดต่อกับท่านเพื่อขอคำชี้แจงโดยเร่งด่วน เรารู้สึกผิดหวังอย่างมากที่ในประเทศที่มีความเป็นสากลนิยมสูง กลับเย้ยหยันประเพณี และวัฒนธรรมอื่นทั้งยังออกอากาศทางโทรทัศน์ด้วย มากกว่า 150 ปีแล้วที่เยอรมนีและไทย รักษาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันด้วยความเข้าใจและความเคารพนับถือต่อกัน อย่างไรก็ตาม เรามิอาจเข้าใจได้เลยว่า เหตุใดการวิพากษ์วิจารณ์โดยขาดความเข้าใจพื้นฐาน จึงถูกแสดงออกและเผยแพร่ด้วยวิถีทางเช่นนี้ การแสดงความตลกขบขันกับประเพณีอันยาวนาน การวิพากษ์วิจารณ์โดยขาดความเคารพและเข้าใจ เรารู้สึกว่าขาดความเหมาะสมอย่างยิ่ง เราไม่สามารถยอมรับเหตุการณ์นี้ได้ไม่ว่าจะด้วยแง่มุมใด และมิอาจหลีกเลี่ยงได้เลยหากจะกล่าวว่ารายการดังกล่าวอาจสร้างความกระทบกระเทือนให้กับความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมัน
“ด้วยเหตุนี้ ในฐานะของชาวไทยทั้งปวง จึงขอร้องให้ท่าน และผู้ดำเนินรายการทั้งสองท่านแสดงความขอโทษ และเผยแพร่แถลงการณ์ฉบับนี้ต่อสาธารณะ โดยเฉพาะในรายการช่วงเช้า ในโลกทุกวันนี้การวิพากษ์วิจารณ์ประเพณีของชาติอื่นไม่ควรจะได้รับการยอมรับ และอดทนอดกลั้น ประเทศไทยขอปกป้องประเพณีอันทรงคุณค่านี้ต่อการดูหมิ่นเหยียดหยามใดๆ”

——————————————-

หากติดตามประเด็นมาถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าขอเริ่มอธิบายในบริบทที่ข้าพเจ้าเห็นนะครับ
กล่าวคือ ข้าพเจ้ามองเห็นว่า ปัญหาในรายการ SAT.1 Frühstücksfernsehen นั้นเป็นเรื่องของบกพร่องในตัวบุคคล มากกว่าเป็นเรื่องปัญหาระหว่างประเทศ… เนื่องจากประเทศไทยและประเทศเยอรมนีนั้นมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาโดยตลอด เราเรียนรู้และรู้จักวัฒนธรรมอันดีระหว่างสองเรา …
เหมื่อนดั่งบทเพลง Siamesische Wacht Parade แต่งโดย Paul Lincke ยังคงอยู่กับความสัมพันธ์ของสองเรา จวบถึงปัจจุบัน

พวกเราประชาชนคนไทย สนับสนุนให้ผู้คนในประเทศของเราไม่ละเมิดผู้อื่นด้วยการมองวัฒนธรรมอื่นเป็นเรื่องตลกขบขัน เพราะพวกเราตระหนักชัดเจนว่า พวกเราเป็นอารยชนผู้มีสติปัญญาย่อมไม่สบประมาทผู้อื่น
และเราก็เชื่อมั่นว่าประชาชาวเยอรมนีโดยทั่วไปนั้นเป็นอารยชน เช่นกัน
ในการรักษาสันติภาพสากลนั้น เรารู้ดีครับว่า กฎข้อแรกของการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ คือการเคารพในความแตกต่างของ ชาติพันธุ์ สีผิว กฎหมาย ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา เป็นต้น
ใครเอาสิ่งเหล่านี้มาล้อเลียนล้อเล่น ย่อมเป็นผู้ทำลายสันติภาพ ด้วยการสร้างความขัดแย้งทั้งสิ้น
การกระทำเหล่านี้หากเกิดกับบุคคลใดย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจนิ่งเฉยได้ เพราะ การกระทำเพียงคนเดียวอาจทำให้ ความสัมพันธ์ของเราทั้งสองเสียหายได้

และเป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่คนซึ่งนำวัฒนธรรมชาติอื่นมาล้อเลียนนั้นกลับกลายเป็นสื่อมวลชน ที่ถือว่าเป็นอาชีพที่ ผู้คนให้ความเชื่อถือ,มีเกียรติและจรรยาบรรณสูงในสังคมสากล …นับว่าเป็นจุดด่างพร้อยของสังคมเยอรมนีที่ทรงเกียรตินะครับ

สิ่งที่เราคนไทยเรียกร้องต้องการได้รับจากกรณีนี้ คือการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไทย เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและเยอรมนีสืบไป

———————

การหมอบกราบคืออะไร? มีความหมายอะไร? ชาติใดมีวัฒนะรรมแบบนี้บ้าง ต้องอ่านต่อใต้ภาพ ครับ

ในวัฒนธรรมการ กราบไหว้ของไทย และ สยาม นั้น มิได้เป็นวัฒนธรรม อันน่าตลกขบขัน หรือแปลกแตกต่างจากสากลโลก แต่การกราบไหว้เป็นการเคารพด้วยจิตวิญญานอันบริสุทธิ์มอบให้กับบุคคลที่เขาเคารพนับถือ เช่น การที่ลูกหลานเคารพแด่บรรพชน การที่ลูกศิษย์เคารพแด่ครูอาจารย์ การที่ลูกเคารพแด่บิดามารดา เป็นต้น อีกทั้ง การทักทายให้กันด้วยไหว้เปรียบเสมือนการให้พรต่อกัน การแสดงออกทางมารยาทเหล่านี้ ไม่ได้ปรากฏเพียงแค่ในประเทศไทย แต่ปรากฏในหลายประเทศโดยเฉพาะ ประเทศใน ทวีป อุษาคเนย์


ในประเทศที่เจริญเป็นอารยะแล้วแถบเอเชีย การโค้งคำนับ และการกราบไหว้ ก็ถือ เป็นการเคารพด้วยจิตวิญญานอันบริสุทธิ์มอบให้กับบุคคลที่เขาเคารพนับถือ ก็มีปรากฏในวัฒนธรรมชาติเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น พิธี “Rei ni hajimari, rei ni owaru” ในกีฬาประเภท ยูโด ของประเทศญี่ปุ่นที่จะต้องหมอบคำนับหัวถึงพื้นเพื่อแสดงความเคารพ จิตวิญญาณครูอาจารย์

และตัวอย่าง ในประเพณีในญี่ปุ่น พิธีชงชาที่ละเอียดอ่อนนั้น ซึ่งมีส่วนปรากอบด้วยของการนั่งคำนับให้กันและการชงชาที่ประณีต เกิดขึ้นเพื่อให้แสดงถึงความเคารพและภักดีต่ออาวุโสในครอบครัว

อีกทั้งการโน้มตัวลงกราบติดพื้นยังมีให้เห็นในวัฒนธรรมญี่ปุ่นในปัจจุบัน เช่น วัฒนธรรมการโค้งคำนับ (deep bow) ในพิธีกรรมทางศาสนา ใน ฮอนชู เกียวโต ในช่วงเทศกาลกิออน หลังจากที่หญิงสาว แสดงการร่ายรำจบจะหมอบกราบความเคารพอย่างสูงต่อผู้ชมและเทพเจ้าของศาลเจ้า

สว่นประเทศที่มีอารยะธรรมกว่าพันปีอย่างประเทศจีน เองก็ยังมีวัฒนธรรมการกราบไหว้บรรพบุรุษด้วยความเคารพอย่างสูงสุด ถือว่าเป็นความกตัญญูต่อวงตระกูล แม้ว่าเดิมทีหลักฐานการหมอบกราบไหว้ของจีนนั้นจะปรากฎแต่เพียงพิธีสำคัญของสังคมในทุกชนชั้น แต่ ก็ยังปรากฏการกราบไหว้ผู้อาวุโส-พ่อแม่- อาจารย์ได้ปรกติในชีวิตประจำวัน โดยการนอบน้อมหมอบกราบนั้นแสดงถึงความพิเศษของความเคารพที่มากกว่าปรกติ


ส่วนประเทศที่มีวัฒนธรรมทางศาสนาพุทธที่เข็มแข็งมาช้านานอย่าง ภูฎาน และ ทิเบตนั้นก็มี วัฒนธรรมการ กราบอัษฎางคประดิษฐ์ (นอนกราบ) เพื่อแสดงความเคารพต่อจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์สูงสุด


ในศาสนาอิสลามนั้นชาวมุสลิมจะกระทำการ Sajdah เพื่อแสดงความเคารพแด่พระเจ้าอันสูงสุดของชาวมุสลิม


ส่วนในศาสนา ยิวแล้ว ชาวยิวคาไรต์ ในอิสราเอล ซึ่งแยกตัวจากศาสนายูดาย มานานกว่า 1,000 ปี ก็ยังปฎิบัติตามวัฒนธรรมดังเดิมจนถึงปัจจุบันด้วยการหม
อบกราบและสวดภาวนา

เห็นไหมละครับว่า การกราบไหว้ ในรูปแบบลักษณะคล้ายกันนี้เกิดขึ้นทั่วทวีปเอเชีย และ ตะวันออกกลาง …และปรากฏในหลากหลายศาสนาเช่น อิสลาม พุทธ และ ยิว

ดังนั้นการ แสดงความเคารพ ทั้งต่อ ผู้อาวุโส บุคคลที่สำคัญ รวมไปถึงเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยหมอบกราบนั้นล้วนปรากฏขึ้นทั่วโลกในหลากหลายวัฒนธรรม และมิใช่พฤติกรรมอันน่าตลกขบขัน แต่เป็นการกระทำทางจิตวิญญานที่แสดงถึงความรักและภักดีต่อบุคคลนั้นๆ สูงสุดt

การแสดงความเคารพใน โลกตะวันตก 
แม้ว่าเราจะไม่เคยเห็นการแสดงท่าหมอบกราบของโลกตะวันตก อย่างชัดเจน แต่การ ” คุกเข่า” (kneeling) เพื่อแสดงความเคารพและจักภักดี นั้นก็ยังมีปรากฏอยู่ในสังคมอังกฤษ และสังคมราชวงศ์ในยุโรป มักปรากฏให้เห็นในกิจกรรมสำคัญของสถาบันกษัตริย์เช่นการ” คุกเข่า” (kneeling) ในราชพิธีสถาปนากษัตริย์ และการ” คุกเข่า” (kneeling)เพื่อรับเสด็จ เป็นต้น

ฝรั่งทั่วไปก็รู้จักการหมอบกราบและความหมาย 

ในช่วงเหตุการณ์เจ้าสัววิชัย เจ้าของสโมสรเสเตอร์ซิตี้ เสียชีวิต เหล่าแฟนบอล ชาวอังกฤษยังแสดงความเคารพ ต่อ เจ้าสัววิชัย ด้วยการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ที่อังกฤษ ด้วยความเคารพนับถือเจ้าสัววิชัย ซึ่งนอกจากจะเป็นประธานสโมสรเสเตอร์ซิตี้แล้ว ยังสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ให้ชาวเมืองอย่างมากมาย อีกทั้งยังมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้มีแต่ผู้คนเข้ามาชื่นชม



ในเหตุการณ์หนึ่ง ที่ วัดราชบพิตร เมื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชาย-หญิง 2 คน ได้มีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระสังฆราชของไทย ก็ยังได้มีโอกาส แสดงความเคารพด้วยการหมอบกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 

เห็นไหมว่า วัฒนธรรมการหมอบกราบไหว้ของไทยก็มิได้เป็นของที่แปลกประหลาด พิสดารแต่อย่างใด แต่เป็นวัฒนธรรมการทำเคารพรูปแบบหนึ่งที่ละเอียดอ่อนและมีความหมายเป็นสากล การทำความเคารพในวัฒนธรรมของเรานั้นมีส่วนที่เกี่ยวโยงกับรากประวัติศาสตร์และศาสนาที่มีอย่างยาวนานของประเทศ และมีความคุณค่าแก่การทำความเข้าใจ 
หวังว่า บทความนี้ผู้อ่านจะได้รับความเข้าใจถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับการกราบไหว้ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเคารพความแตกต่าง