วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

Siamese mauser ปืน ร.ศ. 121 ปืนไทยในยุคก่อนประชาธิปไตย

 

“บ้านเมืองเราทุกวันนี้เหมือนตั้งอยู่ในหมู่หัวไม้ ถ้าเราไม่เตรียมพลองไว้สู้กับพวกหัวไม้บ้าง พวกหัวไม้ก็ย่อมจะมีใจกำเริบมารังแกอยู่ร่ำไป ถึงโดยจะสู้ให้ชนะจริงไม่ได้ ก็ให้เป็นแต่พอให้พวกหัวไม้รู้ว่าพลองของเรามีอยู่ ถ้าจะเข้ามารังแกก็คงจะเจ็บบ้าง” พระราชดำรัส รัชกาลที่ 5เมื่อ ร.ศ.121 จากการจัดหาอาวุธปืนที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับการพัฒนาการทหารของสยามในขณะนั้น โดยทรงมีพระราชประสงค์ไว้ คือ มิได้เอาอาวุธไปรุกรานใคร แต่เอาไว้ใช้ป้องกันชาติ

การแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบอาวุธปืนรุ่นใหม่ที่จะสั่งซื้อ ประกอบด้วยพันเอกพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช พลเรือโทพระยาชลยุทธโยธินทร์ (อังเดร ดู เปลซีส เดอ ริชลิว) พลเอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และพันตรีพระยาสีหราชเดโชชัย สมุหราชองครักษ์ในัชกาลที่ 5

——————

การประชุมครั้งสำคัญ
“อากาศยามบ่ายในช่วงฤดูหนาวของพระนครแม้จะร้อนอยู่บ้างแต่ก็ดูแจ่มใส จากหน้าต่างห้องประชุมใหญ่บนชั้น
ที่สองของอาคารกระทรวงกลาโหมสามารถแลเห็นแสงตะวันกระทบกระเบื้องและสิ่งประดับหลังคาพระอุโบสถวัด
พระแก้วตลอดจนหมู่พระเจดีย์สะท้อนเป็นสีต่างๆตัดกับท้องฟ้าดูงดงามสว่างตากว่าปกติ สายพระเนตรของ สมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  เสนาบดีกระทรวงกลาโหม  ทอดต่อไปยังถนนหน้ากระทรวง
นี่ช่างเป็นวันที่เงียบสงบเสียจริง  แล้วคิดในพระทัยว่าหลังจากเหน็ดเหนื่อยกันมาหลายปีเพื่อรื้อระบบการทหารโบ
ร่ำโบราณจนสยามเริ่มสามารถที่จะผลิตนายทหาร มีกำลังพลประจำการและใช้ระเบียบการเกณฑ์ทัพแบบตะวันตก
กันแล้ว รออยู่แต่วันนี้ละที่จะต้องตัดสินใจเลือกปืนเล็กยาวแบบใหม่เพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์เสียที”

เบิกคณะกรรมการ
“บ่าย 2 โมงตรง กรรมการพระองค์แรก คือ พันเอกพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช  (ภายหลังเป็นจอม
พลพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช  เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และทรงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จวิชา
ทหารจากต่างประเทศ คือจากเดนมาร์กมาได้เพียง 3 ปี ทั้งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดกองทัพใหม่ในขณะนั้น) ที่
เดินตามมากลับเป็นฝรั่งไว้หมวดเครายาว คือ พลเรือโทพระยาชลยุทธโยธินทร์  (อังเดร ดู เปลซีส เดอ ริชลิว)รองแม่
ทัพเรือชาวเดนมาร์กซึ่งเคยบัญชาการที่ป้อมพระจุลฯไล่แจกกระสุนปืนเสือหมอบให้เรือรบฝรั่งเศสคราวกรณี  ร.ศ.
112 (ภายหลังเป็น ผบ.ทร. ไทย) ท่านเสนาบดีในฐานะประธานตรัสต้อนรับ และว่ายังขาดกรรมการอีก 2 ท่าน จึง
ปล่อยให้พระองค์เจ้าจิระประวัติฯ และพระยาชลยุทธฯ เดินดูปืนที่มุมห้องซุบซิบเป็นภาษาเดนมาร์กกันไปพลางๆ

ผู้มาร่วมประชุมท่านต่อไปมิใช่ใครอื่น คือ พลเอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  อดีตแม่ทัพใหญ่ครั้งนำกรมทหารหน้าปราบ
ฮ่อ (พ.ศ.2423-30) ที่จริงอาคารกระทรวงหลังนี้ก็คือผลงานที่ท่านได้รับมอบหมายจากในหลวงให้มาสร้างเมื่อปี
พ.ศ.2427 นั่นเอง กรรมการคนสุดท้ายมาถึงเวลาบ่าย 2 โมง 25 นาที คือ พันตรีพระยาสีหราชเดโชชัย  สมุหราช
องครักษ์ผู้ใกล้ชิดเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของ ร.5 เป็นอันครบองค์ประชุม”

—————

ดูรายชื่อและพระนามกรรมการแล้วก็พอเชื่อใจได้ในคุณภาพโดยเฉพาะบางท่านออกแนวหน้ามาก่อนย่อมคุ้นเคย
กับปืนเป็นพิเศษ

คุณสมบัติของปืน
“เสนาบดีทรงให้นำปืนทดสอบทั้ง 18 กระบอกมาเรียงบนโต๊ะประชุม พร้อมบัสตัน (กระสุน) ของปืนแต่ละชนิดบรรจุ
ในคลิปวางไว้ประจำข้างตัวปืน ทรงสรุปว่ากรรมการได้มีโอกาสยิงทดสอบหรือทราบรายงานตลอดจนข้อมูลเทคนิค
ของปืนทุกชนิดมาก่อนแล้ว จึงควรตกลงในเรื่องลักษณะคุณสมบัติของปืนที่เห็นว่าเหมาะกับเราเป็นแนวทางไว้ใน
ขั้นต้น ที่ประชุมจึงตกลงว่า”

ในข้อแรก ต้องการปืนชักท้าย 2 จังหวะก็คือต้องการปืนระบบลูกเลื่อนขัดกลอนด้วยการพลิกก้านลูกเลื่อนแล้วดึงเป็น
2 จังหวะเหมือนไรเฟิลในปัจจุบัน  ดังนั้นปืนไรเฟิลแบบลูกเลื่อนดึงตรงจังหวะเดียว (Straight Pull Bolt) เป็นอัน
หมดสิทธิ แปลว่ากองทัพไทยไม่ถูกใจไรเฟิลของมานลิเคอร์ (ปลย. 33) ที่ประจำการอยู่ทั้งมองว่าระบบของเมาเซอร์
แข็งแรงดีกว่า

ข้อที่สอง เมื่อเวลาชักออกแล้วกระสุนหมดให้มีการเตือนให้ใส่ชุดใหม่ อันนี้เป็นประสบการณ์จากการรบจริง คือปืน
ระบบแม็กกาซีนกล่องจะใช้ท้ายลิ้นแม็กกาซีนขึ้นมาขัดหน้าลูกเลื่อนไว้ให้เปิดค้าง นี่ก็เป็นของมีมากับปืนเมาเซอร์
รุ่นใหม่อีกนั่นแหละ ถึงตรงนี้ปืนทหารรุ่นเก่าๆก็ขาดคุณสมบัติตกรอบกันไปเป็นแถว ยิ่งมานลิเคอร์แล้วระบบแม็กกา
ซีน ไม่สนับสนุนเอาเลย และเป็นปืนที่ไม่อนุญาตให้จุกระสุนยิงทีละนัดโดยไม่ใส่ในคลิปกระสุนด้วย

ข้อสุดท้าย ต้องมีรางไม้หุ้มกระบอกหลังถนน จะสังเกตว่าปืนทหารเขาจะมีรางไม้ยาวถึงปากกระบอกทั้งนั้น แต่ที่
หุ้มกระบอกหลังถนนคือส่วนที่ปิดลำกล้องด้านบนให้มิดชิดเพื่อกันความร้อนและการกระแทก ปืนไรเฟิลรุ่นเก่าก่อน
ปี ค.ศ.1896 จะไม่ค่อยมีการปิดเช่นนี้ ลองหันมาดูการเลือกกระสุนบ้างครับ

กระสุน 8 มม. สยามเมาเซอร์
“ประธานเข้าสู่วาระที่สองการเลือกขนาดบัสตัน โดยเปิดให้แสดงความเห็นทางพระองค์เจ้าจิระประวัติฯ ทรงเห็นว่า
ไม่ควรใหญ่เกิน 8 มม. ที่เราใช้กับมานลิเคอร์ แต่อย่าให้เล็กกว่า 6.5 มม. อย่างกระสุนเมาเซอร์ และทรงชี้แจงเพิ่ม
เติมความว่าในประเทศยุโรปเคยคิดจะใช้กระสุนเล็กๆเหมือนกันแต่ได้ยกเลิกเพราะอำนาจการยิงยังสู้กระสุนขนาด
ใหญ่ไม่ได้ ทรงโน้มน้าวให้เห็นคล้อยกับการใช้กระสุน 8 มม.ต่อไป”

ส่วนกระสุน 8 มม. ของเราก็ยึดรูปทรงกระสุน 8 มม. มานลิเคอร์ แต่ดัดแปลงให้ดีขึ้นกลายมาเป็นกระสุนขึ้นทะเบียน
เป็นชื่อประเทศไทย คือ “8 x 50 มม. และ 8 x 52 มม. สยามเมาเซอร์”  ในเวลาต่อมาท่านประธานเข้าวาระที่สามเลือก
ปืนที่ถูกใจเสียที

กระสุนใช้ชื่อประเทศไทย คือ 8 มม. สยามเมาเซอร์
ด้านซ้าย คือ 8×50 ที่ใช้กับปืน ร.ศ. ส่วนทางขวาคือ 8×52 ที่ใช้กับปืน แบบ 66

ญี่ปุ่นเกือบถูกหวย
“ปืนไรเฟิลระบบลูกเลื่อนที่ญี่ปุ่นเสนอดูจะมีความเหมาะสมในเรื่องคุณสมบัติมากที่สุด แต่กรรมการทุกท่านติเหมือน
กันหมดว่า ระบบห้ามไกไม่ดี  เกิดอุบัติเหตุลั่นกันง่ายๆถ้าจะเลือกต้องให้ผู้ผลิตแก้ไข ส่วนกระสุนที่ว่าเล็กไปนั้นทาง
เสนาบดียืนยันว่าคงจะขอให้สร้างในขนาด 8 มม.ได้ พระองค์เจ้าจิระประวัติฯ  คงจะยังไม่เป็นที่สบพระทัยร้อยเปอร์เซ็น
ทรงหยิบปืนอีกกระบอกขึ้นมาแนะนำว่านี่คือปืนเมาเซอร์อย่างใหม่ของกองทัพสวีเดน  เยอรมันออกแบบแต่ผลิตที่
สต๊อกโฮล์ม ทูตในเบอร์ลินไปเสาะหามาให้ร่วมคัดเลือก แต่กระสุนขนาดเล็กไปหน่อย คณะกรรมการก็เห็นชอบไรเฟิล
นิดนี้ว่าไม่มีจุดอ่อนเหมือนของญี่ปุ่น จึงมีมติให้จัดหาไรเฟิลแบบเมาเซอร์สวีเดนแทนปืนญี่ปุ่นที่มีข้อบกพร่องในเรื่อง
ห้ามไกโดยขอให้ใช้กระสุน 8 มม. ส่วนมีด (ดาบปลายปืน) เอายาวเท่าปืนมานลิเคอร์เดิมแล้วเลิกประชุมเวลาบ่าย 3
โมง 15 นาที”

รวมความแล้วปืนญี่ปุ่นเกือบชนะ พอคณะกรรมการมาเจอเมาเซอร์ขนานแท้แบบ Swedish Mauser M 1894 ซึ่งมี
ความสมบูรณ์พร้อมกว่าจึงไม่น่าแปลกที่จะเลือกใช้ปืนชนิดนี้ ขอหมายเหตุไว้อีกนิดว่าหลังจากการประชุมกันนี้ได้
2 ปี กองทัพเยอรมันก็เพิ่งจะเห็นดีกับเมาเซอร์เอาปืนที่ดัดแปลงจากปืนสวีเดนนี้มาเข้าประจำการในเยอรมัน กลาย
เป็นปืนอมตะของวงการปืนลูกเลื่อน คือ เมาเซอร์ 98 (GEW. 98)  ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าคณะกรรมการไทยได้เลือกสรร
ของที่ดีที่สุดแล้ว
—————————–

กว่าจะเป็นปืน ร.ศ.
ครั้งหนึ่งเคยมีคนกล่าวเล่นๆว่า “พระเจ้าซาร์แห่งอิหร่านท่านซื้อทุกอย่างที่บินได้” เพราะบรรดาอาหรับเศรษฐีน้ำมัน
เขาไม่กระเทือนกระเป๋าหรอกครับขอให้มีอาวุธรุ่นใหม่มาอวดกัน  จึงไม่น่าแปลกใจว่าอยู่ๆก็มีศัตรูยกทัพมาเอาชนะ
ง่ายๆแถมกวาดเอาอาวุธกลับไปใช้เสียฉิบ ไอ้การที่สยามจะซื้อปืน ร.ศ. สัก 4 – 5 หมื่นกระบอก ก็ไม่เห็นยากแค่สั่งจาก
นอกก็ได้แล้ว หากว่าขืนทำแบบนี้เราก็เหมือนพวกอาหรับเพราะทหารใช้ไม่เป็น เผลอเข้าฝรั่งบุกมายึดไว้ทั้งปืนทั้ง
ประเทศ แต่สมัย ร.5 นั้นเราบ้อท่าอีกขั้นหนึ่งเพราะเงินในคลังก็ไม่มี ทหารก็ไม่มี แถมทรงขาดอำนาจบริหารงานแผ่น
ดินโดยสิ้นเชิง กว่าจะได้ปืน ร.ศ. มาจึงยากกว่าที่คิดนัก  ในขณะที่ต่างชาติจ้องจะรวบสยามเป็นเมืองขึ้นนั้นได้กลาย
เป็นปัจจัยให้เกิดกระบวนการปฎิรูปการปกครอง การทหารและการคลังพร้อมๆ กันใช้เวลาหลายสิบปีครับ

“เมื่อพ่อได้ราชสมบัติในเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น เหมือนตะเกียงริบหรี่จวนจะดับ ไม่มีมารดา มีญาติ ฝ่ายมารดาก็ล้วน
แต่โลเลเหลวไหลหรือก็มิได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งราชการอันใดเป็นหลักฐาน ญาติฝ่ายข้างพ่อคือเจ้านายทั้งปวง ก็ตก
อยู่ในอำนาจสมเด็จเจ้าพระยาฯ  และต้องรักษาชีวิตอยู่ด้วยกันทุกพระองค์”

จากพระราชหัตถเลขาถึงพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิต ในปี ร.ศ. 112  เผยถึงสถานทางการเมืองของ
ร.5 เป็นอย่างดี การดึงอำนาจกลับมาสู่พระองค์จำจะต้องค่อยๆทำ มิให้เกิดแตกแยกร้าวฉาน และที่ขาดไม่ได้ คือ
กองทหารของพระองค์ที่จะช่วยเป็นฐานอำนาจไว้  ทรงได้อธิบายต่อไปว่า

“ฝ่ายข้าราชการถึงว่ามีผู้ที่รักใคร่สนิทสนมอยู่บ้างก็เป็นแต่ผู้น้อยโดยมาก” และ “ฝ่ายพี่น้องซึ่งร่วมบิดาก็เป็นเด็ก มีแต่
อายุต่ำกว่าพ่อ” (เป็นเพราะ ร.4 ทรงลาผนวชมาครองราชย์เมื่อพระชนมายุมากแล้ว และมิได้มีพระราชโอรสธิดามาก่อน
หน้านั้นเลย) แต่เมื่อมีผู้รักใคร่ในตำแหน่งเล็กๆและมีน้องอายุยังน้อย จึงทรงเริ่มด้วยกองทหารส่วนพระองค์แบบเด็ก
เล่นไปก่อน เรียกว่า “ทหารไล่กา”  เอาไว้ไล่นกไล่กาเวลาเสด็จแต่ใช้ระเบียบทหาร แล้วต่อมาก็เอาข้าหลวงเดิมหรือ
บรรดาผู้รักใคร่ในตำแหน่งเล็กๆมาเป็นทหาร เรียกว่า “ทหารสองโหล”   เพราะมีกันแค่ 24 คน พอวางกรอบได้แล้วจึงตั้ง
กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์  ภายใน 3 ปี มีทหาร 72 คน ท่านเหล่านี้ก็เติบโตขึ้นในแวดวงทหารในกองทัพ
น้อยๆเช่นนี้ เกิดรักใคร่กลมเกลียวกันกลายเป็นกำลังพัฒนาประเทศสนองนโยบายเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงสม
เด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จกรมพระยาภาณุรังษีสว่างวงศ์ เจ้าพระยา
สุรศักดิ์มนตรี เป็นต้น

พอทรงบรรลุนิติภาวะ ในปี พ.ศ. 2417  จึงพอจะทวงอำนาจบริหารกลับมาได้เพราะมีทหารในพระหัตถ์ถึง 6 กองร้อย
แถมด้วยทหารม้า ทหารหน้า (รวมเอาทหารล้อมวังและกรมรักษาพระองค์เก่า)มาไว้พร้อมกองปืนกลแก๊ตลิง

จะเห็นนะครับว่าทรงพัฒนาฐานอำนาจของพระองค์ได้รวดเร็วพอสมควร ก.ม.ทั้ง 4 ฉบับ เป็นการประกาศเจตนารมย์
ของพระเจ้าอยู่หัวว่ายุคใหม่ของคนหนุ่มมาแล้ว แต่จะเป็นด้วยธรรมชาติในการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยหรืออย่าง
ไรไม่ทราบที่จะต้องพบกระแสต่อต้านอย่างหนัก ทำให้การพัฒนาออกจะเชื่องช้าอย่างน่าเสียดายทุกทีไป ก.ม.ทั้งหมด
กระทบอำนาจและกระเป๋าของขุนนางกลุ่มอำนาจเดิมอย่างจัง  จากนั้นไม่กี่เดือนวังหน้าก็เริ่มระดมทหารถึง 6 – 7 ร้อย
คนอาวุธครบมือ โดยมีอังกฤษและข้าราชการผู้ใหญ่หลายกรมกองแสดงความเห็นอกเห็นใจอยู่ข้างหลัง

วิกฤติการณ์ครั้งนั้นตึงเครียดถึงจุดที่ทั้งสองวังเตรียมทหารพร้อม แล้วมาเกิดเหตุไฟไหม้ตึกดินซึ่งเก็บดินปืนในวังขึ้น
ทำให้กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข(วังหน้า) ทรงตัดสินใจเสด็จเข้าประทับในสถานทูตอังกฤษถึง 2 เดือนกว่าที่สมเด็จ
เจ้าพระยาฯจะกล่อมให้คลายพระทัยกลับออกมาได้ เรื่องนี้ประกอบกับกระแสคลื่นใต้ดินใต้น้ำ ทำให้ ร.5 ต้องฝืนพระทัย
ชลอแผนปฎิรูปอื่นๆไปอีก 10 ปี หันมาใช้วิธีค่อยทำค่อยไปกลายเป็นจุดเด่นของการแก้ปัญหาในสมัยของพระองค์
เมื่อทรงดึงอำนาจบริหารราชการมาได้บ้างแล้วก็จะต้องแก้ปัญหาใหญ่อีกถึง 2 เปลาะ  แรกคือ หาตังค์มาซื้อปืนก่อน

 

อยากมีปืนแต่ไม่มีเงิน
“การปฎิรูประบบการคลัง ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของพระองค์” เซอร์เอ็ดเวิด คุก      (Sir Edward Cook) ที่ปรึกษา
ราชการแผ่นดิน

ใน พ.ศ.2416 ร.5 ได้ทรงโปรดให้จัดตั้งหอรัษฎาพิพัฒน์ เพื่อจัดระเบียบการภาษีเสียใหม่เพราะ
1. ภาษีเงินได้เดิมอยู่กับเจ้านายที่คุมกรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย กรมนาและกรมพระคลังสินค้า เป็นต้น พอเก็บ
ได้ก็ใช้ในราชการของตนเสียก่อน กรมที่คุมเงินส่วนกลางได้แต่มองตาปริบๆเพราะไม่มีใครส่งเงินเข้าพระคลังมหา
สมบัติ
2. การตั้งเจ้าภาษีนายอากรผูกขาดการเก็บภาษีให้หลวงนั้นเขาส่งเงินในคลังปีละหน ส่วนมากก็ขอผ่อนส่ง (ภาษีของ
เราแท้ๆดันเก็บไปแล้วขอผ่อน อย่างนี้พวกผมเสียภาษีแบบผ่อนส่งบ้างได้ไหมก็ไม่รู้) หนักเข้าหลวงจะลงโทษ นาย
อากรก็เผ่นหนีไปตีกอล์ฟวันเว้นวัน แบบเสี่ย NPL ล้มบนฟูกทั้งหลายในยุคนี้

3. ตั้งแต่สมัย ร.1 – ร.4 การทำบัญชีไม่เรียบร้อยแปลว่าหามาตรวจกันไม่ได้  แต่ละกรมกองบัญชีอยู่กับนาย  พอนาย
ตายบัญชีก็หายไปทุกที

การรวมบัญชีรับจ่ายและการส่งภาษีมาขึ้นกับหอรัษฎาพิพัฒน์สามารถเร่งรัดภาษีให้ตรงเวลา และจัดระเบียบการเบิก
การส่งเงินให้แก่ทุกกรมกลายเป็นการบังคับให้แต่ละท่านต้องหัดทำงบประมาณฉบับแรก ขึ้น ในปี พ.ศ. 2433 ทรงยก
กรมพระคลังมหาสมบัติ (ซึ่งเวลานี้มีสมบัติเต็มคลังเสียที)เป็นกระทรวงและอีกเพียง 2 ปี ก็ทรงยุบระบบจตุสดมภ์ที่มี
มาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสียเลย เมื่อมีเงินแล้วกระนั้นยังมีปัญหาทรัพยากรบุคคลมาให้แก้อีกเรื่องหนึ่ง

กองทัพไร้ทหาร
ผมไปพบจดหมายเก่าๆของพระองค์เจ้าหญิงท่านหนึ่งทำถวาย ร.5 ในปี ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ความบางตอนว่า
“เดิมข้าพระพุทธเจ้าให้พี่เลี้ยงกับสมุห์บัญชีทำสักเลขมาไว้กับข้าฯ รวม 213 คน” หมายถึงระบบศักดินาไทย มีวิธีควบ
คุมพลเมืองไว้ใช้ราชการโดยให้ขึ้นกับเจ้านายต่างๆติดต่อกันชั่วลูกหลาน เรียกกันว่าไพร่ พออายุ 18 ปีก็มารายงานตัว
เรียกว่า “ไพร่สม”  เหมือนมาถูกหัดงาน พอครบ 20 ปี ก็เลื่อนเป็น “ไพร่หลวง”  แล้วสังกัดเจ้านายไปถึงอายุ 70 ปี สมัย
อยุธยาให้ปีหนึ่งมาอยู่ในราชการ 6 เดือน ก็นานพอดูคิดถึงเมียแย่ สมัย ร.5 ท่านก็ลดลงให้เหลือแค่ 3 เดือน ท่าน
หญิงพระองค์นี้ก็ได้มาขึ้นบัญชี 213 คน  คำว่า “สักเลข”  ก็คือ หลวงเขาจับเกณฑ์มาจากครอบครัวที่เคยสังกัดแล้ว
สักลงบนท้องแขนให้รู้ว่าเบอร์นี้อยู่สำนักใด พวกที่ยังไม่โดนจับตัวได้เขาเรียกว่าพวก “แขนขาว”  ไพร่หลวงที่สังกัด
กรมราชการทหารก็มาเป็นทหารปีละ 3 เดือน  ปีหน้ามาใหม่ก็ลืมที่หัดหมด วันทยาหัตถ์ด้วยมือซ้ายเหมือนไอ้เณร
กันเป็นแถว ใช้การจริงไม่ค่อยได้หรอกครับแค่แบกปืนเฝ้าวังโก้ๆเป็นพอแล้ว ระบบไพร่นี่ก็พอใช้ได้ในตอนต้นพอ
นานๆเข้าพ่อก็หนีไม่ยอมถูกจับปั๊มเบอร์บนแขนกันใหญ่  ที่ขึ้นทะเบียนก็หาทางหลบ  ยิ่งถ้าต้องไปรบต้องเป็นผู้มี
สปิริตสูงพอควร พวกขี้เกียจมารับราชการปีละ 3 เดือนก็มีทางออก เพราะเงินย่อมเป็นทางออกหนึ่งของปัญหาเสมอ
โดยสามารถจ่ายให้เจ้านายที่คุมกรมปีละ 6 บาท เป็นการจ้างใครก็ไม่รู้มาแบกปืนยืนยามแทน  เงินนี้เราเรียกว่า
“เงินค่าราชการ”  หรือ “เงินภาษีรัชชูปราการ”   ซึ่งเป็นรายได้ของชาติที่ดีหากเจ้านายท่านจะยอมส่งเข้าคลังหลวงนะ
ครับ มาดูท่อนต่อไปของจดหมายดีกว่าว่าท่านหญิงท่านทำอย่างไรกับรายได้ก้อนนี้

“จะเป็นเงินมากน้อยเท่าใด ข้าฯหาทราบเกล้าไม่ ด้วยเจ้าพนักงานยังไม่เกณฑ์ (เรียกเก็บเงิน) ข้าฯ ได้ให้พี่เลี้ยงและ
สมุห์บัญชีไปเก็บเงินมาส่งเจ้าพนักงานก็เก็บเอาเงินไปใช้สอยเสียหมด หาส่งให้ครบจำนวนที่ยังคงค้างอยู่นั้นไม่ บัด
นี้พี่เลี้ยงกับสมุห์บัญชีก็ถึงแก่กรรมเสียแล้ว”

ดูเอาเถิดครับ เห็นเจ้านายเป็นหญิงชรา เลยโกงเงินภาษีที่จะส่งหลวงไปกาสิโนที่ชายแดนเสียหมด ทั้งที่มิได้อยู่ใน
คณะกรรมมาธิการอะไรกับเขาเลย เรื่องแบบนี้กลายเป็นลูกโซ่ บรรดาเจ้านายหลายกรมต้องรับกรรมหาเงินมาใช้หลวง
เป็นหนี้เป็นสินมากเข้าก็เขียนหนังสือมาขอทำการลดหนี้ทั้งต้นทั้งดอก เรียกว่าทำ Haircut แล้วก็โบกมือลาขอคืน
เจ้าพวกสักเลข พ้นๆหน้าที่ไปดีกว่า

“ข้าฯ ไม่มีเงินที่จะส่งต่อไป จึงขอพระราชทานเงินค้าง (ขอยกเลิกหนี้) เก่าและใหม่ที่ยังค้างเพราะเหลือสติกำลังที่จะ
คุมเลขไว้ต่อไป ขอทูลเกล้าถวายเลขทั้ง 183 คน เป็นไพร่หลวงจ่าย แต่ข้าฯ จะขอรับพระราชทานเลขไว้ 30 คน ส่วน
ที่เกี่ยวข้องเป็นสุพันธุ์ญาติและคนเก่า”
สาธุ! ถึงตรงนี้ผมอดนึกถึงผู้หญิงชราผมขาวโพลนหลังค่อมน่าสงสารนั่งอยู่ในตำหนักเล็กๆไม่ได้  ด้วยพระเมตตาที่มี
ต่อหญิงสูงศักดิ์ท่านนี้ จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตตามที่ขอ

พอดูปีที่จดหมายถูกเขียนแล้วตกใจ ตรงกับ พ.ศ. 2435 อีกปีเดียวก็จะยิงกันที่ปากน้ำแล้วยังคงใช้ระบบโบราณอยู่
เลย พอ ร.5 จะให้หัดทหารแบบใหม่ก็พบปัญหาไพร่หลวงไม่พอใช้เพราะหนีบ้าง จ้างคนมาแทนบ้าง  หรือกลุ่มที่เขา
มีอำนาจอยู่เดิมไม่ร่วมมือปล่อยคนมาบ้าง ก็อาศัยการโอนเลขจากท่านๆที่กล่าวข้างต้นนี่ละครับมาใช้งานทหาร
โชคร้ายก็จะเจอแต่ไพร่หลวงแก่ๆแบกปืนไม่ไหว(แต่อาจยังเตะปี๊บดังอยู่) อย่างนี้ไม่พอปกป้องสยามหรอกครับเมื่อ
ถึงคราวฝรั่งเศสมาหาเรื่องในปี พ.ศ. 2435 พบว่ากรมยุทธนาธิการ มีทหารอยู่ในบัญชีทั้งประเทศแค่ 5,605 คน เรื่อง
นี้ถูกแก้สำเร็จด้วยการเลิกทาสแล้วออก พรบ. เกณฑ์ทหารขึ้น

 

พี่ยุ่นล็อบบี้สุดแรง
ระหว่างนี้ญี่ปุ่นก็ไม่เลิกความพยายามขอส่งนายทหารเดินทางจากโตเกียว เพื่อมาชักชวนให้ซื้อปืนของเขาอีกรอบ
หนึ่ง ร้อนถึงเสนาบดีทรงมีหนังสือกราบทูลอีกครั้งว่า นายอินากากิ (M.Inagaki) ทูตญี่ปุ่นขอพบและพูดจาเกี่ยวกับ
การทหารของไทย ซึ่งมีคำถามแปลกๆเรื่องการจัดกำลังรบแล้วยังวกมาถามถึงเรื่องการซื้อปืนอีก

นายอินากากิ  “ปืนที่รัฐบาลญี่ปุ่นส่งมาให้ดีหรือไม่ดี และเห็นว่าเราเป็นชาวตะวันออกด้วยกันควรใช้ปืนอย่างเดียวกัน
เมื่อเวลามีช่องโอกาสที่สองพระนครจะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ก็จะได้อาศัยใช้ปืนและกระสุนดินดำซึ่งกันและกันได้ ”

ท่านผู้อ่านคงวินิจฉัยจากคำพูดของท่านทูตได้ว่า ญี่ปุ่นซึ่งได้พัฒนาประเทศเพื่อรักษาเอกราชจากฝรั่งก่อนหน้าไทยเรา
ได้แซงหน้าไปถึงขนาดคิดการใหญ่ มาชวนคนไทยร่วมพันธมิตรทางการทหารในอนาคต โรงงานผลิตอาวุธในญี่ปุ่น
นั้นทำได้เกือบทุกอย่าง สินค้าญี่ปุ่นก็มีราคาถูกกว่าฝรั่งมาก และเริ่มทะลักเข้ามาแย่งตลาดสินค้าฝรั่งในเมืองไทยและ
ประเทศอานานิคมอื่นๆ อันเป็นแหล่งระบายสินค้าอุตสาหกรรมของเหล่าประเทศมหาอำนาจ ดูแล้วก็คล้ายๆสินค้า
ราคาถูกจากเมืองจีนซึ่งระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบันนะครับ ฝรั่งจึงเริ่มจะรู้สึกถึงผลกระทบทางการค้าจากญี่ปุ่น แต่
แล้วอีกไม่กี่ปีก็จะต้องเสียวสันหลัง เมื่อ ทร.ญี่ปุ่นบี้กองทัพเรือรัสเซียเสียสิ้นซากในช่องแคบ ทุซิม่า  (Tsushima)

ด้วยแรงตื้อของพี่ยุ่นบวกกับปัญหาจัดซื้อปืนเมาเซอร์ของไทย ทางออกที่สวยก็คือเอาแบบปืน ร.ศ. จากเยอรมันมา
จ้างญี่ปุ่นทำ ไม่ต้องทนซื้อปืนอาริซากะ แต่ได้ใช้ปืนราคาถูกอย่างญี่ปุ่น  ดังนั้นญี่ปุ่นซึ่งแพ้การประกวดไปคราวก่อน
จึงได้เสนอตัวผลิตปืน ร.ศ. ในราคาที่ยากจะ ปฎิเสธและได้ตกลงให้โรงงานสรรพาวุธ โคอิชิกาว่า กรุงโตเกียว(Koishi
kawa Arsenal) เป็นผู้ผลิต

สัญญาสั่งซื้อปืน ร.ศ. จึงถูกทำแยก 3 ฉบับ ในสมัยที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุรังษีสว่างวงศ์ ว่าการกระทรวงกลา
โหม ทำกับบริษัท Mitsui Bussan Kaish a ซึ่งแท้จริงเป็นนายหน้าขายอาวุธในนามรัฐบาลญี่ปุ่นและสามารถรับผิด
ชอบในการจัดส่งเบ็ดเสร็จเงื่อนไขก็คล้ายๆกันคือขอจ่ายล่วงหน้าเมื่อเซ็นสัญญา 1/3 ของมูลค่าทั้งหมด ที่เหลือจ่าย
เมื่อรับปืนที่กรุงเทพแล้ว สัญญาแยกให้เห็นว่ามี ลิขสิทธิ์บางส่วนที่เป็นของญี่ปุ่นแท้ๆไม่เกี่ยวกับเมาเซอร์ คือ ฝาครอบ
ลูกเลื่อนเพื่อกันฝุ่นโคลน และวิธีปลดฝาปิดใต้แม็กกาซีน  ให้ไปเจรจากันระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจรับปืนฝ่ายไทยและหัว
หน้าโรงงานสรรพาวุธปืนเล็กของสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งในที่สุดเป็นปุ่มปลดทรงสี่เหลี่ยมไม่เหมือนใคร ส่วน
แม็กกาซีนและกลไกต่างๆ ถูกปรับปรุงให้รับกับกระสุนมีขอบจานท้าย (Rimmed Cartridge)  และคลิปขนาด 8 มม.
ที่ไทยใช้อยู่ ซึ่งหมายถึงจะมีขนาดใหญ่กว่าแม็กกาซีนปืนที่เมาเซอร์ออกแบบไว้ให้กระสุน 8 มม. เมาเซอร์แบบไม่มีริม
(Rimless Cartridge)
————————————–

ต่อมาในปีพ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวแบบ 66 หรือปืนอาริซากะ (Arisaka) ซึ่งเป็นปืน Mauser M1923 แต่ผลิตโดยญี่ปุ่นเข้ามาใหม่ และได้มีการปรับเปลี่ยนกระสุนจากขนาด 8×50 มม.เป็นขนาด 8×52 มม.หรือ 8×52 mm.R Siamese Mauser Type 66 ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง ปืนเล็กยาวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้อย่างปลย. 45 และปลส. 47 จึงได้นำมาคว้านรังเพลิงเพื่อใช้กับกระสุนใหม่นี้ด้วย และเรียกชื่อใหม่ว่า ปลย. 45/66 กับปลส. 47/66 ซึ่งไทย( ขณะนั้นเรียกสยาม ) ซื้อพิมพ์เขียวจาก เยอรมัน มาจ้างผลิตที่โรงงานสรรพวุธกองทัพญี่ปุ่น โดยปกปิดการดำเนินการด้วยเหตุผลทางการมืองขณะนั้น ที่ฝรั่งเศส-อังกฤษ เข้ามาเป็นเป็นเจ้าอาณานิคมดินแดนเพื่อนบ้าน (ฝรั่งเศส ลาว เขมร: อังกฤษ พม่า มลายู) มีความหวาดระแวง สยาม และญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจใหม่ในทวีปเอเชีย ต่อมาปรับปรุงเป็นปืนเล็กยาวแบบ 66 (ปลย 66: type 66) โดยเปลี่ยนแบบกระสุนเป็น 8×52 มม.(8×52 mm.R Siamese mauser type 66 ) ชนิดหัวแหลม นอกจากนี้ยังมีรุ่นปืนเล็กสั้นที่เรียกว่า ปลส 47.(ปืนเล็กสั้น 47:type 47) คุณลักษณะเหมือน ปืนเล็กยาวแบบ 45 แต่สั้นกว่า ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาพร้อมปืนเล็กยาวแบบ 66 เป็น ปืนเล็กสั้น 45/66.(ปลส 45/66:type 45/66) และ ปืนเล็กสั้น 47/66.(ปลส 47/66:type 47/66) อีกนามหนึ่งของ ปลย. 45และ ปลส. 47 คือ ปืน ร.ศ 121 และ ปืน ร.ศ 123 ตามลำดับ ซึ่งใช้ในยุครัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนชื่อเป็น ปลย. 45 และ ปลส. 47 ในยุครัชกาลที่ 6 แต่บุคคลทั่วไปนิยมเรียก” ปืน ร.ศ. (รัตนโกสินธ์ ศก)”