จากคำถามที่ว่าอาณาจักรไหนที่ชาติมหาอำนาจล่าอาณานิคมได้ยากสุด?
คำตอบคือ”สยาม” ครับ
ประเทศที่ไม่ได้เป็นเกาะแบบญี่ปุ่น ไม่ได้มีพื้นที่ใหญ่และทหารนับล้านแบบจีน แต่มหาอำนาจกลับใช้กลเม็ดทุกอย่างที่เคยทำสำเร็จกับอาณานิคมอื่นๆมาแล้ว มาประเคนใส่สยาม แต่ผลคือ เอาสยามไม่ลง เริ่มจาก
ฝรั่งเศส
– ใช้ข้ออ้างเรื่องการกดขี่ศาสนาคริสต์และสังหารหมู่คณะบาทหลวง เข้ายึดตังเกี๋ย แต่ไม่สามารถใช้กับสยามได้ เพราะสยามให้เสรีภาพด้านศาสนามาตั้งแต่สมัยอยุธยา
– ใช้ข้ออ้างเรื่องรัฐบรรณาการ แบบที่ใช้ยึดสิบสองจุไทยหวังได้ลาวกับเขมรทั้งหมด แต่รัชกาลที่ 4 วางกลอุบายซ่อนลาว แล้วรีบขีดเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศส ส่วนเขมรส่วนถือเป็นดินแดนสยาม กงสุลฝรั่งเศสรีบกระโดดรับทันที คิดว่าได้เปรียบแน่ๆ แต่ไปๆมาๆ กลับเป็นการรองรับสถานะรัฐบรรณาการของสยาม (ที่เดิม สยามไม่ได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของตน) ให้กลายเป็นดินแดนของสยามแบบไม่ตั้งใจ สื่อหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสด่ารัฐบาลโคชินไชน่าและกระทรวงอาณานิคมย่อยยับ
– เจอกดดันหนักๆเข้า รัฐบาลฝรั่งเศสจึงยอมหักดิบ สละมาดผู้ดี เอาเรือรบเข้าปากน้ำสยามและกำลังทางบกเข้ายึดที่มั่นข้าหลวงสยามในคำม่วน หวังให้สยามต่อสู้แบบที่เคยทำกับเวียดนาม แต่สยามกับนั่งเป็นเตมีย์ใบ้ ทางน้ำยิงพอหอมปากหอมคอ ทางบกกองทัพข้าหลวงที่อุบลและหนองคายไม่ยอมขยับ
– เรียกค่าปฏิกรรมสงครามแบบที่อังกฤษเคยเล่นงานพม่า เรียกเงิน 3 ล้านฟรังก์ (อังกฤษเรียกจากพม่าที่หนึ่งล้านปอนด์ รัฐบาลอังวะมีปัญญาจ่ายแค่สามสิบเปอร์เซ็น) ฝรั่งเศสคำนวนอยู่แล้วว่าสยามคงมีจ่ายอยู่หรอก เลยใช้กลอุบายบอกว่า เงินสามล้านที่ว่าขอเป็น “เงินกริ้งๆ” เอามาแต่เหรียญล้วนๆ ไม่รับธนบัตร หามาให้ได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงถ้าไม่ได้โดนเรือปืนยิงพระบรมมหาราชวัง ใครๆก็ฟันธงว่าสยามไม่รอด ในเอเชียตะวันออกใครจะมีเงินเหรียญถึง 3 ล้านฟรังก์ ถึงมีก็ไม่มีทางหามาได้ภายในเวลาแบบนั้น แต่…สยามมีจ่าย เงินเม็กซิกันเสียด้วย กริ้งๆเลย ทุกชาติงงเป็นไก่ตาแตก
– ได้ดินแดนลาวกับเขมรไป ซึ่งก็ได้แต่ดินจริงๆ ประชากรหายเกลี้ยง กะให้เป็นแหล่งปลูกข้าวแบบปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม แต่…ดินแดนที่ได้จากสยาม มีแต่ภูเขา แม่น้ำโขงก็มีแต่เกาะแก่ง เอาเรือกลไฟล่องได้แค่เวียงจันทน์กับสะหวันนะเขต เรือเมล์ขาดทุนทุกปี ภาษีจากอันนัมเอามาเสียกับลาวและเขมรเยอะมาก
– มีแผนการณ์ที่จะเพิ่มพื้นที่ภาคอีสานเข้ากับโคชินไชน่า แต่เจอแรงกดดันจากจักรวรรดิรัสเซีย และแรงสนับสนุนสยามของจักรวรรดิออสเตรีย-เยอรมัน หนำซ้ำสยามยัง “เล่นการเมืองเป็น” โดยการยิงทะลุใจกลางฝรั่งเศส คือ ล๊อบบี้เจ้าราชนิกูลของราชวงศ์บูร์บงที่กลับมามีอิทธิพลอย่างลับๆในรัฐบาลฝรั่งเศสภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ทำให้กระทรวงอาณานิคมฝรั่งเศสถึงกับอึ้งเลยทีเดียว แผนการณ์กลืนดินแดนสยามจึงหยุดชะงักแบบนั้นอังกฤษ
– เจออิทธิฤทธิ์จากรัฐบาลสยามครั้งแรกตอนสนธิสัญญาเบอร์นี่ ในสมัย ร.3 รัฐบาลอังกฤษด่าราชทูตเฮนรี่ เบอร์นี่ ที่ส่งไปจากสิงคโปร์แบบหัวเสีย ไปทำสัญญาบ้าอะไรกับสยาม ถึงทำให้บริษัทอังกฤษต้องจ่ายภาษีให้สยามมากกว่าจ่ายให้จีนอีก แถมเรืออังกฤษเข้าเมืองท่าสยามจะมีสินค้าหรือไม่ก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมปากเรือ แล้วยังต้องมาซื้อไม้สักจากพ่อค้าคนกลางคือรัฐบาลสยามอีก
– อังกฤษเตรียมแก้มือคืน โดยการแก้ไขสัญญาใหม่ และเตรียมนำเรือรบปิดปากอ่าวบีบให้ทำสัญญาแบบเดียวกับที่ทำกับจีน เป็นเชิงยั่วยุ มีหวังผลนิดๆว่าสยามจะฟิวขาดแบบพม่า แต่…เจอการทูตจากรัฐบาลสยามชุดใหม่ที่มาแบบงงๆ เกิดเป็นสนธิสัญญาเบาริ่งแบบงงๆ เช่นกัน
– ราชทูตอังกฤษที่เข้ามาสยามครั้งนั้น เซอร์จอห์น เบาริ่ง เจ้าเมืองฮ่องกง ผู้ที่เคยเล่นงานราชวงศ์ชิงจากการเป็นตัวตั้งตัวตีในสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่อังกฤษหวังให้เล่นงานสยามบ้างจากสนธิสัญญาเบอร์นี่ หลังย้ายออกจากฮ่องกง อยู่ๆก็ได้เป็นรับการแต่งตั้งเป็น “พระยาสยามานุกูลกิจ” ตำแหน่งอัครทูตสยามประจำลอนดอนคนแรก….เอากับสยามสิ แต่งทูตอังกฤษสายเหยี่ยว มาเป็นทูตตัวเองประจำอังกฤษ หนามยอกเอาหนามบ่ง ใครจะคิดบ้างล่ะ
– อังกฤษวางแผนใหม่ ใช้แผนที่เคยทำกับราชสำนักชิง โดยการปล่อยกู้ให้สร้างทางรถไฟแก่สยามในสมัย ร.4 ผลก็คือ…อ๋อ ไม่เป็นไร เรากำลังมีโปรเจคของเราในเร็วๆนี้ ขอบคุณมากสำหรับข้อเสนอ
– พม่าเคยเป็นตัวตลกในราชสำนักอังกฤษ ด้วยพระราชสาส์นพระเจ้ามินดงถึงพระราชินีวิกตอเรีย เรียกพระนางว่า “พระน้องนางเรา” ทำให้จะเจรจาอะไรก็ติดขัดไปหมด พอมาถึงคราวสยาม นอกจากพระราชสาส์นจะเป็นแบบประเทศทั่วไปในภาคพื้นยุโรปแล้ว ยังมีจดหมายน้อยจากพระเจ้าแผ่นดินสยามมาถึง พระนางเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งทวีปบริเตนและไอร์แลนด์ ผู้เป็นสหายของเรา นี่คือแสดงถึงความเป็นประเทศศิวิไลซ์ของสยามถึงขีดสุดเลยทีเดียว
– อังกฤษเจอสยามใช้วิธีขีดมลายูออกเป็น 2 ส่วน แบบที่ทำกับเขมร ผลคือ อังกฤษรับรองสถานะดินแดนสยามเหนือปัตตานีและมลายูตอนเหนือ
– อังกฤษเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยใช้ไทใหญ่โมเดลในการพิชิตราชสำนักอังวะ พยายามจะสนับสนุนกลุ่มหัวเมืองล้านนาให้มาเป็นรัฐอารักขาแบบไทใหญ่ แต่เจอยุทธวิธีตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปประจำการแบบรัฐบาลส่วนภูมิภาค เจ้าล้านนาขยับอะไรไม่ได้เลยปกติ ประเทศแถบนี้ จะใช้อังกฤษมาคานอำนาจฝรั่งเศส หรือใช้ฝรั่งเศสมาคานอำนาจอังกฤษ ซึ่งทั้งสองรู้กลยุทธ์นี้ดี และไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างให้ประเทศเอเชียเด็ดขาด ผลก็คือ ทั้งสองประเทศแอบจับมือกันลับๆ ไม่ยอมตีกัน ซึ่งพม่าพิสูจน์มาแล้ว ที่ดันไปไว้ใจฝรั่งเศสในการคานอำนาจอังกฤษ ตอนอังกฤษจะยึดมัณฑเลย์ พม่าร้องหาฝรั่งเศสจนเฮือกสุดท้าย แต่พี่แกก็นั่งฉีกขนมปังมองดูเฉยๆ สำหรับสยาม……ล้ำกว่านั้นมาก รู้เช่นเห็นชาติสองมหาอำนาจนี้มานานแล้ว และสยามก็ยังรู้จักการเมืองในภาคพื้นยุโรปดีกว่าประเทศเอเชียอื่นๆ ด้วย คานอำนาจนั้นยังเป็นวิธีที่ดีแต่ต้องทำให้เป็น สยามจึงไปใช้มหาอำนาจที่เขาคานกันจริงๆกับฝรั่งเศสและอังกฤษ นั่นคือจักรวรรดิออสเตรีย-เยอรมันและจักรวรรดิรัสเซีย และไม่ได้ทำโดยการทูตธรรมดาๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินสยามเข้ามาเล่นเกมส์นี้ด้วยพระองค์เองทีเดียว ให้ความสนิทสนมระหว่างพระราชวงศ์ต่อพระราชวงศ์ เรียกว่าแน่นแฟ้นมาก
ตอนนั้น สยามเป็นประเทศเดียวในเอเชียจริงๆ ที่เล่นเกมส์การเมืองแบบนี้ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ก็ไปไม่เป็นอีกเช่นกัน
เรื่องที่บอกว่า สยามรอดมาได้เพราะดวงล้วนๆ ฝรั่งเศสและอังกฤษจะใช้สยามเป็นรัฐกันชน อันนี้คือคำแก้เกี้ยวครับ
แนวคิดเรื่องรัฐกันชนมีจริงครับ แต่เป็นแค่ดินแดนเล็กๆบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทั้งสองประเทศจะเหลือไว้ให้สยาม
อังกฤษหมายปองไม้สักจากล้านนา พอๆกับฝรั่งเศสหมายปองภาคอีสานของสยามนั่งแหล่ะ
แต่…ได้แค่มองเท่านั้น
สื่อฝรั่งเศสเอง ยังยอมรับโดยดุษดีครับว่า “ฝรั่งเศสแพ้เกมส์การเมืองสยาม”
ดังบทความของหนังสือพิมพ์ Le Matin ฉบับ 18 June 1907 ว่า”นักการเมืองยุโรปคุยกันนักหนาว่ารู้จักคิงจุฬาลงกรณ์เป็นอย่างดี บางคนรู้ลึกขนาดว่า พระองค์มีชายาถึง ๘๐๐ คน บางคนก็ว่าพระองค์จะอภิเษกกับพระขนิษฐาเท่านั้น แต่ทว่าคนอังกฤษกับคนฝรั่งเศสก็ยื้อแย่งประเทศของพระองค์อย่างไม่เป็นผลเท่าไหร่ และก็ยังไม่มีใครฮุบประเทศนี้ได้จริงจังเสียที ขนาดส่งเรือรบเข้าไปถึงกลางใจเมืองหลวง แต่ด้วยกลการเมืองที่เดอะคิงใช้หลอกล่อพวกเรา เรือรบเหล่านั้นก็ต้องถอยทัพออกมาหมด พร้อมกับเงิน (ค่าไถ่) ที่พระองค์มอบให้เราเพียงหยิบมือ ช่างเป็นเรื่องประหลาดเหลือเชื่อ แทนที่เราจะตั้งหน้ารบกันจริงๆ เรากลับต้องตั้งต้นคืนดีกันเพราะการที่เราได้เขมรมาไว้ในครอบครอง ฝรั่งเศสก็กลายเป็นเพื่อนบ้านของสยามไปโดยปริยาย เราได้สมบัติจากนครวัดมาไว้เชยชมมากมายแล้วก็จริง แต่ก็ยังเอื้อมไปไม่ถึงตัวนครวัดที่เป็นต้นตอของสมบัติเหล่านั้น ทำให้เราดูคล้ายแมลงหวี่ยุ่งๆ ที่คอยสร้างความรำคาญให้วัว แต่ก็ทำอะไรวัวไม่ได้ และแล้วฝรั่งเศสก็สูญเสียจันทบูรไป ทุกครั้งที่มีการลงนามในกระดาษเราก็จะพูดว่ามันเป็นชัยชนะทางการทูตร่ำไป แต่ที่แท้แล้วเราไม่เคยชนะอะไรเลย ฝรั่งเศสต้องสูญเงินเท่าไหร่เพื่อแลกกับผืนแผ่นดินที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเหล่านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เราทุ่มเงินหลายล้านฟรังก์เพื่อพัฒนาท่าเรือเมืองตราด ที่ทดแทนจันทบูรมาได้ โดยที่เราวาดฝันไว้ว่ามันจะกลายเป็นเมืองท่า Le Havre อันยิ่งใหญ่ แต่แล้วมันก็กลายเป็นภาพลวงตาทั้งเพ ดูตามแผนที่มันช่างเป็นทำเลสุดวิเศษ แต่ที่จริงต้องใช้เวลาเดินเท้าเป็นวันๆ กว่าจะเข้าไปถึงมันผู้ชนะที่แท้จริงน่าจะเป็นเดอะคิง พระองค์สามารถทำให้เราถอยออกไปได้แบบถอนรากถอนโคน การสิ้นสุดอำนาจของฝรั่งเศสในดินแดนของพระองค์ไม่ใช่เหตุบังเอิญ พระองค์รายล้อมไปด้วยพันธมิตรที่ไม่น้อยหน้าใครในยุโรป คือปรินซ์วัลเดอมาร์ ผู้มีพระชายาเป็นเจ้าหญิงชาวฝรั่งเศส คือปรินเซสมารี ปรินซ์วัลเดอมาร์ เป็นพระเชษฐาของจักรพรรดินีมารียา ฟีโยโดรอฟนา ของรัสเซีย ทำให้เดาได้ไม่ยากนักว่าใครคือผู้ปกป้องราชอาณาจักรเล็กๆ นี้ มันเป็นความกดดันสำหรับฝรั่งเศสในการทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งถึงแม้ฝรั่งเศสจะเดินหน้าไปก่อน แต่แท้ที่จริงกลับเป็นเดนมาร์กที่แซงหน้าเราขึ้นไป เห็นได้ชัดจากผลประโยชน์ของชาวเดนมาร์กจำนวนมหาศาลที่ฝังรากอยู่ได้อย่างมั่นคง ในธุรกิจเหมืองแร่ การเดินเรือ สัมปทานรถรางไฟฟ้า และอื่นๆ ในขณะที่มีชาวฝรั่งเศสเพียง ๑ คน รับราชการอยู่ในราชสำนักสยาม สยามก็ว่าจ้าง ๘๗ อังกฤษ, ๕๐ เยอรมัน, ๓๘ เดนมาร์ก, ๘ เบลเยียม, ๗ อิตาเลียน และที่เหลือเป็นชาวญี่ปุ่น อย่างนี้หรือที่เรียกชัยชนะทางการเมืองของฝรั่งเศส?ขณะนี้ฝรั่งเศสกำลังถอยหลังมาอยู่ที่จุดศูนย์ เราได้แต่ความเกลียดชังในขณะที่ชาวเดนมาร์กได้หน้า พวกเราหมดสิ้นแล้วในสยาม ถ้าจะมีอะไรเหลืออยู่คงเป็นเจ้าหญิงมารี ออเล-อง เท่านั้น ที่จะช่วยผลักดันทางอ้อมให้สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นจริงขึ้นมา การที่จะได้เขมรส่วนในกลับมาเป็นของเราเท่ากับเรียกขวัญกำลังใจทั้งหมดที่ฝรั่งเศสทุ่มเทลงไปในเขมรคืนมาด้วยคิงจุฬาลงกรณ์ได้ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์ การยอมเสียสละแผ่นดินเขมรที่เหลืออยู่ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และประชากร ๒๘๐,๐๐๐ คน ทำให้พระองค์เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวในลุ่มแม่น้ำ (เจ้าพระยา) อันกว้างใหญ่ ม.ปิชอง และ ม.ดูตัสตาร์ อธิบายว่ามันอาจจะเป็นภารกิจขั้นตอนสุดท้ายที่เราทำได้ แต่ความสำเร็จก็อาจจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเจ้าหญิงมารีจะไม่ใช้อิทธิพลของเธอกับพระเจ้ากรุงสยาม ผลที่สุดสยามก็พบเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของชาวสยาม คิงจุฬาลงกรณ์ที่จะกลับมาเยือนยุโรปอีกครั้งกำลังเสด็จมาในนามของผู้นำที่เป็นเอกราชจริงๆ”
*เป็นที่น่าเสียดายแหล่งข้อมูลเดิมไม่ได้ระบุผู้เขียนไว้ แต่ก็พบในภายหลังจึงแก้ไขข้อมูลแหล่งที่มาของบทความเพื่อระบุให้ถึงเจ้าของบทความที่แท้จริงอย่างถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ขอบคุณบทความดีๆจาก คุณ arawadee จาก พันทิพย์ https://pantip.com/topic/35662307