วันเสาร์ 23 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

กบฏน้ำลาย ร.ศ. ๑๓๐ ต้นแบบคณะราษฎร

กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน และจำคุกสิบห้าปี 6 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 (นับเวลาแบบสากล คือ เริ่มปี พ.ศ. 2455 วันที่ 1 มกราคม แต่บางตำราจะเขียนเป็น 13 มกราคม พ.ศ. 2454 เพราะนับเวลาแบบสยามในครั้งนั้นที่ เริ่มปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน) ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า

ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์

ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ

ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาดโยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

 

อิทธิพล จากความงมงายตะวันตก

ทั้งนี้  อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดัง กล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการ ปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองใน พ.ศ.2427

นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ซึ่งทั้งสองเป็นนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีประวัติ เป็นคนทำงานรับใช้ตะวันตกอยู่หลายปี และหันมาเขียหนังสือ โดยบิดเบือนประวัติศาสตร์โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย บ่อยครั้ง ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็น ประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ได้รับอิทธิพล จาก  ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์)  จึงวางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ทั้งที่ คนพวกนี้ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็น อย่างยิ่ง เมื่องคนเหล่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

หนึ่งในผู้นำ คณะราษฎรก็ได้รับอิทธิพล จาก กบฎ ร.ศ.130 เช่นกัน

ในประวัติศาสตร์ บางสถาบันฯเล่าว่า “ปรีดี เมื่อครั้งเยาว์วัยเป็นเด็กหัวดี ช่างคิด ช่างสังเกตวิเคราะห์ และเริ่มมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จากเหตุการณ์ปฏิวัติในประเทศจีนที่นำโดย ซุน ยัตเซ็น และเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ในสยาม ซึ่งปรีดีได้แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมากต่อผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนั้น และเห็นคล้อยตาม แนวทาง ของ ร.ศ.130”

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นเพียงการเปิดช่องทางให้กับข้าราชการได้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ และข้าราชการเหล่านี้ก็ได้กระชับอำนาจรัฐให้เข้ากับอำนาจทางการเมือง ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้อยู่ภายใต้การปกครองเหมือนเดิม การมีส่วนร่วมเป็นการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เป็นข้าราชการเท่านั้น และเป็นเหตุให้ประชาธิปไตยกลายเป็นเพียงข้ออ้างในการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น