วันอังคาร 26 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

ดร.ต่อตระกูล”ว่าไว้ชัดอย่าไปสนใจ “เด็กเลี้ยงแกะ”นั่งปธ.สภานิสิต

สืบเนื่องจากกรณีที่หลังจาก นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง ซึ่งได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2560 ด้วยคะแนนเสียง 27 เสียง จากองค์ประชุมทั้งหมด 36 คน โดยนายเนติวิทย์กล่าวว่า “ระบบการศึกษาและประเทศไทยควรต้องเดินหน้า เพราะระบบเผด็จการนั้นครอบงำบ้านเมืองอยู่ ตนพร้อมจะเป็นแบบอย่างและโมเดลที่ดี เพื่อให้สภานิสิตจุฬาเป็นแบบอย่างให้แก่สภาเยาวชนทั่วประเทศ โดยหลังวันที่ 1 มิ.ย. จะเริ่มปฏิรูปการรับน้อง โดยรุ่นพี่ต้องไม่กดขี่รุ่นน้อง”  และ “คุณต้องเปิดพื้นที่ให้คนที่ไม่อยากถวายบังคมแบบหมอบคลาน เปิดพื้นที่ให้เขายืนเคารพก็ได้ บางคณะยังบังคับกันอยู่ เราจะลงไปดูแล” ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านั้น

ล่าสุด รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “ต่อตระกูล ยมนาค” ระบุข้อความว่า…

อย่าไปสนใจกับ นายเนติวิทย์ ประธานสภานิสิตจุฬาฯ ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งคนใหม่เลยมีแต่ตำแหน่งโก้! แต่ไม่มีอำนาจบริหารและทำกิจกรรมใดๆ เองทั้งสิ้น

 

เป็นเหมือนวุฒิสภาควบคุมดูแลการทำงานของ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายก อบจ.)

 

นายก อบจ. จะต้องถูกเลือกตั้งมาจากนิสิตนับเป็นจำนวนหมื่นคนจากทั้งมหาวิทยาลัย แต่ประธาน สภานิสิตจุฬาฯ ไม่มีอำนาจบริหารกิจกรรมใดๆ เองจึงไม่ค่อยมีใครสนใจจะเป็น

 

ตัวแทนนิสิตจุฬาฯที่แท้จริงคือ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) อบจ หรือเดิมที่สมัยผมทำงานเรียกกันว่า นายก สจม. (สโมสรนิสิต) ที่มีอำนาจจริงและเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ จริง เพราะจะต้องได้รับเลือกตั้งตรงจากนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย

ขณะเดียวกันในเพจของ อ.ชูชาติ วิรเศรณี ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนชื่อดัง ได้โพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ไว้เช่นเดียวกัน “เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวเฟสบุ๊ค ทั้งหลาย

 

ลุงอ่ำ ว่า พวกเราอย่าเพิ่งตื่นเต้น หรือปริวิตกอะไร กับเรื่องที่เกิดขึ้นในรั้วของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นหลักเก่าแก่ของไทยเราแห่งหนึ่งไปเลยครับ

 

…มานั่งลงกันก่อนเถอะ ลุงอ่ำ จะค่อยๆเล่าให้ฟัง

 

…อันกิจกรรมต่างๆของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ผู้ที่มีสิทธิ์และหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรม คือ “องค์การบริหารกิจกรรมนิสิตจุฬาฯ” (หรือ อบจ.) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางตรงครั้งใหญ่ เลือกโดยนิสิตทั้งมหาวิทยาลัย ให้ได้ตัวแทนคณะหนึ่ง มีหัวหน้าคือ นายก อบจ. มาทำหน้าที่บริหารกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตจุฬาฯ ให้เป็นไปตามนโยบายที่พวกของตนได้แถลงไว้ต่อนิสิตทั้งจุฬาฯทั้งมวลในตอนหาเสียง

 

…ส่วน “สภานิสิต” ซึ่งมาจากชาวจุฬาฯแต่ละคณะ เลือกตั้งผู้แทนของคณะ แล้วให้มารวมกันเป็นสภา แล้วให้สภา ประชุมคัดเลือกกันเอง หาประธานสภามา ๑ คน กับกรรมการอีกชุดหนึ่ง (ประธานสภานิสิต จึงมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ไม่ใช่ประชาธิปไตยทางตรง) ให้สภานี้ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

 

ก. กำกับ ให้ อบจ. ทำกิจกรรมให้ตรงตามนโยบายที่แถลงไว้ และ

 

ข. คอยตรวจสอบควบคุมการใช้งบประมาณของ อบจ. ไม่ให้รั่วไหล

 

…สภานิสิต ไม่ได้มีหน้าที่เที่ยวไปทำโน่นทำนี่ หรือไปเปลี่ยนแปลงอะไรโน่นนี่ ได้ตามใจชอบหรอกครับ นอกจากต้องทำหน้าที่หลักสองข้อดังกล่าวแล้วเท่านั้น

 

…ยิ่งคนที่เป็นประธานสภานิสิต ยิ่งแล้วใหญ่ เป็นแค่ประธานในที่ประชุมของคนสามสิบกว่าคน…หน้าที่ก็คงมีเท่านั้น

 

…โดยเหตุนี้ จึงไม่ค่อยจะมีนิสิตจุฬาฯ สนใจจะเป็นสภานิสิตกันสักเท่าไหร่นัก ยกเว้นพวกที่ต้องการเรียนรู้ หรือฝึกบทบาทหน้าที่ของ สส. ในการ “ตรวจสอบโดยสภา” เช่น นิสิตในคณะรัฐศาสตร์ หรือคณะนิติศาสตร์ เป็นต้น

 

…แต่จุฬาฯ ก็ไม่ใช่สถานที่ปิดกั้นหวงห้ามอะไรแข็งขันนัก แต่ละวันก็มีผู้ที่ไม่ใช่ชาวจุฬา ผ่านเข้ามาในจุฬาฯ มากมาย เช่น แม่ค้าพ่อค้าในโรงอาหาร พนักงานขนขยะ ไปรษณีย์ นักเรียน ญาติหรือผู้ปกครอง ที่มารับส่งนิสิตที่เป็นบุตรหลาน

 

…รวมทั้งสัตว์อีกหลายอย่าง เช่น กระรอก นก กา เต่า หนู กิ้งก่า แมว หรือแม้แต่ “หมา” ก็ยังมี

 

…ตัวอะไรที่เพ่นพ่านอยู่แถวๆคณะรัฐศาสตร์ มันจะเห่าดังไปบ้าง ก็ช่างมันเถอะครับ”

 

ขอบคุณที่มา : เฟซบุ๊ก ต่อตระกูล ยมนาค