วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2024
  • :
  • :
Latest Update

ประชาไทรับเงินต่างชาติ จัดกิจกรรมให้เยาวชนทำคลิป ประเด็น”ล่าแม่มด”

cats

 

18 พฤศจิกายน  พ.ศ.2559
จากประเด็นที่มีการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ facebook   ผ่านการโพสของไอดีผู้ใช้ส่วนตัวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์ ในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เกี่ยวกับ โครงการที่ของมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน  ซึ่งในโฆษณาดังกล่าวนั้น ได้อ้างว่า “เว็บไซต์ประชาไท ได้รับทุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไรจากประเทศสหรัฐอเมริกา”   และ กำลัง จัดกิจกรรมให้เยาวชนผลิตคลิปวิดีโอ”ส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์”  ใน ประเด็น เช่น  การล่าแม่มด, การหมิ่นประมาทในสื่อสมัยใหม่ , กฏหมายดิจิทัล  และ พรบ.คอมพิวเตอร์


เมื่อเราเห็น หัวข้อดังกล่าว ก็รู้สึกว่าน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ  และเราก็ต้องข้อสังเกตไว่พอสมควรคับว่าทำไม มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ถึงต้องเข้ามายุ่งกับ การล่าแม่มด, การหมิ่นประมาทในสื่อสมัยใหม่ , กฏหมายดิจิทัล  และ พรบ.คอมพิวเตอร์…  งานนี้ เราเชื่อว่ามันมีอะไรบางอย่างโยงไปถึงเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ กฎหมาย ม.๑๑๒ และเราเชื่อได้ว่า มันมีรายละเอียดเบื้องหลังมากกว่านี้

โดยในโฆษณา บนโพสดังกล่าวนั้นได้ระบุใจความทั้งหมด ว่า  

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์จากมูลนิธิประชาสังคม

ประชาไท ภายใต้มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ได้รับทุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไรประเทศอเมริกา เปิดรับสมัครเยาวชน อายุ 18-35 ปีร่วมโครงการเยาวชน “ส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์” เพื่อผลิตคลิปวิดีโอความยาวประมาณ 8-15 นาที ไม่จำกัดรูปแบบ

จึงขอท่านช่วยประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนที่มีพื้นฐานการทำสื่อวิดีโอและสนใจประเด็น เช่น สิทธิเสรีภาพ การใช้สื่อออนไลน์ การล่าแม่มด การเซนเซอร์ การกลั่นแกล้ง การหมิ่นประมาทในสื่อสมัยใหม่ กฏหมายดิจิทัล พรบ.คอมพิวเตอร์

โดยเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจะได้ร่วมอบรมเนื้อหา ได้รับค่าตอบแทนการผลิตผลงาน 15,000 บาท ผลงานจะได้เผยแพร่ทางออนไลน์ของประชาไทและเครือข่าย

รายละเอียดในเอกสารแนบ ปิดรับสมัคร 30 พฤศจิกายน

ติดต่อ จุฑามาศ 088-600-9188 | 02 690 2711

 
 

จากโพสนี้จะสังเกตได้ว่า โครการดังกล่าวนั้น เป็นของ มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน  และได้อ้างว่า ได้รับทุนจากองค์กรไม่แสวงหากำไรประเทศอเมริกา แต่ไม่ได้บอกว่า เป็นทุนจากองค์กรใด? 
เมื่อเรา ตั้งคำถามว่า มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน แท้ที่จริงแล้ว เกี่ยวกับใครและได้ทุนจากองค์กรใด? เราจึงสืบเพิ่มเติมจึงพบว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งขึ้น  โดยเข้าไปในเว็บไซต์ของ “มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน”  https://www.fcem.info/th/fcem แล้วพบว่า

 

 

cats
มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน Foundation for Community Educational Media (FCEM) จดทะเบียนเป็นมูลนิธิตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เลขที่ กท 1409 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 เพื่อ (Mission-วัตถุประสงค์) ได้อ้างว่า ส่งเสริมเสรีภาพการแสดงออก เสริมสร้างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมในสังคม โดยการสร้างเครื่องมือหนุนเสริมศักยภาพให้กับชุมชน เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ การเข้าถึงข้อมูล และการเปิดประเด็นทางสังคมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง

มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ที่อยู่ 409 ซ.โรหิตสุข (รัชดาฯ 14) ถ.ประชาราษฏร์บำเพ็ญ เขตห้วยขวาง กทม. 10320 โทรศัพท์ 02 690 2711  ซึ่งเป็นที่อยู่เดียวกันกับ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ที่ปรากฎในสมุดหน้าเหลือง  (เบอร์โทรศัพท์ ก็เช่นกัน)

 

cats

ทั้งนี้ เมื่อ ค้นหาข้อมูลจาก วารสาร  ของ มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน จะเห็นได้ว่า ได้รับการสนุนเงินทุนบางส่วนจากการกิจกรรมทางการเมืองของประชาไท… อย่างเช่น งานขายเสื้อจากการจัดกิจกรรมทางการเมืองเกี่ยว 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งนั้นแปลว่า  มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เปรียบเสมือน องค์กร Think Tank  ของประชาไท นั้นเอง

cats


และในบางส่วนที่ถูกระบุไว้ในเว็บไซต์ https://www.fcem.info/th/fcem ยังระบุไว้อย่างน่าสนใจว่า 


มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนมีองค์กรความร่วมมืออันหลากหลาย อาทิ องค์กรสื่อที่มีชื่อเสียงระดับชาติและนักข่าวจากสื่อกระแสหลัก(มติชน?) นักวิชาการชั้นนำจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ (นิติราษฎร?) องค์กรภาคประชาสังคม นักกิจกรรมและปัญญาชน(บก.ลายจุด?) อีกทั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดเวทีสาธารณะ โดยล่าสุดได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารงานองค์กรและการสื่อสารขององค์กรภาคประชาสังคม และในอนาคต เราจะขยายเครือข่ายความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนให้กว้างขวางขึ้น

cats

เมื่อสืบค้นเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการ ที่ มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ร่วมจัดกิจกรรม ทางการเมืองจึงพบกับ ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.)(ตัวย่อภาษาอังกฤษคือ  Csnm ) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) มีเว็บไซต์ http://csnm.kku.ac.th/ และ  เฟสบุ๊ก เพจ Csnm Kku Thailand (https://www.facebook.com/profile.php?id=100006791591487) เป็นต้น

เราจึงสำรวจเพิ่มเติมพบว่า ความเป็นมาของ “ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.)” นั้น เกี่ยวข้องกับทุน USAID อย่างชัดเจน โดยระบุไว้ในเว็บไซต์ว่า

 

cats

ความเป็นมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีปณิธานและเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้นำที่มีคุณภาพให้กับสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ.2556 จึงได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ และเสริมสร้างศักยภาพองค์กรประชาสังคมและองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ โดยในระยะแรกของการก่อตั้ง ศปส. ดำเนินงานภายใต้โครงการ “สะพาน” โดยการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID)

นี่คือเบาะแสส่วนหนึ่งที่น่าสนใจมากครับว่า มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน และ ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) ได้รับการสนับสนุนเงินทุน  โครงการ “สะพาน” จาก(USAID) อีกเช่นกัน

และเพื่อการยืนยันความเชื่อมโยงเราจึงตรวจสอบ กิจกรรม เพิ่มเติม จึงเบาะแส ดังนี้

cats

**ภาพจากหน้า  เฟสบุ๊ก เพจ Csnm Kku Thailand ปรากฎภาพกิจกรรมซึ่ง ปรากฎโลโก้ USAIDในรูป**

cats

และในเพจ Csnm Kku Thailand ยังได้เคย เผยแพร่ ประกาศรับสมัครเยาวชนในกิจกรรมผลิตสื่อ ของ มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา  และหากค้นเพิ่มเติมจะเห็นได้ว่า ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ โครงการหุ้นส่วนการพัฒนาภาคสังคมลุ่มแม่น้ำโขง(Cspp) ซึ่งก็เป็นโครงการหนึ่งที่โยงไปถึง USAID อีกด้วย

cats

cats
มื่อเรา เจาะสืบค้นข้อมูลจึงทำให้รู้ว่า โครงการ ของมูลนิธิประชาสังคมซึ่งกำลังประกาศรับสมัคร เยาวชนทำผลงานสื่อวิดีโอเกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพ การล่าแม่มด  กฏหมายดิจิทัล พรบ.คอมพิวเตอร์ ฯลฯ นั้นเชื่อได้ว่า ถูกสนับสนุน โดย กองทุน USAID โดยเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจะได้ร่วมอบรมเนื้อหา ได้รับค่าตอบแทนการผลิตผลงาน 15,000 บาท ผลงานจะได้เผยแพร่ทางออนไลน์ของประชาไทและเครือข่าย

สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ ทำไม สหรัฐถึงต้องเข้ามาสนับสนุนให้ เยาวชน สนใจกับ”การล่าแม่มดซึ่งโยงไปถึงประเด็นหมิ่น-ใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย” เรื่องนี้คงต้องขยายเพิ่มเติม…


————————————————————————————————————–

ก่อนหน้านี้ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ หรือ ผู้ดำเนินรายการ “คนค้นฅน” เคยพูดถึง กระแสการ วาทะกรรม”ล่าแม่มด” ไว้ค่อนข้างชัดเจน

จากกรณี ที่มีผู้คนบางกลุ่มออกมาหมิ่นสถาบันฯนั้น สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิเผยว่าเขามองเห็นความพยายามที่จะ “ปลุก” หรือ “เข็น” คำว่า “ล่าแม่มด” ขึ้นมาเป็นกระแสในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งส่วนตัวเขามองว่า คำว่า “ล่าแม่มด” ในความหมายที่หยิบยืมมานั้น ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่กรณีของ อั้ม เนโกะ หมิ่นสถาบันไปจนถึงร้านขายน้ำเต้าหู้ที่ภูเก็ต ผู้หญิงที่สมุย รวมถึงผู้หญิงไม่สมประกอบ ที่ ต่างออกมาแสดงอาการ หมิ่นสถาบัน เพราะมีความต่างในบริบทกันอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจาก “กรณีการล่าแม่มด” มาจากเจตนาให้ร้ายป้ายสี กลั่นแกล้ง เพื่อทำลายผู้ที่ตกเป็นเหยื่อด้วยความเกลียดชังมุ่งร้าย หรือพูดง่าย ๆ ว่า “กล่าวหาลอย ๆ” แต่กรณีถูกหยิบขึ้นมาแทบทุกกรณีนั้นมาจากผลของการกระทำกรรมอันไม่เหมาะสม เช่นการจงใจใส่ร้าย ดูหมิ่นดูแคลน ปั่นป่วน เป็นการตั้งใจท้าทายด้วยเจตนาอกุศล

ยังมีบางกรณีที่เป็นความเข้าใจผิด เป็นความเห็นผิดของบุคคล โดยมีกลุ่มผู้รักสถาบันเข้ามาห้ามปราบ ยับยั้งไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลที่ถูกนำมาขยายต่อกันไปนั้น แท้จริงแล้วเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพเพียงใด และมาจากแห่งใด ซึ่งหากมีคนกระทำการใด ๆ ต่อผู้ที่เห็นต่างอย่างเจตนา ถูกเหมารวมและยัดเยียดว่าเป็นกระแสความรู้สึกของฝ่าย “ล่าแม่มด” หรือฝ่าย “รักในหลวง” เช่นนี้เขาถึงมองความพยายามยัดเยียดข้อหาโดยไม่แยกแยะ ว่าเป็นการใส่ความว่าผู้อื่นเป็นแม่มด นี่ต่างหากคือการล่าแม่มดที่แท้จริง

 sutti2

sutti3

sutti4

sutti5

 

https://www.facebook.com/kontvburabha/posts/10154596193372731

จากจุดที่เราอ่าน ความคิดเห็น ของ คุณ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เราจึงสรุปได้ดังนี้ครับ

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าในบางช่วงบางตอน มีคนบางกลุ่มบางก้อนเคยพยายาม “กล่าวหา” ประชาชนที่ปกป้องสถาบันฯโดยการแจ้งความผู้ที่ใส่ร้ายสถาบันฯอันเป็นความผิดในกฎหมาย ม.112 ว่าเป็น “การล่าแม่มด” ในขณะที่ฝ่ายผู้กระทำผิดม.112มักอ้างว่า”การใส่ร้ายสถาบันฯเป็นเสรีภาพในการพูด” ซึ่งในบริบทนี้  ไม่ตรงกับคำว่า “ล่าแม่มด” แต่อย่างใดเลยครับ เพราะ”การล่าแม่มดที่แท้จริงคือการกล่าวคนบริสุทธิว่าผิด” แต่ถ้าคนผิดกระทำผิด แล้วถูกแจ้งความ…ก็หมายถึง ตำรวจจับผู้ร้าย ก็ถูกต้องตามกฎหมาย

 ——————————————————————————————-

กลับมาพูดถึงที่มาของ”ประชาไท” และแหล่งที่มาของข่าวลือเกี่ยวกับ เงินทุนสนับสนุนให้โจมตีใส่ร้ายสถาบันกษัตริย์ไทย

เรื่องนี้นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่งครับ  เพราะเมื่อ สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา เคยมีข่าวเช่นกันว่า ประชาไท นั้นเป็นส่วนนึง ได้รับเงินจาก นาย จอร์จ โซรอส  ข่าวนี้มันเริ่มขึ้นจาก ฐานข้อมูลของมูลนิธิถูกแฮ็คโดยเว็บไซต์ DCLeaks ซึ่งพยายามเปิดโปงเบื้องหลังของโซรอสที่ใช้เงินช่วยเหลือที่ให้กับกลุ่มเอ็นจีโอ แทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ … รวมไป ถึงประเทศไทย

New Atlas เว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เปิดแผยว่า เอ็นจีโอส่วนใหญ่ที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล โดยเฉพาะเอ็นจีโอที่ต่อต้าน คสช. รับเงินจากมูลนิธิของโซรอสซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรทางการเงิน เพราะบทบาทในการเก็งกำไรค่าเงิน

นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บประชาไท เปิดเผยกับ สำนักข่าวในประเทศไทย ว่าประชาไทรับเงินสนับสนุนปีละ 1.7 ล้านบาท จากมูลนิธิ Open Society Foundation ของโซรอส ตั้งแต่ปี 2548 โดยโซรอสตั้งมูลนิธิแห่ง นี้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มเอ็นจีโอทั่วโลกเรื่องนี้

12930_1403159353326418_1103036224168915961_n-1

http://altthainews.blogspot.com/2013/12/us-funded-pro-democracy-propagandists.html

ทั้งนี้ ข้อมูล จากเพจเว็บไซต์ เฟสบุ๊ก “ปราชญ์ สามสี”  และ “Tony Cartalucci” ชาวอเมริกัน ซึ่งนักวิชาการด้าน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ก็ยังเคยกล่าวถึงว่า ไว้ตั้งแต่ ปี 2556 แล้วว่า

จอร์จ โซรอส  คือบุคคลสำคัญที่คอยมอบทุนให้กับ กลุ่ม “ประชาไท” , นักวิชาการกลุ่ม”นิติราษฎร” ,กลุ่ม”ไอลอร์”ของนาย จอน อึ้งภากรณ์ และนักเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาลไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์(ต่อต้านกฎหมาย มาตรา 112)
การให้เงินทุน ของ จอร์จ โซรอสนั้น ผ่านไปถึง กลุ่มคนที่ต้องการเงินเหล่านั้น ผ่านองค์กรต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น มูลนิธิ Open Society Foundation ,Freedom house , กองทุน national endowment for democracy (NED) และ กองทุน United States Agency for International Development  (USAID)  ซึ่งในสององค์กรหลังสุดนี้ เป็นโครงการที่ หน่วย CIA ของสหรัฐ และ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา มีส่วนรู้เห็นอย่างชัดเจน  และ ผู้ที่ให้เงินสนับสนุนหลัก ในด้านกิจกรรมในองค์กร (NED)และ(USAID) นั้นก็คือ นาย จอร์จ โซรอสนั้นเอง

นาย จอร์จ โซรอส เองยังเคยถูกเปิดโปง จากรัฐบาลรัสเซีย ว่า นาย จอร์จเคยอยู่เบื้องหลัง เหตุการณ์ PANAMA PAPER  โดยสนับสนุนเงินทุนให้ Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP)  ผ่านทาง USAID ในการกล่าวให้ร้าย  ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน แห่งรัสเซีย ว่ามีส่นวเกี่ยวข้องกับ นักการเมืองคนหนึ่งของรัสเซียซึ่งมีชื่อปรากฎใน กลุ่มเอกสาร “PANAMA PAPER”

 

2_26

prachatainedfundingdiagram_1-1

globatocracy_1

เมื่อเราดูข้อมูลมหาศาลที่กองตรงหน้านี้เราคงบอกได้แต่เพียงว่าขบวนการล้มเจ้ายังไม่จบที่จริงเขายังอยู่ แต่มาในรูปแบบ ของสังคมท้องถิ่นที่ฝังตัวในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด   การที่พวกเขาให้ทุนกับเยาวชนนั้น เชื่อว่าเป็นการยืมมือเยาวชนผู้บริสุทธิ์ สร้างสถานการณ์ขึ้น โดยที่พวกเขาเองก็ได้ รับค่าตอบแทน…

– เขียนโดย “หลักสี่”-