แม้ว่า ภาพลักษณ์ของ “จอร์จ โซรอส” ที่มีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการเป็นต้นเหตุเห็นวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ปี 2540ของไทยก็ตามอีกทั้งยังตกเป็นผู้ต้องสงสัยให้เงินทุนสนับสนุน “ประชาไท” ในการรายงานข่าวที่โจมตีรัฐบาลไทยก็ตาม แต่ดูเหมือนว่า เมื่อ 24 สิงหาคม 2559 ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หนึ่งในนักข่าวในเครือ VoiceTV และเป็นนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในเครือข่ายคนเสื้อแดงก็ยังเคยออกมาปกป้อง “จอร์จ โซรอส” โดยผ่านสื่อ VoiceTV ระบุว่า
“จอร์จ โซรอส” เป็นนักค้าเงินที่มีจิตกุศล
บริจาคเงินให้มูลนิธิและองค ์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง โซรอสมีส่วนร่วมในการขับเคล ื่อนขบวนการสร้างประชาธิปไต ย เขาเป็นคนสำคัญที่สนับสนุน NGOs ด้านสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเม
ริกา และเป็นผู้ร่วมรณรงค์ให้สื่ อทำงานอย่างโปร่งใสมากขึ้น อยากให้สื่อสตาร์ทอัพใหม่ใน ไทยของบจากโซรอสให้เต็มที่เ พื่อเสริมพลังฝ่ายประชาธิปไ ตยในบ้านเรา”
แต่ดูเหมือนว่าก็การเคลื่อนไหวของ ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ไม่อาจทำให้กระแสการต่อต้าน “จอร์จ โซรอส” ลดลง อีกทั้งกระแสโลกก็ต่างพากันต่อต้าน “จอร์จ โซรอส” กันมากขึ้นโดยเฉพาะ รัฐบาลฮังการีประเทศบ้านเกิดของ “จอร์จ โซรอส” เองก็มีการต่อต้านเช่นกัน ล่าสุดรัฐบาลฮังการีออกโปสเตอร์โจมตีจอร์จ โซรอส อย่างหนักหน่วง เช่นกัน
คำบรรยายภาพ โปสเตอร์ของรัฐบาลที่โจมตีนายโซรอสมีข้อความว่า “อย่าให้โซรอสได้หัวเราะเป็นคนสุดท้าย” ทั้งมีผู้เขียนข้อความว่า “ยิวสกปรก” บนหน้าผากของรูปนายโซรอสด้วย
ทางการฮังการีนำแผ่นภาพโปสเตอร์ที่มีเนื้อหาต่อต้านนายจอร์จ โซรอส พ่อมดการเงิน และผู้บริจาคเพื่อการกุศลรายใหญ่ ไปติดเผยแพร่ตามสถานที่สาธารณะทั่วประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นความพยายามครั้งล่าสุดจากรัฐบาลฝ่ายขวาของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ที่จะสร้างกระแสความเกลียดชังต่อนายโซรอส และต่อชุมชนชาวยิวในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้เชื่อมโยงกับนโยบายปิดกั้นไม่ต้อนรับผู้อพยพของรัฐบาลฮังการี ที่สวนทางกับแนวคิดของนายโซรอสซึ่งหนุนให้รับผู้อพยพอย่างจำกัดอีกด้วย
โปสเตอร์ดังกล่าวเป็นภาพของนายโซรอสขณะมีใบหน้ายิ้มแย้ม แต่มีข้อความพิมพ์ไว้ข้างกันว่า “อย่าให้โซรอสได้หัวเราะเป็นคนสุดท้าย” รวมทั้งมีข้อความด้านบนสุดที่ระบุว่า “99% ต่อต้านคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย”
มีรายงานว่ารัฐบาลฮังการีได้ใช้งบประมาณถึง 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 716 ล้านบาท) ในการรณรงค์ต่อต้านนายโซรอสและบรรดาผู้อพยพ โดยก่อนหน้านี้มีการออกโปสเตอร์ และจัดงานเสวนาแห่งชาติขึ้นเพื่อสร้างกระแสต่อต้านในหมู่ประชาชนในประเด็นนี้มาแล้ว
ส่วนเมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลฮังการีปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพตามโควต้าที่จัดสรรโดยสหภาพยุโรปแม้แต่คนเดียว และพยายามจะปิดมหาวิทยาลัยยุโรปกลาง (Central European University) ที่นายโซรอสก่อตั้งขึ้นในกรุงบูดาเปสต์มาตั้งแต่ปี 1992 รวมทั้งออกกฎหมายบังคับให้องค์กรเอกชนต่างๆ เผยว่าตนเองรับเงินทุนจากต่างชาติ ซึ่งมุ่งเป้าไปยังกลุ่มเอ็นจีโอที่นายโซรอสให้เงินทุนสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่
เหตุใดรัฐบาลฮังการีจึงต่อต้านนายโซรอส ?
ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา นายโซรอสได้บริจาคเงินไปแล้วถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่บริจาคผ่านมูลนิธิ Open Society ของเขาเอง โดยสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมและความริเริ่มเพื่อพลเมืองต่าง ๆ เช่น โครงการขจัดความยากจน เพิ่มความโปร่งใสในการบริหารงานของรัฐบาล รวมทั้งมอบทุนการศึกษาและก่อตั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปกลางและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้แต่นายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ของฮังการีเอง ก็เคยได้รับทุนจากองค์กรของนายโซรอสไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
คำบรรยายภาพ นายโซรอสซึ่งเป็นชาวฮังกาเรียนเชื้อสายยิวโดยกำเนิด ได้บริจาคเงินไปทั้งสิ้น 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้โครงการความริเริ่มเพื่อพลเมืองในหลายประเทศตลอดช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา
โครงการที่นายโซรอสสนับสนุน ล้วนเน้นประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก ทำให้เขาเป็นที่เกลียดกลัวของรัฐบาลชาตินิยม และกลุ่มผู้ไม่ฝักใฝ่ในแนวคิดเสรีนิยม
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นายโซรอสยังได้แถลงต่อสาธารณชนหลายครั้งถึงแนวคิดของเขาที่สนับสนุนให้กลุ่มประเทศยุโรปรับผู้อพยพราว 300,000 คนต่อปีโดยผ่านกระบวนการคัดกรอง เขามองว่าเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในหลายภาคการผลิตและการบริการของยุโรป แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดและท่าทีของนายโซรอสในเรื่องการรับผู้อพยพ ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลพรรคฟิแดสซ์ (Fidesz) ของฮังการี ซึ่งมีจุดยืนแบบชาตินิยม ต่อต้านยิวและอิทธิพลจากต่างชาติ
การโจมตีนายโซรอสของฮังการี ก็คือการต่อต้านยิวใช่หรือไม่ ?
การติดโปสเตอร์โจมตีนายโซรอสนั้น กล่าวกันว่ารัฐบาลฮังการีจงใจให้ติดไว้ในสถานที่และตำแหน่งต่างๆ ที่ผู้คนจะเข้าไปเขียนต่อเติมแสดงความเกลียดชังได้ง่าย ผู้นำชุมชนชาวยิวในฮังการีได้ขอร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้นำโปสเตอร์ดังกล่าวออก แต่ทางการปฏิเสธว่าไม่ได้มีเจตนาจะสร้างความเกลียดชังชาวยิวแต่อย่างใด ทั้งยังเรียกร้องให้ชุมชนชาวยิวร่วมแสดงการต่อต้านแผนรับผู้อพยพชาวมุสลิมเข้ามายังยุโรปให้มากขึ้น
คำบรรยายภาพ การบริจาคสนับสนุนองค์กรเพื่อประชาสังคม ทำให้รัฐบาลชาตินิยมของประเทศต่าง ๆ อย่างฮังการีไม่พอใจนายโซรอส
การรณรงค์ของรัฐบาลฮังการีเริ่มทวีความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการเยือนของนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในวันที่ 14 ก.ค. ที่จะถึงนี้ โดยทูตอิสราเอลประจำฮังการีได้ประณามการรณรงค์ต้านนายโซรอสว่าเป็นการบ่มเพาะความเกลียดกลัวยิว แต่อย่างไรก็ตาม ในภายหลังรัฐบาลอิสราเอลได้แถลงตำหนินายโซรอสเสียเองว่า “บ่อนทำลายรัฐบาลอิสราเอลที่เลือกตั้งมาตามครรลองประชาธิปไตย โดยให้ทุนสนับสนุนองค์กรที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของอิสราเอล และปฏิเสธไม่ยอมให้อิสราเอลป้องกันตนเอง”
ด้านนายโซรอสได้ออกมาแสดงความชื่นชมชาวฮังการีบางส่วนที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ต้านยิวและอิทธิพลต่างชาติของรัฐบาล โดยได้กล่าวต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า
“ผมขอแสดงความชื่นชมต่อความกล้าหาญของชาวฮังการีที่ไม่ยอมสยบต่อการหลอกหลวง และการคอร์รัปชันของรัฐมาเฟียที่นายออร์บานสร้างขึ้น นอกจากนี้ ผมยังได้รับกำลังใจอย่างมากจากองค์กรต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป ที่ไม่นิ่งเฉยต่อการท้าทายที่เริ่มมีมากขึ้นจากโปแลนด์และฮังการี” นายโซรอสกล่าว